เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ”

คณะ ICT ม.มหิดล (ICT Mahidol) ร่วมงานพิธีเปิด ศูนย์จีโนมจุลินทรีย์ ศ.เกียรติคุณ นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ. ดร. สุกัญญา พงษ์สุภาพ รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์ และประกันคุณภาพ พร้อมด้วย Professor Dr. Peter Fereed Haddawy รองคณบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัย ผศ. ดร. บุญสิทธิ์ ยิ้มวาสนา อาจารย์ประจำคณะ และคุณจรัสศรี ปักกัดตัง เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมงานพิธีเปิด ศูนย์จีโนมจุลินทรีย์ ศ.เกียรติคุณ นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ (Pornchai Matangkasombut Center for Microbial Genomics) หรือ CENMIG  ซึ่งก่อตั้งโดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล Mr.Takahiro MORITA, Chief Representative, JICA Thailand Office ให้เกียรติร่วมกล่าวแสดงความยินดี โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะร่วมให้การต้อนรับ จากนั้น ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ และ ดร. ภากร เอี้ยวสกุล พันธมิตร หนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งศูนย์ฯ ได้กล่าวรายงานถึงความเป็นมาและการดำเนินงานของศูนย์ในปัจจุบัน ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ ได้แสดงปาฐกถาพิเศษ “คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย” และ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรุณี ธิติธัญญานนท์ ได้บรรยายพิเศษ “Genomics and Infectious Diseases” ในการเปิดศูนย์ CENMIG อีกด้วย

ศูนย์วิจัยจีโนมจุลินทรีย์ (CENMIG) เป็นศูนย์วิจัยที่มุ่งศึกษาด้านจุลชีววิทยาเพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้นของมนุษยชาติ ตั้งอยู่ที่ชั้น 6 ภาควิชาจุลชีววิทยา ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ภายใต้วิสัยทัศน์ “Genomics for the betterment of mankind” ปัจจุบันดูแลโดย ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาชิกเครือข่ายของศูนย์ฯ มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาวิชา ตั้งแต่ ด้านคอมพิวเตอร์ จุลชีววิทยา การแพทย์และสาธารณสุข ระบาดวิทยา ทฤษฎีวิวัฒนาการ รวมไปถึง คณิตศาสตร์และสถิติ เน้นการควบคุมรักษาโรคติดเชื้อสําคัญ โดยการศึกษาวิจัยข้อมูลจีโนม ของเชื้อโรคสําคัญต่าง ๆ เพื่อยกระดับการสาธารณสุข และพัฒนาขีดความสามารถด้านชีวสารสนเทศของประเทศไทยและประเทศในแถบภูมิภาคอาเซียน