วันที่ 18 มีนาคม 2566 ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล (ICT Mahidol) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการแข่งขัน Mahidol AI Hackathon หัวข้อ “AI for Library Services” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้แทนจากบริษัทต่างๆ ที่ร่วมสนับสนุนการแข่งขัน ได้แก่ คุณพัฒนพรรณ พัฒนแก้ว กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเลเทค โซลูชั่น จำกัด คุณป่านแก้ว สีหาวงษ์ Thailand Enterprise Country Lead บริษัท NVIDIA & VST ECS (Thailand) ผู้แทนจากบริษัท แอพแมน จำกัด และนักศึกษาจากส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดลที่เข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 15 ทีม จาก 5 คณะ ได้แก่ คณะ ICT คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะวิทยาศาสตร์ และวิทยาลัยนานาชาติ โดยมี อาจารย์ผกาพร เพ็งศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดโครงการฯ และ ดร.ทิพาจินต์ ไทยพิสุทธิกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นพิธีกรดำเนินรายการ ณ ห้อง Grand Auditorium คณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
การจัดการแข่งขัน Mahidol AI Hackathon หัวข้อ “AI for Library Services” เป็นการแข่งขันต่อเนื่องแบบมาราธอน 24 ชั่วโมง ซึ่งจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 18 – 19 มีนาคม 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เรียนรู้และนำเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning (ML) ที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้ง ยังเป็นการส่งเสริมการระดมความคิดในการออกแบบและจัดทำนวัตกรรมใหม่โดยการนำเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning (ML) ที่ทันสมัย มาใช้เพื่อการบริหารจัดการงานบริการของห้องสมุด ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การนำข้อมูลของผู้ใช้บริการห้องสมุดมาทำการตลาดหรือศึกษาพฤติกรรมการยืมหนังสือ และแนะนำหนังสือให้กับผู้ใช้งาน รวมทั้ง เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสเข้าร่วมและได้เรียนรู้เกี่ยวกับการหาคำตอบด้านการส่งเสริมกิจกรรมการอ่านหนังสือแนวใหม่ให้กับผู้ใช้งาน ตลอดจนการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมด้านการให้บริการของห้องสมุด เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเพื่อก้าวสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยวันที่ 19 มีนาคม 2566 เป็นการนำเสนอผลงานต้นแบบนวัตกรรมจากนักศึกษาทั้ง 15 ทีม ที่เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพัฒน์ สุริยผล รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ดร.อภิภู สิทธิมงคล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและพัฒนาคุณภาพห้องสมุด ว่าที่ร้อยตรี สิขริน สุวรรณนที นักวิชาการสารสนเทศ (ชำนาญการ) คุณรัชชนก ขำประถม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ (ชำนาญการ) หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ผกาพร เพ็งศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี ดร.ธนพล นรเสฏฐ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา และรองศาสตราจารย์ ดร.ศุภวงศ์ ทั่วรอบ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะ ICT ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินผลการแข่งขัน
สำหรับช่วงพิธีมอบรางวัลการแข่งขัน ได้รับเกียรติจาก ดร.อภิภู สิทธิมงคล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและพัฒนาคุณภาพห้องสมุด หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล มอบรางวัล Surprise Award รางวัล Iron Man และรางวัลพิเศษระหว่างการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพัฒน์ สุริยผล รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มอบรางวัลชมเชย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล มอบรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 – 3 และกล่าวปิดการแข่งขัน ซึ่งผลการแข่งขัน มีดังนี้
- รางวัลชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท และเกียรติบัตร ได้แก่ ทีมใส่ไปมั่วๆ ก็ได้ คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายรุจนธรรม กิจวรานันท์ นายธัชธนินท์ ลีเชี่ยวยุวสรณ์ นายสุชานนท์ เพชรรัตน์ นายธัญพิสิษฐ์ ทิพย์รัตน์ และนายนพรุจ พิพัฒนพงษ์วงศ์
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเงินรางวัล 15,000 บาท และเกียรติบัตร ได้แก่ ทีม MIRU-MICHI คณะ ICT ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายเมธาสิทธิ์ เกตุรักษ์ นางสาวอารยา ศรีแก้ว นายปัญญาวัฒน์ เมต นายธนวิชญ์ ธรรมพากรณ์ และนางสาวกานต์พิชชา อัศววินิจกุลชัย
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท และเกียรติบัตร ได้แก่ ทีม Palanamai คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายพฤทธิ์ เสาวพฤทธิ์ นายเลิศบุญ ศิริวัฒน์ นายนฤกานต์ ศรีสว่าง นายภาวิช กาญจนถวัลย์ และนางสาวเกวลิน เรืองวัฒนะโชติ
- รางวัลชมเชย พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท และเกียรติบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
- ทีม Neo Librarians วิทยาลัยนานาชาติ ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวณัฐวีร์ พรหมประสิทธิ์ นายฌาณ จงวัฒนานุกูล นายบุรินทร์ อินทชื่น นายศิวกร เก่งมาลา และนายณวัฒน์ เงินฉ่ำ
- ทีม Hay day คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายนัยสันต์ ธามปภา นางสาวศุภรดา นิทรัพย์ นายภูมิพัฒน์ ซิมธวัธชัย นางสาวภวรัญชน์ ท้าวสกุล และนายสิทธวีร์ นิธิวุฒิรัฐสกุล
- ทีม Yellow Duck คณะ ICT ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาว กัญญาณัฐสมพงษ์ นางสาวปวิตา ผ่องแผ้ว นายกษิดิ์เดช จิ๋วแย้ม นายปรมี อภิรดีวจีเศรษฐ์ และนางสาวชนยชา สุริยะสุนทร
- รางวัลพิเศษระหว่างการแข่งขัน พร้อมเงินรางวัล 1,500 บาท และเกียรติบัตร จำนวน 4 รางวัล ได้แก่
- ทีมถั่วงอกคว้าดาว คณะ ICT ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายอภิชา ธนจิราวัฒน์ นางสาวภัณฑิรา พันธุ์เสน นางสาวจิณห์จุฑา จินดาพันธ์ไพศาล นางสาวแพรวา จันทร์อ่อน และนายหฤษฎ์ พลังพัฒนากิจ
- ทีม Lorax วิทยาลัยนานาชาติ ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายสุทธิกานต์ ขันทอง นางสาวธนัญญา โอสถพรมมา นายกชวงวัชรี คงพนา และนายปธานิน โอภาเจริญ
- ทีม RoRo’s คณะ ICT ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายตุลาการ ศรประสิทธิ์ นางสาวนภัสสร ลู่ชัยชนะ นางสาวธัญจิรา วังศรี นายเตชินท์ โป๊ะยุญชื่น และนางสาวแพรวศุภางค์ ฉันท์เรืองรัตน์
- ทีม We code using snake คณะ ICT ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายภูดิศ จิตติวงศ์สมาน นายปุณญวัจน์ คล้ำเนียม นายเอกบดินทร์ กาญจนเมืองทอง นาย จิตรกัณฐ์ ดำรงตระกูลวัฒน์ และนายอรุษ เทียนมี
- รางวัล Surprise Award หรือรางวัลอึดไม่เกรงใจใคร ได้รับของที่ระลึกจาก NVIDIA พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ ทีม Insomnia วิทยาลัยนานาชาติ ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายปิยชนม์ หรูสุวรรณกุล นางสาวเพ็ญพิชชา สิทธิ์แสงชัย นางสาวโปรยฝน ขวัญมิ่งตระกูล นางสาวไจไหม เอี้ยวศิวิกูล และนายธนกฤต ชัยชนะวงศ์
- รางวัล Iron Man เป็นรางวัลพิเศษที่มอบให้กับผู้ที่ทีมงานประทับใจ (กลางคืน) เดินมาทีไรก็พบว่ายังทำงานอยู่ตลอด โดยได้รับของที่ระลึกจาก NVIDIA ได้แก่ นายฌาน จงวัฒนานุกูล ทีม Neo Librarians วิทยาลัยนานาชาติ
โครงการแข่งขัน “Mahidol AI Hackathon” เป็นหนึ่งกิจกรรมในโครงการ Mahidol AI Center ในกลุ่มสาขา AI-Based Medical Diagnosis: โครงการ Center of Excellence in AI-Based Medical Diagnosis (AI-MD) ภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ที่มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญกับการนำ AI Technology เข้ามาประยุกต์ใช้ในระบบจัดการต่างๆ ของอุตสาหกรรมยา การแพทย์ การรักษา และงานทดลองวิจัย ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลมีความเชื่อมั่นว่าทุกคนมีความสามารถและศักยภาพในการเรียนรู้ทักษะใหม่และก้าวหน้าเติบโตโดยผ่านกระบวนการเรียนการสอน โดยการเรียนรู้แบบไม่จำกัด และไม่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น