หลักสูตร วท.บ. สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล

  /    /  หลักสูตร วท.บ. สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล

ทำไมต้องเรียนหลักสูตร DST @ ICT Mahidol

สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นหลักสูตรภาษาไทยที่เน้นกระบวนการสร้างเสริมความรู้และทักษะด้านวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้เรียนให้สามารถเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเข้าด้วยกัน เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและโจทย์ในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลจากสถานการณ์จริงได้ โดยเน้นเรียนรู้ศาสตร์ทางด้าน IT 4 ด้านหลัก ได้แก่ IoT, Data Science, Cyber Security และ Software Engineering อีกทั้งยังเน้นการฝึกปฏิบัติงาน ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ลงมือทำงานจริงกับบริษัทในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลชั้นนำด้าน IT ของประเทศไทย โดยเป็นหลักสูตรที่เน้นให้นักศึกษาได้เริ่มฝึกงานตั้งแต่ชั้นปี 2 และปี 3 ในภาคการศึกษาที่ 3 แบบ short term (2 เดือน) และสหกิจศึกษา ชั้นปี 4 เทอม 1 (4 เดือน) รวมทั้ง มีการทำ Senior Project ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ แก้ไขปัญหาจากโจทย์จริง เพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกการทำงาน อันจะส่งผลให้นักศึกษาสามารถทำงานได้จริงหลังสำเร็จการศึกษา

  Get A Grip On Tech,    Get A Brighter Future    @ICT Mahidol 

กำหนดการรับสมัครเข้าศึกษาต่อ

สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล (DST) ปีการศึกษา 2568

รอบ

MU Portfolio (TCAS 1)

โควตา (TCAS 2)

Admission (TCAS 3)

Direct Admission (TCAS 4)

ช่วงเวลารับสมัคร

1 ต.ค. 67 เวลา 9.30 น. - 16 ต.ค. 67 เวลา 12.00 น.

20 มี.ค. 68 เวลา 9.30 น. - 8 เม.ย. 68 เวลา 23.59 น.

6 - 12 พ.ค. 68

มิ.ย. 68

วุฒิการศึกษา

  • ม.6 แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์-คอม, คณิต-คอม หรือ

  • ปวช. เรียนวิชาด้านคอมพิวเตอร์ ≥ 15 หน่วยกิต

  • ม.6 หรือเทียบเท่า (กศน.) ทุกแผนการเรียน หรือ

  • ปวช. เรียนวิชาด้านคอมพิวเตอร์ ≥ 15 หน่วยกิต

  • ตรงตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    - เป็นนักเรียนในกลุ่มโรงเรียน MoU หรือ
    - เป็นนักเรียนที่ผ่านการเข้าค่าย สอวน./ค่ายโอลิมปิกวิชาการ หรือ
    - ได้รับรางวัลการแข่งขันด้าน IT ในระดับจังหวัดขึ้นไป

  • ม.6 หรือเทียบเท่า (กศน.) ทุกแผนการเรียน หรือ

  • ปวช. เรียนวิชาด้านคอมพิวเตอร์ ≥ 15 หน่วยกิต

กำหนดการจะประกาศ

ให้ทราบภายหลัง

โปรดติดตามรายละเอียดที่

www.ict.mahidol.ac.th

GPA

  • GPA ≥ 2.50 (4 เทอม)

  • คะแนนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทย์/คณิต/อังกฤษ ≥ 2.50 (เฉพาะผู้สมัครวุฒิ ม.6)

GPA ≥ 3.00 (5 - 6 เทอม)

GPA ≥ 2.50 (6 เทอม)

กำหนดการจะประกาศ

ให้ทราบภายหลัง

โปรดติดตามรายละเอียดที่

www.ict.mahidol.ac.th

ช่องทางการสมัคร

Website ม.มหิดล

https://tcas.mahidol.ac.th/

Website ม.มหิดล

https://tcas.mahidol.ac.th/

Website ทปอ.

https://student.mytcas.com/

กำหนดการจะประกาศ

ให้ทราบภายหลัง

โปรดติดตามรายละเอียดที่

www.ict.mahidol.ac.th

เอกสารเพิ่มเติมในแต่ละรอบ

  • Portfolio ไม่เกิน 10 หน้า (ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ)

  • คลิปวิดีโอแนะนำตนเอง ไม่เกิน 3 นาที (ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ)

  • เรียงความ 1 หน้า A4 หัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต” (ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ)

ยื่นคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  • TGAT, TPAT3

- TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 25 คะแนน
- TPAT3 ≥ 40คะแนน
หรือ

  • A-Level

- คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ≥ 20 คะแนน

- ภาษาอังกฤษ ≥ 30 คะแนน

  • เรียงความ 1 หน้า A4 หัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต” (ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ) *หมายเหตุ: ยื่นคะแนนเฉพาะผู้สมัคร วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า (กศน.)

