เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์แนะนำบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ นำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ โดยมี รศ. ดร. วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ อาจารย์ประจำคณะ ICT มหิดล และหัวหน้ากลุ่มวิจัย Machine Vision and Information Transfer Lab (MVIT) เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการการพัฒนาวิธีการระบุเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกระบือปลัก ด้วยเทคโนโลยีไบโอเมตริก (Development of Swamp Buffalo Identification Method Using Biometric Feature) ซึ่งเทคโนโลยีไบโอเมตริกนี้ นอกจากจะถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในการยืนยันตัวบุคคล ในเอกสารราชการ และในด้านการแพทย์แล้ว เทคโนโลยีนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการระบุเอกลักษณ์ของ “กระบือ” ได้อีกด้วย
โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และ True Lab Research Fund เมื่อโครงการประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว ได้มีการนำไปทดลองใช้ประโยชน์ในการทดสอบและวิจัยสำหรับการระบุตัวตนในงานด้านปศุสัตว์และด้านสาธารณสุข โดย คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (สุรินทร์) และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) และล่าสุด ผลงานนี้ยังได้รับรางวัลรางวัลระดับดี (Outstanding Research Award) ประจำปีงบประมาณ 2565 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) [National Research Council of Thailand (NRCT)]
รูปภาพอัตลักษณ์เฉพาะตัวของกระบือไทย: https://www.ict.mahidol.ac.th/machine-vision-and-information-transfer-lab-mvit-lab/thaibuff-dataset/thaibuff-dataset/
รับชมการสัมภาษณ์: https://youtu.be/kb7dszSO578