แนะนำหลักสูตร
ปัจจุบันการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีขั้นสูงส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกและการพัฒนาสังคม ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ท้าทายนี้ก่อให้เกิดความต้องการที่สำคัญและโอกาสที่ดีสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่สามารถปลดล็อกศักยภาพของนวัตกรรมไอทีและธุรกิจได้อย่างเต็มที่
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ ในด้านการตรวจสอบ การสื่อสาร และการปฏิบัติ อีกทั้งยังมีความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการผลิตผลงานวิจัย ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานในแวดวงอุตสาหกรรมด้าน IT โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นหลักสูตรเชิงทฤษฎีประยุกต์ ที่มีการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ เชิงสังเคราะห์ และเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียน หลักสูตรนี้ไม่เพียงแต่สอนความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่ยังสอนแนวคิดเชิงลึกและประสบการณ์การการทำวิจัยเฉพาะ 5 ด้านอีกด้วย :
- Data and Knowledge Management
- Intelligent Systems
- Interactive Multimedia Systems
- Networks, Systems, and Security
- Software Engineering
ปรัชญา
หลักสูตรนี้มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะเทียบเคียงมาตรฐานนานาชาติที่จำเป็นต่อการทำงานวิจัย เพื่อแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และธุรกิจที่มีความซับซ้อน โดยการศึกษาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ผ่านการทำวิจัยในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
วิสัยทัศน์
มุ่งสู่การศึกษาและการวิจัยสหวิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ระดับโลก
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ความรู้เชิงลึกด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย
- เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถทำงานวิจัยเพื่อค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือปัญหาทางคอมพิวเตอร์ในสาขาอื่นๆ
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีจริยธรรม จรรยาบรรณ และปฏิบัติตามระเบียบการวิจัย การศึกษา และอาชีพทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
- เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางด้านวิชาการ และส่งเสริมทักษะการสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษ
โครงสร้างของหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร | หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
(หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ) |
ที่อยู่ | คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
ติดต่อ | โทรศัพท์: +66 02 441-0909 / โทรสาร: +66 02 441-0808 |
อีเมล: ict@mahidol.ac.th | |
เว็บไซต์: http://www.ict.mahidol.ac.th | |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ปร.ด. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) |
ภาษาในการจัดการเรียนการสอน | ภาษาอังกฤษ |
การรับเข้าศึกษา | รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่มีความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษ |
สถานที่จัดการเรียนการสอน
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
ระบบจัดการเรียนการสอน
ระบบจัดการเรียนการสอน
ระบบการศึกษา 2 ภาคการศึกษา: 1 ปีการศึกษา ประกอบด้วย 2 ภาคการศึกษาปกติ โดยมีการเรียนการสอนไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ต่อภาคการศึกษา
ภาคฤดูร้อน
ไม่มีภาคฤดูร้อน
วัน-เวลาในการจัดการเรียนการสอน
ภาคต้น: สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคปลาย: มกราคม – พฤษภาคม
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา:
แผน 1.1 และ แผน 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท: 3 ปี
แผน 1.2 และ แผน 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี: 4 ปี
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร:
แผน 1.1 และ แผน 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท: ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แผน 1.2 และ แผน 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี: ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
แบบ 1.1 และ แบบ 1.2 (วิทยานิพนธ์)
1) นักศึกษาจะต้องสำเร็จรายวิชาตามที่โครงสร้างหลักสูตรกำหนด
2) นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ
3) นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
4) นักศึกษาต้องเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านวิทยานิพนธ์ ด้วยวิธีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
5) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการ อย่างน้อย 2 ฉบับ ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออย่างน้อย ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด อย่างน้อย 1 เรื่อง ได้รับสิทธิบัตร อย่างน้อย 1 สิทธิบัตร ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานนวัตกรรม 1 เรื่อง หรือได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชิงสังคม และเศรษฐกิจ 1 เรื่อง กรณีผลงานนวัตกรรม หรือผลงานสร้างสรรค์ วิทยานิพนธ์ต้องได้รับการประเมินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในสาขาเดียวกันหรือเกี่ยวของอย่างน้อย 3 คน ที่เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับ โดยได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย
6) ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้ถือตามข้อกำหนดที่ระบุโดยบัณฑิตวิทยาลัย