ยื่นคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  • TGAT, TPAT3

- TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 25 คะแนน

- TPAT3 ≥ 40 คะแนน

หรือ

  • A-Level

- คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ≥ 20 คะแนน
- ภาษาอังกฤษ ≥ 30 คะแนน

กำหนดการจะประกาศ

ให้ทราบภายหลัง

โปรดติดตามรายละเอียดที่

www.ict.mahidol.ac.th

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science in Digital Science and Technology
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม: วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล
ชื่อย่อ:  วท.บ. (วิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม: Bachelor of Science in Digital Science and Technology
ชื่อย่อ: B.Sc. (Digital Science and Technology)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร  120 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาตรีทางวิชาชีพ 4 ปี (หลักสูตรไทย) จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย โดยเอกสารและตำราในวิชาของหลักสูตรเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
สถานที่จัดการเรียนการสอน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
จุดเด่นของหลักสูตร

สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นหลักสูตรภาษาไทยที่เน้นกระบวนการสร้างเสริมความรู้และทักษะด้านวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้เรียนให้สามารถเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเข้าด้วยกัน เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและโจทย์ในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลจากสถานการณ์จริงได้ อีกทั้งยังเน้นการฝึกปฏิบัติงาน ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ลงมือทำงานจริงกับบริษัทในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลชั้นนำด้าน IT ของประเทศไทย โดยเป็นหลักสูตรที่เน้นให้นักศึกษาได้เริ่มฝึกงานตั้งแต่ชั้นปี 2 และปี 3 ในภาคการศึกษาที่ 3 แบบ short term (2 เดือน) และสหกิจศึกษา ชั้นปี 4 เทอม 1 (4 เดือน) รวมทั้ง มีการทำ Senior Project ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ แก้ไขปัญหาจากโจทย์จริง เพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกการทำงาน อันจะส่งผลให้นักศึกษาสามารถทำงานได้จริงหลังสำเร็จการศึกษา

  • สาขาวิชาที่เน้นในการเรียนการสอน
    1) อินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things)
    2) วิทยาการข้อมูล (Data Science)
    3) ความมั่นคงปลอดภัย (Cyber Security)
    4) วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
  • บริษัทคู่ความร่วมมือ อาทิ
    1) กลุ่มบริษัทในเครือซีดีจี และกลุ่มบริษัทในเครือจีเอเบิล
    2) บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน)
    3) บริษัท แอดวานซ์ ไวเลส เน็ทเวอร์ค จำกัด
  • คณาจารย์ / ผู้เชี่ยวชาญที่จะมาสอน
    คณาจารย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทคู่ความร่วมมือ
  • อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
    1. นักวิชาการคอมพิวเตอร์
    2. โปรแกรมเมอร์
    3. นักพัฒนาระบบสารสนเทศ
    4. นักพัฒนาซอฟต์แวร์
    5. นักวิทยาการข้อมูล
    6. นักพัฒนาระบบด้านอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง
    7. นักพัฒนาระบบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ปรัชญา ความสําคัญของหลักสูตร

หลักสูตรจัดการการศึกษาแบบ Outcome-Based Education (OBE) ซึ่งมีผู้เรียนเป็นองค์ประกอบหลักและเป็นศูนย์กลาง (learning-centered education) เน้นกระบวนการสร้างเสริมความรู้และทักษะด้านวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้เรียนให้สามารถเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฏีและภาคปฎิบัติเข้าด้วยกัน (Constructivism) เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและโจทย์ในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลจากสถานการณ์จริงได้ โดยนําองค์ความรู้และทักษะไปประยุกต์กับการแก้ปัญหาได้จริงอย่างเหมาะสมและมีจรรยาบรรณพร้อมกับ สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคม พร้อมเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาและสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศและมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives) เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณลักษณะดังนี้

  1. มีความรู้และทักษะด้านวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นอย่างดี มีพื้นฐาน ความรู้และการปฏิบัติที่ประยุกต์กับการทำงานจริงได้ และเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง ด้านวิทยาการข้อมูล และด้านความมั่นคงปลอดภัย สำหรับประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลได้
  3. เป็นมืออาชีพ มีจรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเคารพต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลได้
  4. สามารถสื่อสารในหัวข้อของความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลกับกลุ่มคนหลากหลายได้
  5. รู้จักการทำงานเป็นทีมและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น
Learning Outcomes: LOs

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรที่นักศึกษาทุกคนต้องผ่านเกณฑ์ (Program Learning Outcomes) ดังนี้

  • PLO1: แก้ปัญหาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลโดยใช้ความรู้และทักษะทางวิชาชีพด้านวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมและมีจรรยาบรรณ
  • PLO2: แสดงการสื่อสารในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพ
  • PLO3: แสดงความสามารถในการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการค้นคว้าหาความรู้ใหม่และปรับปรุงทักษะวิชาชีพของตนเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  • PLO4: พัฒนาระบบดิจิทัลที่พร้อมใช้งานจริงในอุตสาหกรรมดิจิทัลได้อย่างมีความรับผิดชอบในวิชาชีพ
  • PLO5: แสดงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อส่วนตัว ต่อสังคม และจริยธรรมที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
  • PLO6: แสดงความสามารถในการทำงานเป็นทีมเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนด
ระบบการจัดการจัดการศึกษา

