แนะนำหลักสูตร
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ หลาย ๆ บริษัทเริ่มนำเทคโนโลยีเกมมาใช้ในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะด้านการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากเกมจะเป็นสื่อความบันเทิงแล้ว ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเกมมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนการสอนในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาทั่ว ๆ ไป, ด้านการแพทย์, ด้านการทหาร และ ด้านศิลปะ กล่าวคือ เทคโนโลยีเกมที่เรียกว่า Virtual Reality หรือ VR คือ การใช้เทคโนโลยีเกมจำลองสถานที่ต่าง ๆ ขึ้นมาได้อย่างสมจริง สถานที่ที่ถูกจำลองขึ้นมานั้นอาจจะเป็นสถานที่ที่มีราคาสูงหรือสถานที่ที่มีความอันตรายเกินกว่าที่เราจะไปฝึกซ้อมในสถานที่จริงได้ เช่น ห้องผ่าตัด หรือ สนามรบ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งใน การพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเกม
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร ทั้งหมด 2 ปี และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม กล่าวคือผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ก่อนกำหนด หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ทั้งมีและไม่มีประสบการณ์ด้านเกม สำหรับผู้เรียนที่ไม่มีประสบการณ์ด้านเกมมาก่อน โดยปกติจะใช้เวลาสองปีในการสำเร็จการศึกษา โดยปีการศึกษาแรก จะเรียนรายวิชา (Course work) ทั้งหมด และในปีการศึกษาที่ 2 ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ และลงมือทำงานวิจัย (Thesis / Thematic Paper) ในหัวข้อที่ตนเองสนใจ สำหรับผู้เรียนที่มีประสบการณ์ด้านเกมมาแล้ว สามารถทำวิจัยควบคู่ไปกับการเรียนรายวิชาได้เลยตั้งแต่ปีการศึกษาที่ 1 โดยที่ผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในหนึ่งปี
หากคุณสนใจที่จะพัฒนาความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับคุณ!
ปรัชญาการศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน เน้นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered Approach), และเน้นการผสมผสานระหว่างทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (การเรียนที่สอนให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยทั้งผู้เรียนและผู้สอนจะเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน) และปรัชญาสารัตถนิยม (ปรัชญาที่ยึดเนื้อหาเป็นหลักสำคัญของการศึกษา) (Constructivism and Essentialism Blending) ทั้งนี้ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered Approach) และ การผสมผสานระหว่างทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และปรัชญาสารัตถนิยม ยังสอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย
วิสัยทัศน์
เป็นสถาบันชั้นนำที่สามารถตอบสนองความต้องการของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทางด้านการศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม ทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลระดับสากล
วัตถุประสงค์
1. มีความรู้ในด้านทฤษฎี การปฏิบัติ และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน
2. พัฒนาวิธีการแก้ปัญหาและนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชันเพื่อประโยชน์แก่สังคม
3. ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัย และเคารพสิทธิของผู้อื่น รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา
4. สื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และมีความคิดสร้างสรรค์ มีภาวะความเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม
ชื่อหลักสูตร | หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน (หลักสูตรนานาชาติ – ภาคพิเศษ) |
ที่อยู่ | คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
ติดต่อ | Phone: +66 02 441-0909 / Fax. +66 02 441-0808 E-mail: ict@mahidol.ac.th Website: https://www.ict.mahidol.ac.th |
ปีที่ก่อตั้ง | 2557 |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน) |
ภาษาที่ใช้ | ภาษาอังกฤษ |
การรับเข้าศึกษา | รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดี |
สถานที่จัดการเรียนการสอน
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
ระบบการจัดการศึกษา
ระบบจัดการเรียนการสอน
2 ภาคการศึกษา/ปี
ภาคฤดูร้อน
มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
วันธรรมดา ช่วงเย็น (18.00 – 21.00 น.) และ วันหยุดสุดสัปดาห์ (09.00 – 16.00 น.)