แบบ 2.1 และ แบบ 2.2 (วิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชา)
1) นักศึกษาจะต้องสำเร็จรายวิชาตามที่โครงสร้างหลักสูตรกำหนด โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
2) นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ
3) นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
4) นักศึกษาต้องเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านวิทยานิพนธ์ ด้วยวิธีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
5) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการ อย่างน้อย 1 ฉบับ ได้รับสิทธิบัตร อย่างน้อย 1 สิทธิบัตร ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานนวัตกรรม 1 เรื่อง หรือได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชิงสังคม และเศรษฐกิจ 1 เรื่อง กรณีผลงานนวัตกรรม หรือผลงานสร้างสรรค์ วิทยานิพนธ์ต้องได้รับการประเมินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในสาขาเดียวกันหรือเกี่ยวของอย่างน้อย 3 คน ที่เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับ โดยได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย
6) ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้ถือตามข้อกำหนดที่ระบุโดยบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
รายวิชา | แผน 1.1 | แผน 1.2 | แผน 2.1 | แผน 2.2 |
1. รายวิชาบังคับ | – | – | 9 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
2. รายวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | – | – | 3 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
3. วิทยานิพนธ์ | 48 หน่วยกิต | 72 หน่วยกิต | 36 หน่วยกิต | 48 หน่วยกิต |
จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า | 48 หน่วยกิต | 72 หน่วยกิต | 48 หน่วยกิต | 72 หน่วยกิต |
แผนการศึกษา
แบบ 1.1 (วิทยานิพนธ์) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | ||
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
* ทสคพ 671 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 | 1 (1-0-2) |
ทสคพ 898 | วิทยานิพนธ์ (พัฒนาหัวข้อวิจัย และวางแผนวิจัย) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
* ทสคพ 672 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 | 1 (1-0-2) |
ทสคพ 898 | วิทยานิพนธ์ (ทบทวนวรรณกรรม และเตรียมเก็บรวบรวมข้อมูล) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
* ทสคพ 673 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3 | 1 (1-0-2) |
ทสคพ 898 | วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลองเบื้องต้น และเขียนข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสคพ 898 | วิทยานิพนธ์ (เสนอข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ ดำเนินการทดลอง และเขียนต้นฉบับครั้งแรก) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสคพ 898 | วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลอง และเขียนต้นฉบับครั้งที่สอง) | 6 (0-18-0) |
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสคพ 898 | วิทยานิพนธ์ (เขียนวิทยานิพนธ์และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์) | 6 (0-18-0) |
* Register with AUDIT
แบบ 1.2 (วิทยานิพนธ์) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี | ||
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
* ทสคพ 533 | ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ | 2 (2-0-4) |
* ทสคพ 671 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 | 1 (1-0-2) |
ทสคพ 899 | วิทยานิพนธ์ (พัฒนาหัวข้อวิจัย) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
* ทสคพ 672 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 | 1 (1-0-2) |
ทสคพ 899 | วิทยานิพนธ์ (วางแผนวิจัย และทบทวนวรรณกรรม) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
* ทสคพ 673 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3 | 1 (1-0-2) |
ทสคพ 899 | วิทยานิพนธ์ (ทบทวนวรรณกรรม และเตรียมเก็บรวบรวมข้อมูล) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสคพ 899 | วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลองเบื้องต้น และเขียนข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสคพ 899 | วิทยานิพนธ์ (เสนอข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ และดำเนินการทดลอง) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสคพ 899 | วิทยานิพนธ์ (เขียนต้นฉบับครั้งแรก) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสคพ 899 | วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลอง และเขียนต้นฉบับครั้งที่สอง) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสคพ 899 | วิทยานิพนธ์ (เขียนวิทยานิพนธ์ และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์) | 9 (0-27-0) |
* Register with AUDIT
แบบ 2.1 (วิทยานิพนธ์ และการเรียนรายวิชา) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | ||
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสคพ 531 | คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ | 2 (2-0-4) |
ทสคพ 533 | ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ | 2 (2-0-4) |
ทสคพ 671 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 | 1 (1-0-2) |
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสคพ 532 | รากฐานของวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ | 2 (2-0-4) |
ทสคพ 672 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 | 1 (1-0-2) |
หมวดวิชาเลือก | 3 credits | |
