เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2564 นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการพิจารณารอบแรก (รอบคัดเลือกข้อเสนอโครงการ) เพื่อเข้าสู่รอบนำเสนอผลงาน และ ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนา โครงการละ 3,000 บาท จากโครงการ “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24” (The Twenty-Fourth National Software Contest : NSC 2022)
โครงการ “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย” เป็นโครงการที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะความคิดริเริ่มในการเขียนโปรแกรมอันจะเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านซอฟต์แวร์ในอนาคต เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถเกิดประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อไป เพื่อสร้างเวทีการแข่งขันและสร้างความสนใจสำหรับเยาวชนที่มีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคนิคการเขียนโปรแกรม และเพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ต้นแบบที่หลากหลายซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ซึ่งในปีนี้ นักศึกษาคณะ ICT ม.มหิดล ผ่านเข้าสู่รอบนำเสนอผลงานจำนวน 8 ทีม จากทีมที่เข้ารอบจากภาคตะวันตก จำนวนทั้งสิ้น 32 ทีม โดยมีรายละเอียดดังนี้
ลำดับ |
อาจารย์ที่ปรึกษา |
ชื่อโครงการ |
หมวดโครงการ |
นักศึกษา |
1 |
ผศ.ดร.โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์ |
โปรแกรมการจำลองการฝึกส่องกล้องภายในหัวไหล่บนเทคโนโลยี Virtual-Reality |
โปรแกรมเพื่อการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ |
นายอนาคิน พัชโรทัย |
นายรัฐนันท์ คัมภีรศาสตร์ |
||||
นายสฤษฏ์พงศ์ อุดมมงคลกิจ |
||||
2 |
ดร. ชัยยงค์ รักขิตเวชสกุล |
ไมโครยูซิตี้ โปรแกรมเพื่อการทดสอบความปลอดภัยของระบบไมโครเซอร์วิสเพื่อศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน API Security |
โปรแกรมเพื่อการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ |
นางสาวจันสิดา มกรานนท์ |
นายภัทรกฤต รัตตานุกูล |
||||
นายภูมิภัทร วัฒนกุลจรัส |
||||
3 |
ดร. เพชร สัจจชลพันธ์ |
COF-LEARN: ระบบเสริมสร้างการเรียนรู้ด้านการคั่วเมล็ดกาแฟโดยใช้เทคโนโลยีการประมวลผลจากรูปภาพ |
โปรแกรมเพื่อการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ |
นายปิยกร สุวรรณกาญจน์ |
นายเอกวิทย์ แสงเรืองกิจ |
||||
นางสาวปิญาดา พัฒนะธารณา |
||||
4 |
ดร. อัคร สุประทักษ์ |
ซากะมะ: เว็บไซต์ที่สามารถซ่อนคิวอาร์โค้ดไว้ในรูปภาพ |
โปรแกรมเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม |
นางสาวปรีชญา วรรณภูมิ |
นางสาวสุมุนา ไทยเจีย |
||||
นางสาวสรัลนุช ตรงตอศักดิ์ |
||||
5 |
Professor Dr. Peter Haddawy |
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับการจำแนกสายพันธุ์และเพศของยุงด้วยเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบเชิงลึก |
โปรแกรมเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม |
นายวรเมธ สิริธนากร |
นายธฤต ฉันธนะเลิศวิไล |
||||
นางสาวกานต์รวี เจียมสกุล |
||||
6 |
Professor Dr. Peter Haddawy |
การวิเคราะห์เพื่อทำนายผลโรคไข้เลือดออกในผู้ป่วยเด็กที่คาดว่ามีไข้เดงกี |
โปรแกรมเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม |
นางสาวอนัญญา ปิเนโด เบโย |
นายณัฐพงศ์ ทรงศักดิ์ศรี |
||||
นายโชติวิทย์ ปิติปัญจไพบูลย์ |
||||
7 |
ดร. ธนพล นรเสฏฐ์ |
eSit: ระบบสำหรับตรวจจับท่านั่งตามหลักการยศาสตร์โดยใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์ |
โปรแกรมเพื่อใช้ภายใต้สถานการณ์โควิค-19และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ |
นางสาวจิรัชญา ว่องสรรพการ |
นางสาววิภาดา แก้วทอง |
||||
Mr. Soksedtha Ly |
||||
8
|
ดร. ศิริเพ็ญ พงษ์ไพเชฐ
|
อีซี่ฟิต |
โปรแกรมเพื่อใช้ภายใต้สถานการณ์โควิค-19และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ |
นายอริยะ สนทราพรพล |
นายเอกพัฒน์ เสียมทอง |
||||
นายสุปวีณ์ ฝอยทอง |