ภาคเรียนที่ 1: สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 2: มกราคม – พฤษภาคม
ฤดูร้อน :มิถุนายน-กรกฎาคม
ระยะเวลาการสำเร็จการศึกษา
ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา: 2 ปี
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร: ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
แผน 1.2 สายวิชาการ (รายวิชาและวิทยานิพนธ์)
- นักศึกษาจะต้องสำเร็จการศึกษาตามที่หลักสูตรกำหนด โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00
- นักศึกษาต้องนำเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านวิทยานิพนธ์ ด้วยวิธีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง ซึ่งการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในบทความปริทัศน์ (Review Article) หรือได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานนวัตกรรม หรือได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสร้างสรรค์ หรือได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานทางวิชาการที่สามารถสืบค้นได้
- ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้ถือตามข้อกำหนดที่ระบุโดยบัณฑิตวิทยาลัย
แผน 2 สายวิชาชีพ
- นักศึกษาจะต้องสำเร็จหลักสูตรตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00
- นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ตามข้อกำหนดบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล
- นักศึกษาต้องนำเสนอการศึกษาค้นคว้าอิสระ และผ่านการสอบป้องกัน ตามข้อกำหนดบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
- ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้ถือตามข้อกำหนดที่ระบุโดยบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน | Plan 1.2 Academic (Course work and research) | Plan 2 Profession |
1. หมวดวิชาบังคับ | 15 หน่วยกิต | 15 หน่วยกิต |
2. หมวดวิชาเลือก | 9 หน่วยกิต | 15 หน่วยกิต |
3. วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | – |
4. การค้นคว้าอิสระ | – | 6 หน่วยกิต |
จำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่า | 36 หน่วยกิต | 36 หน่วยกิต |
แผนการศึกษา
Plan 1.2 Academic (Course work and research) | ||
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสกท 511 | ขั้นตอนวิธีและปัญญาประดิษฐ์สำหรับเกมคอมพิวเตอร์ | 3(3-0-6) |
ทสกท 521 | กราฟฟิกส์และการสร้างภาพ 3 มิติ | 3(3-0-6) |
ทสกท 531 | เกมมิฟิเคชัน | 3(3-0-6) |
ทสกท 551 | หลักการตลาดและการจัดการการผลิตเกม | 2(2-0-4) |
ทสกท 583 | วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีเกม | 1(1-0-2) |
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสกท 532 | การออกแบบและการพัฒนาเกม | 3(3-0-6) |
ทสกท XXX | หมวดวิชาเลือก 3 วิชา | 9 หน่วยกิต |
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคฤดูร้อน | ||
ทสกท 698 | วิทยานิพนธ์ (Topic Selection and Literature Review) | 4(0-12-0) |
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสกท 698 | วิทยานิพนธ์ (Proposal, Design, and Implementation) | 4(0-12-0) |
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสกท 698 | วิทยานิพนธ์ (Evaluation, Manuscript Writing, and Defense) | 4(0-12-0) |
Plan 2 Profession | ||
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสกท 511 | ขั้นตอนวิธีและปัญญาประดิษฐ์สำหรับเกมคอมพิวเตอร์ | 3(3-0-6) |
ทสกท 521 | กราฟฟิกส์และการสร้างภาพ 3 มิติ | 3(3-0-6) |
ทสกท 531 | เกมมิฟิเคชัน | 3(3-0-6) |
ทสกท 551 | หลักการตลาดและการจัดการการผลิตเกม | 2(2-0-4) |
ทสกท 582 | วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางด้านเทคโนโลยีเกม | 1(1-0-2) |
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสกท 532 | การออกแบบและการพัฒนาเกม | 3(3-0-6) |
ทสกท XXX | หมวดวิชาเลือก 3 วิชา | 9 หน่วยกิต |
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคฤดูร้อน | ||
ทสกท 696 | การค้นคว้าอิสระ | 2(0-6-0) |
ทสกท XXX | หมวดวิชาเลือก 2 วิชา | 6 หน่วยกิต |
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 | ||
ทสกท 696 | การค้นคว้าอิสระ | 2(0-6-0) |
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
ทสกท 696 | การค้นคว้าอิสระ | 2(0-6-0) |
หมวดวิชาเลือก