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสคพ 673 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3 | 1 (1-0-2) |
ทสคพ 699 | วิทยานิพนธ์ (พัฒนาหัวข้อวิจัย วางแผนวิจัย และทบทวนวรรณกรรม) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสคพ 699 | วิทยานิพนธ์ (เตรียมเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการทดลองเบื้องต้น เขียนข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ และเสนอข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสคพ 699 | วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลอง และเขียนต้นฉบับครั้งแรก) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสคพ 699 | วิทยานิพนธ์ (เขียนวิทยานิพนธ์ และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์) | 9 (0-27-0) |
แบบ 2.2 (วิทยานิพนธ์ และการเรียนรายวิชา) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี | ||
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสคพ 523 | ส่วนสำคัญของวิทยาการข้อมูล | 3 (3-0-6) |
ทสคพ 531 | คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ | 2 (2-0-4) |
ทสคพ 533 | ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ | 2 (2-0-4) |
ทสคพ 671 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 | 1 (1-0-2) |
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสคพ 532 | รากฐานของวิทยาศาตร์เชิงคำนวณ | 2 (2-0-4) |
ทสคพ 672 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 | 1 (1-0-2) |
หมวดวิชาเลือก | 6 หน่วยกิต | |
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสคพ 673 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3 | 1 (1-0-2) |
หมวดวิชาเลือก | 6 หน่วยกิต | |
ทสคพ 799 | วิทยานิพนธ์ (พัฒนาหัวข้อวิจัย และวางแผนวิจัย) | 3 (0-9-0) |
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสคพ 799 | วิทยานิพนธ์ (ทบทวนวรรณกรรม และเตรียมเก็บรวบรวมข้อมูล) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสคพ 799 | วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลองเบื้องต้น และเขียนข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสคพ 799 | วิทยานิพนธ์ (เสนอข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ และดำเนินการทดลอง) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสคพ 799 | วิทยานิพนธ์ (เขียนต้นฉบับครั้งแรก) | 9 (0-27-0) |
ปีการศึกษาที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสคพ 799 | วิทยานิพนธ์ (เขียนวิทยานิพนธ์และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์) | 9 (0-27-0) |
หมวดวิชาเลือก
หมวดวิชาเลือก สำหรับแบบ 2.1 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
นักศึกษาสามารถเลือกเรียนหมวดวิชาต่าง ๆ ดังนี้
ทศคพ 638 ความมั่นคงของระบบเครือข่ายและระบบแบบกระจาย 3 (3-0-6)
ทศคพ 642 การจัดการวิศวกรรมซอฟแวร์ 3 (3-0-6)
ทศคพ 646 วิศวกรรมความต้องการ 3 (3-0-6)
ทศคพ 687 ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ขั้นสูง 3 (3-0-6)
ทศคพ 692 หัวข้อขั้นสูงด้านปัญญาประดิษฐ์ 3 (3-0-6)
ทศคพ 693 หัวข้อขั้นสูงด้านวิศวกรรมซอฟแวร์ 3 (3-0-6)
ทศคพ 694 ชีวสารสนเทศศาสตร์ 3 (3-0-6)
ทศคพ 695 การศึกษาอิสระ 3 (0-6-3)
หมวดวิชาเลือก สำหรับแบบ 2.2 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มฐานข้อมูล (Database) กลุ่มเครือข่ายสื่อสารและความมั่นคง (Network and Security) กลุ่มปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) กลุ่มวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) หรือกลุ่มวิชาเลือกอื่นๆ ดังต่อไปนี้
(1) กลุ่มฐานข้อมูล (Database)
ทศคพ 621 การออกแบบและการบริหารฐานข้อมูล 3 (3-0-6)
ทศคพ 668 ฐานข้อมูลระบบคลาวด์และเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ 3 (3-0-6)
ทศคพ 682 ระบบฐานข้อมูลขั้นสูง 3 (3-0-6)
(2) กลุ่มเครือข่ายสื่อสารและความมั่นคง (Network and Security)
ทศคพ 551 การคำนวณเชิงบริการและคลาวด์ 3 (3-0-6)
ทศคพ 554 การจัดการความมั่นคงของสารสนเทศ 3 (3-0-6)
ทศคพ 638 ความมั่นคงของระบบเครือข่ายและระบบแบบกระจาย 3 (3-0-6)
ทศคพ 687 ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ขั้นสูง 3 (3-0-6)
(3) กลุ่มปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
ทศคพ 517 การเรียนรู้เชิงเครื่องจักร 3 (3-0-6)
ทศคพ 518 การวิเคราะห์และความเข้าใจภาพ 3 (3-0-6)
ทศคพ 661 ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง 3 (3-0-6)
ทศคพ 665 การประมวลผลภาษาธรรมชาติ 3 (3-0-6)
ทศคพ 667 คอมพิวเตอร์วิทัศน์ขั้นสูง 3 (3-0-6)
ทศคพ 692 หัวข้อขั้นสูงด้านปัญญาประดิษฐ์ 3 (3-0-6)
(4) กลุ่มวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
ทศคพ 613 เครื่องมือและสภาพแวดล้อมสําหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ 3 (3-0-6)
ทศคพ 615 วิศวกรรมซอฟแวร์เชิงประจักษ์ 3 (3-0-6)
ทศคพ 642 การจัดการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 3 (3-0-6)
ทศคพ 644 การประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ 3 (3-0-6)
ทศคพ 646 วิศวกรรมความต้องการ 3 (3-0-6)
ทศคพ 693 หัวข้อขั้นสูงด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 3 (3-0-6)
(5) กลุ่มวิชาเลือกอื่นๆ
ทศคพ 503 การออกแบบและวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี 3 (3-0-6)
ทศคพ 655 คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ 3 (3-0-6)
ทศคพ 694 ชีวสารสนเทศศาสตร์ 3 (3-0-6)
ทศคพ 695 การศึกษาอิสระ 3 (0-6-3)
ทศคพ 696 หัวข้อชั้นสูงด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3 (3-0-6)
