เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ”

นักศึกษาคณะ ICT ม.มหิดล (ICT Mahidol) นำเสนอผลงาน (รอบสอง) เพื่อรับทุนอุดหนุน ในการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 25 (NSC 2023) ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม

วันที่ 1 เมษายน 2566 นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล (ICT Mahidol) ที่ผ่านการพิจารณาในรอบข้อเสนอโครงการ ให้เข้าสู่รอบการนำเสนอผลงาน ในการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 25 (The 25th National Software Contest: NSC 2023) ได้เข้าร่วมการนำเสนอผลงาน (รอบสอง) เพื่อรับทุนนอุดหนุนในการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 25 (NSC 2023) ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม โดยได้มีการประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกในรอบข้อเสนอโครงการ (รอบแรก) ไปเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งมีนักศึกษาของคณะ ICT ผ่านการคัดเลือก จำนวนทั้งสิ้น 10 ทีม

การนำเสนอผลงาน (รอบสอง) เพื่อรับทุนนอุดหนุนในการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 25 (NSC 2023) มีนักศึกษาของคณะฯ เข้าร่วมนำเสนอผลงาน จำนวน 9 ทีม ดังนี้

ลำดับ

ชื่อโครงการ

หมวดโครงการ

อาจารย์ที่ปรึกษา

นักศึกษา

1

เทพารักษ์พิทักษ์ป่า

โปรแกรมเพื่อความบันเทิง

ดร.อัคร สุประทักษ์

1. นายณัชพล มิ่งมหาพันธ์
ชั้นปี 1 หลักสูตร ICT นานาชาติ

2. นายอนาวินทร์ รุจิธันยพัชร์ ชั้นปี 1 หลักสูตร ICT นานาชาติ

3. น.ส.ศกุนิชญ์ เอี่ยมจรัส
ชั้นปี 1 หลักสูตร ICT นานาชาติ

2

กายวิภาคศาสตร์เสมือนในโฮโลเลนส์: การเรียนกายวิภาคศาสตร์ในสภาพแวดล้อมร่วมผสม

โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้

ผศ.ดร.โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์

1. นายเมธาสิทธิ์ เกตุรักษ์
ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

3

STACKECK: ระบบค้นหาโพสบน StackOverflow เพื่อช่วยเหลือการแก้บัคในการเขียนโปรแกรม โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกแบบหลายรูปแบบ

โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้

ดร.ธนพล
นรเสฏฐ์

1. นายธนกร ลิมปนวุฒิ
ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

2. นายวิชช์ สุเฉลิมกุล ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

3. น.ส.ปุณยาพร ศรีสุข ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

4

ออกแบบและพัฒนาซีเรียสเกมสำหรับกระบวนการ พัฒนาซอฟต์แวร์: ตำนานการพัฒนา

โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้

ผศ.ดร.ปรีชา ตั้งวรกิจถาวร

1. นายชยพล ตั้งนิติธรรม
ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

2. นายณัฐธชัยมงคล ชโยปถัมภ์ ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

3. นายณภัทร สุทธิวงศ์ ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

5

การใช้แบบจำลองเบย์เซียนเพื่อการวิเคราะห์คาดการณ์โรคไข้เลือดออกสำหรับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์

โปรแกรมเพื่อสุขภาพ การแพทย์ คนพิการ และผู้สูงอายุ

Prof. Dr. Peter Haddawy

1. Mr. Panhavath Meth
ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

2. น.ส.อารยา ศรีแก้ว ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

3. น.ส.ชนนิกานต์ แววมณี
ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

6

การเก็บรวบรวมข้อมูลเสียงทางชีวภาพของยุงและการเฝ้าระวังทางกีฏวิทยาด้วยเซ็นเซอร์เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Prof. Dr. Peter Haddawy

1. น.ส.กานต์พิชชา อัศววินิจกุลชัย ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

2. นายวศิน ฮีสวัสดิ์ ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

3. นายธนวิชญ์ ธรรมพากรณ์ ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

7

คาเมล๊อน: การติดตามและประมาณการอาชญากรรมและอุบัติเหตุจากบทความข่าวออนไลน์

โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดร.ศิริเพ็ญ พงษ์ไพเชฐ

1. นายชาญชีพ มหาเจริญสุข ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

2. นายพัทธดนย์ สิงหจันทร์ ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

3. นายกันตพงศ์ มาตังครัตน์ ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

8

การตรวจจับภาวะซึมเศร้าเชิงลึกหลายรูปแบบ

โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดร.ทิพาจินต์ ไทยพิสุทธิกุล

1. นายณัฐชนน รักชาติ ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

2. นายพิสิฐพงศ์ จงเจริญกิจ ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

3. นายธนากรณ์ ยิ้มละมัย
ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

9

ไทฟ่อน ระบบแนะนำโค้ดที่เกี่ยวข้องแบบอัตโนมัติใน
จูปีเตอร์โน๊ตบุ๊ค

โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดร.ชัยยงค์
รักขิตเวชสกุล

1. นายณฐนนท ฤทธิ์ตา
ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

2. นายวีระกิตติ์ ประเสริฐผล

ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

3. นายปภน แซ่หว่อง

ชั้นปี 4 หลักสูตร ICT นานาชาติ

การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (National Software Contest: NSC) เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะความคิดริเริ่มในการเขียนโปรแกรมอันจะเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านซอฟต์แวร์ในอนาคต เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถเกิดประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อไป เพื่อสร้างเวทีการแข่งขันและสร้างความสนใจสำหรับเยาวชนที่มีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคนิคการเขียนโปรแกรม และเพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ต้นแบบที่หลากหลายซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ซึ่งจะมีการประกาศผลรายชื่อโครงการรับทุนรอบนำเสนอผลงาน (รอบสอง) และรายชื่อโครงการที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 7 เมษายน 2566 และมีการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 27 เมษายน 2566