นักศึกษาสามารถเลือกเรียนหมวดวิชาต่าง ๆ ดังนี้
หมวดวิชาเลือก |
|
ทสกท 522 | ความจริงเสมือน |
ทสกท 523 | คอมพิวเตอร์วิทัศน์ |
ทสกท 524 | การทำภาพเคลื่อนไหวสำหรับเกมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง |
ทสกท 533 | การพัฒนาเกมเอนจิน |
ทสกท 534 | เครื่องมือสำหรับเกมคอมพิวเตอร์ |
ทสกท 541 | การพัฒนาเกมออนไลน์ในระบบผู้เล่นหลายคน |
ทสกท 542 | การเขียนโปรแกรมและเทคโนโลยีเกมคอนโซล |
ทสกท 543 | การเขียนโปรแกรมเกมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
ทสกท 552 | การเล่าเรื่องในระบบดิจิตอลและการสร้างหนังจากเกม |
ทสกท 553 | การออกแบบทัศนศิลป์สำหรับเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ |
ทสกท 591 | หัวข้อพิเศษทางด้านเทคโนโลยีเกม |
หัวข้อวิจัย
- Artificial Intelligence
- Virtual Reality
- Computer Vision
- Gamification
- Animation
- Graphics
- Online Games
- Mobile Application
แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล
แนวปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน |
|
แนวปฏิบัติ ในการ ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา |
|
ผลลัพธ์การเรียนรู้
- PLO1 สร้างสรรค์ผลงานที่ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเหมาะสม
- PLO2 มีความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเกม รวมถึงปัญญาประดิษฐ์และระบบอินเทอร์แอคทีฟ
- PLO3 เข้าใจกระบวนการออกแบบและพัฒนาเกม ตั้งแต่การรวบรวมความต้องการ การออกแบบและการพัฒนา การจัดการโครงการ การจัดทำเอกสาร การทดสอบ ไปจนถึงการทำการตลาด
- PLO4 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง เช่น ด้านการแพทย์ การทหาร การศึกษา และความบันเทิง
- PLO5 สามารถประเมินเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชันที่มีอยู่ เพื่อตรวจสอบจุดเด่น จุดด้อย และโอกาสในการสร้างนวัตกรรม (สำหรับแผน 1.2 เท่านั้น)
- PLO6 สามารถนำเสนอแนวทางที่สร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาในด้านเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน (สำหรับแผน 1.2 เท่านั้น)
- PLO7 สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- PLO8 มีความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม
อาชีพที่สามารถประกอบได้
1. นักวิจัยด้านเทคโนโลยีเกม และเกมมิฟิเคชัน
2. นักออกแบบเกม
3. นักพัฒนาเกม
4. นักวิเคราะห์และทดสอบเกม
5. ผู้ผลิตสื่อเชิงโต้ตอบ หรือสร้างสรรค์
6. ผู้ออกแบบและพัฒนาระบบจำลองเสมือนจริง
7. นักพัฒนาด้านมัลติมีเดีย
8. นักพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์
9. นักพัฒนาด้านการทำภาพเคลื่อนไหว
ดาวน์โหลดรายละเอียดและคำอธิบายหลักสูตร
สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาต่อ
นักศึกษาที่มีสิทธิ์สมัครหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชันจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขามัลติมิเดีย สาขาสื่อดิจิทัล สาขาสื่อเชิงโต้ตอบ สาขาการออกแบบเกม สาขากีฬา eSports หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 2.75
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตาม เกณฑ์ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ/หรือ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
- ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ 2–4 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรฯ และ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
หากท่านต้องการสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ เว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย (https://graduate.mahidol.ac.th/)
การติดต่อ
ผศ. ดร. โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
Tel: 66-2-441-0909
email: mores.pra@mahidol.ac.th
กำหนดการรับสมัครปีการศึกษา 2567
กำหนดการ | ภาคปลาย ปีการศึกษา 2567 |
เปิดรับสมัคร | 1 กรกฎาคม – 31 ตุลาคม 2567 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 9 พฤศจิกายน 2567 |
สอบสัมภาษณ์ | 13 พฤศจิกายน 2567 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 27 พฤศจิกายน 2567 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 27 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2567 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 2 (ปีการศึกษา 2567) | 6 มกราคม 2568 |