นอกจากนี้ นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนรายวิชาที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือมหาวิทยาลัยอื่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศตามความสนใจ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและอาจารย์ที่ปรึกษา
หัวข้อวิจัยสำหรับทำวิทยานิพนธ์
หัวข้อวิจัยสำหรับทำวิทยานิพนธ์ ดังนี้:
(1) โครงการวิจัยด้านระบบอัจฉริยะ (Intelligent Systems)
(2) โครงการวิจัยด้านระบบการสื่อสารและเครือข่าย (Communication and Network Systems)
(3) ครงการวิจัยด้านระบบความปลอดภัย (Security Systems)
(4) โครงการวิจัยด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
(5) โครงการวิจัยในด้านระบบการจัดการข้อมูล (Data Management Systems)
(6) โครงการวิจัยในด้านระบบกราฟิกและสื่อหลายแบบ (Graphic And Multimedia Systems)
(7) โครงการวิจัยในด้านระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture and Computer Systems)
(8) โครงการวิจัยในด้านชีวสารสนเทศ (Bioinformatics)
(9) โครงการวิจัยในด้านข้อมูลสุขภาพ (Health Information)
(10) โครงการวิจัยในด้านวิทยาการคำนวณ (Computational Science)
(11) โครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม (Project Related To Industry)
นักศึกษาสามารถเลือกทำวิจัยในสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยได้รับการอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานหลักสูตร
แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล
แนวปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน |
|
แนวปฏิบัติในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา |
|
ผลลัพธ์การเรียนรู้
การรายงานความก้าวหน้า:
PLO1 มีคุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมที่เหมาะสมตามจรรยาบรรณของงานวิจัย งานวิชาการ และผู้ประกอบวิชาชีพด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
PLO2 มีความรู้ความสามารถเข้าใจหลักการและทฤษฎีด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
PLO3 สามารถกำหนดวิธีและเทคนิคด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เฉพาะทางเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและปัญหาในงานวิจัยอย่างเป็นระบบ
PLO4 สามารถทำงานคนเดียวและทำงานเป็นทีมในสหวิชาการอย่างมีความความรับผิดชอบ
PLO5 สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเพื่อทำงานร่วมกับผู้อื่น ถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และนำเสนอผลงานวิจัยผ่านเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อบุคคลทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญ
PLO6 สามารถค้นพบความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ผ่านงานวิจัยต้นฉบับที่มีคุณภาพระดับนานาชาติและสามารถผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิได้
อาชีพในอนาคต
1. นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
2. ผู้สอนวิทยาการคอมพิวเตอร์
3. เจ้าหน้าที่เทคนิคคอมพิวเตอร์
4. ผู้จัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
Download
ผู้สมัครหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
แบบ 1.1 (วิทยานิพนธ์) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
- สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท หรือเทียบเท่า ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- มีผลงาน Peer-review ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างน้อย 1 ผลงาน
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 3.50
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
- มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
- ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ในข้อ 3 – 5 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
แบบ 1.2 (วิทยานิพนธ์) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
- สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- มีผลงาน Peer-review ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างน้อย 1 ผลงาน หรือมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 1 ปี หรือมีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 3 ปี
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 3.50
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
- มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
- ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ในข้อ 3 – 5 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
แบบ 2.1 (วิทยานิพนธ์ และการเรียนรายวิชา) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
- สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท หรือเทียบเท่า ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- มีผลงาน Peer-review ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างน้อย 1 ผลงาน หรือมีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 3 ปี
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 3.00
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
- มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
- ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ในข้อ 3 – 5 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
แบบ 2.2 (วิทยานิพนธ์ และการเรียนรายวิชา) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
- สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ในสาขาที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ สาขาการแพทย์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาสาธารณสุขศาสตร์
- มีผลงาน Peer-review ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างน้อย 1 ผลงาน หรือมีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 1 ปี