กำหนดการรับสมัครปีการศึกษา 2568
กำหนดการ | รอบที่ 1 |
เปิดรับสมัคร | 1 ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน 2567 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 12 ธันวาคม 2567 |
สอบสัมภาษณ์ | 16 ธันวาคม 2567 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 8 มกราคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 8 – 21 มกราคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2568) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | รอบที่ 2 |
เปิดรับสมัคร | 1 ธันวาคม 2567 – 31 มกราคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 14 กุมภาพันธ์ 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 17 กุมภาพันธ์ 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 13 มีนาคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 13 – 26 มีนาคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2568) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | รอบที่ 3 |
เปิดรับสมัคร | 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 11 เมษายน 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 21 เมษายน 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 9 พฤษภาคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 9 – 22 พฤษภาคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2568) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | รอบที่ 4 |
เปิดรับสมัคร | 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 12 มิถุนายน 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 16 มิถุนายน 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 3 กรกฎาคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 3 – 16 กรกฎาคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2568) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | ภาคปลาย ปีการศึกษา 2568 |
เปิดรับสมัคร | 1 กรกฎาคม – 31 กันยายน 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 15 ตุลาคม 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 20 ตุลาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 14 พฤศจิกายน 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 14 – 27 พฤศจิกายน 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 2 (ปีการศึกษา 2568) | มกราคม 2569 |
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ปีการศึกษา | ค่าธรรมเนียมการศึกษา | ค่าใช้จ่าย (ตลอดหลักสูตร) | |||
นักศึกษาต่างชาติ | นักศึกษาไทย | ||||
บาท | ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท] | บาท | ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท] | ||
2564 – 2566 | Plan A (Thesis) แผน ก (วิทยานิพนธ์) | 489,000 บาท | 14,900 USD | 299,000 บาท | 9,100 USD |
Plan B (Thematic Paper) แผน ข (สารนิพนธ์) | 454,500 บาท | 13,800 USD | 275,000 บาท | 8,400 USD | |
2567 | Plan 1.2 Academic (Course work and research) | 360,000 บาท (80,000 บาท / ภาคการศึกษา และ 40,000 บาท/ภาคการศึกษาฤดูร้อน) | 10,915 USD (2,425 USD/ภาคการศึกษา และ 1,215 USD/ภาคการศึกษาฤดูร้อน) | 315,000 บาท (70,000 บาท / ภาคการศึกษา และ 35,000 บาท/ภาคการศึกษาฤดูร้อน) | 9,560 USD (2,125 USD/ภาคการศึกษา และ 1,060 USD/ภาคการศึกษาฤดูร้อน) |
Plan 2 Profession | 360,000 บาท (80,000 บาท / ภาคการศึกษา และ 40,000 บาท/ภาคการศึกษาฤดูร้อน) | 10,915 USD (2,425 USD/ภาคการศึกษา และ 1,215 USD/ภาคการศึกษาฤดูร้อน) | 315,000 บาท (70,000 บาท / ภาคการศึกษา และ 35,000 บาท/ภาคการศึกษาฤดูร้อน) | 9,560 USD (2,125 USD/ภาคการศึกษา และ 1,060 USD/ภาคการศึกษาฤดูร้อน) |
*อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
- ประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะ ICT พ.ศ. 2567
- ประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะ ICT พ.ศ. 2564
ทุนการศึกษา
มีทุนการศึกษาบางส่วนสำหรับนักศึกษาที่มีความโดดเด่น ผู้สมัครสามารถสมัครรรับทุนการศึกษาได้ โดยกรอกแบบฟอร์มใบสมัครรับทุนการศึกษา ทุนการศึกษาจะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมกาหลักสูตรฯ เป็นกรณี ๆ ไป