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 3.00
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
- มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
- ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ในข้อ 3 – 5 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
ขั้นตอนการสมัคร
- สมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย
- สมัครใช้งานและลงชื่อเข้าใช้ระบบการสมัครออนไลน์
- กรอกข้อมูลใบสมัคร และส่งเอกสารประกอบการสมัครผ่านระบบการสมัครออนไลน์ให้ครบถ้วน
กำหนดการรับสมัครปีการศึกษา 2567
กำหนดการ | ภาคปลาย ปีการศึกษา 2567 |
เปิดรับสมัคร | 1 กรกฎาคม – 31 ตุลาคม 2567 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 9 พฤศจิกายน 2567 |
สอบสัมภาษณ์ | 18 พฤศจิกายน 2567 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 27 พฤศจิกายน 2567 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 27 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2567 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 2 (ปีการศึกษา 2567) | 6 มกราคม 2568 |
กำหนดการรับสมัครปีการศึกษา 2568
กำหนดการ | รอบที่ 1 |
เปิดรับสมัคร | 1 ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน 2567 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 12 ธันวาคม 2567 |
สอบสัมภาษณ์ | 24 ธันวาคม 2567 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 8 มกราคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 8 – 21 มกราคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2568) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | รอบที่ 2 |
เปิดรับสมัคร | 1 ธันวาคม 2567 – 31 มกราคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 14 กุมภาพันธ์ 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 25 กุมภาพันธ์ 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 13 มีนาคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 13 – 26 มีนาคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2568) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | รอบที่ 3 |
เปิดรับสมัคร | 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 11 เมษายน 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 25 เมษายน 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 9 พฤษภาคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 9 – 22 พฤษภาคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2568) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | รอบที่ 4 |
เปิดรับสมัคร | 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 12 มิถุนายน 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 24 มิถุนายน 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 3 กรกฎาคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 3 – 16 กรกฎาคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2568) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | ภาคปลาย ปีการศึกษา 2568 |
เปิดรับสมัคร | 1 กรกฎาคม – 31 กันยายน 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 15 ตุลาคม 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 28 ตุลาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 14 พฤศจิกายน 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 14 – 27 พฤศจิกายน 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 2 (ปีการศึกษา 2568) | มกราคม 2569 |
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ปีการศึกษา | ค่าธรรมเนียมการศึกษา | ค่าใช้จ่าย (ตลอดหลักสูตร) | |||
นักศึกษาต่างชาติ | นักศึกษาไทย | ||||
บาท | ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท] |
บาท | ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท] |
||
2566 | แผน 1.1 (วิทยานิพนธ์) | 512,700 บาท | 15,600 USD | 420,450 บาท | 12,800 USD |
แผน 2.1 (วิทยานิพนธ์ และ การเรียนรายวิชา) | 575,700 บาท | 17,500 USD | 463,200 บาท | 14,100 USD | |
2567 | Plan 1.1 (วิทยานิพนธ์) | 480,000 บาท (80,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
14,550 USD (2,425 USD/ภาคการศึกษา) |
420,000 บาท (70,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
12,750 USD (2,125 USD/ภาคการศึกษา) |
Plan 1.2 (วิทยานิพนธ์) | 640,000 Baht (80,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
19,400 USD (2,425 USD/ภาคการศึกษา) |
560,000 บาท (70,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
17,000 USD (2,125 USD/ภาคการศึกษา) |
|
Plan 2.1 (วิทยานิพนธ์ และ การเรียนรายวิชา) | 480,000 Baht (80,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
14,550 USD (2,425 USD/ภาคการศึกษา) |
420,000 บาท (70,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
12,750 USD (2,125 USD/ภาคการศึกษา) |
|
Plan 2.2 (วิทยานิพนธ์ และ การเรียนรายวิชา) | 640,000 Baht (80,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
19,400 USD (2,425 USD/ภาคการศึกษา) |
560,000 บาท (70,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
17,000 USD (2,125 USD/ภาคการศึกษา) |
*อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
ทุนการศึกษา
มีทุนการศึกษาบางส่วนสำหรับนักศึกษาที่มีความโดดเด่น ผู้สมัครสามารถสมัครรรับทุนการศึกษาได้ โดยกรอกแบบฟอร์มใบสมัครรับทุนการศึกษา ทุนการศึกษาจะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมกาหลักสูตรฯ เป็นกรณี ๆ ไป