ระบบทวิภาค 1 ปีการศึกษามี 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ ภาคต้น หรือภาคการศึกษาที่ 1 ภาคปลาย หรือภาคการศึกษาที่ 2 และภาคฤดูร้อน (มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร)

วัน-เวลาในการจัดการเรียนการสอน

มีการจัดการเรียนการสอนในภาคปกติ และภาคฤดูร้อน ตามวันและเวลาราชการ ดังนี้

ภาคต้น :    เดือนสิงหาคม ถึง เดือนธันวาคม

ภาคปลาย : เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม

ภาคฤดูร้อน : เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม

*สำหรับรายวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติ หรือมีการเชิญวิทยากรจากภายนอกมหาวิทยาลัย อาจมีการจัดช่วงเวลาเสาร์-อาทิตย์ หรือนอกเวลาราชการ

โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด 12 หน่วยกิต
รายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
รายวิชาภาษาไทย 3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ 6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด 18 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 4 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาภาษา 4 หน่วยกิต
กลุ่มวิชากีฬาและสันทนาการ 2 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาจริยธรรม 2 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 84 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาแกน 48 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาบังคับภาคปฏิบัติ 18 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้าน 18 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
แผนการศึกษา
รายวิชาของกลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้าน

กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้าน ประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ กลุ่มอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง กลุ่มวิทยาการข้อมูล กลุ่มความมั่นคงปลอดภัย และกลุ่มวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โดยนักศึกษาเลือกศึกษารายวิชาในกลุ่มวิชาใดก็ได้รวมกันจำนวนไม่น้อยกว่า 6 รายวิชา จำนวน 18 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้

(1) กลุ่มวิชาอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า)
ทสวด 331 ระบบสมองกลฝังตัวและไซเบอร์กายภาพ 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 331 Embedded and Cyber-Physical Systems
ทสวด 332 เทคโนโลยีการสื่อสารของอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 332 Internet of Things Communication Technology
ทสวด 333 การพัฒนาแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 333 IoT Platform Development
ทสวด 334 การวิเคราะห์และการแสดงผลภาพข้อมูลอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 334 Internet of Things Data Analytics and Visualization
ทสวด 335 ความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 335 Internet of Things Security and Privacy
ทสวด 336 อินเตอร์เน็ตสรรพสิ่งเชิงปฏิบัติ 3 (0 – 6 – 3)
ITDS 336 Practical Internet of Things
(2) กลุ่มวิชาวิทยาการข้อมูล
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า)
ทสวด 341 วิทยาการข้อมูลพื้นฐาน 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 341 Fundamentals of Data Science
ทสวด 342 คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับวิทยาการข้อมูล 3 (3 – 0 – 6)
ITDS 342 Advanced Mathematics and Statistics for Data Science
ทสวด 343 วิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 343 Business Data Analytics
ทสวด 344 วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 344 Data Engineering and Infrastructure
ทสวด 345 ระบบธุรกิจอัจฉริยะ 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 345 Business Intelligence
ทสวด 346 วิทยาการข้อมูลเชิงปฏิบัติ 3 (0 – 6 – 3)
ITDS 346 Practical Data Science
(3) กลุ่มวิชาความมั่นคงปลอดภัย
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า)
ทสวด 351 ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 351 Advanced Cybersecurity
ทสวด 352 การพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างปลอดภัย 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 352 Secure Software Development
ทสวด 353 นิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลพื้นฐาน 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 353 Fundamentals of Digital Forensics
ทสวด 354 การจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์และการปฏิบัติการ 3 (3 – 0 – 6)
ITDS 354 Cyber risk management and operation
ทสวด 355 การตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 355 IT Auditing
ทสวด 356 ความมั่นคงปลอดภัยเชิงปฏิบัติ 3 (0 – 6 – 3)
ITDS 356 Practical Cybersecurity
(4) กลุ่มสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า)
ทสวด 361 การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 361 Software Design and Development
ทสวด 362 การทดสอบและการประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์ 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 362 Software Quality Assurance and Testing
ทสวด 363 ข้อกำหนดและการวิเคราะห์ความต้องการของซอฟต์แวร์ 3 (2 – 2 – 5)
ITDS 363 Software Requirement Analysis and Specification
ทสวด 364 การจัดการโครงงานด้านซอฟต์แวร์ 3 (3 – 0 – 6)
ITDS 364 Software Project Management
ทสวด 365 การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบคล่องตัว 3 (3 – 0 – 6)
ITDS 365 Agile Software Development
ทสวด 366 วิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงปฏิบัติ 3 (0 – 6 – 3)
ITDS 366 Practical Software Engineering
ดาวน์โหลด
ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ภาคการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษา/เทอม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร

ภาคการศึกษาปกติ

50,000 บาท

475,000 บาท

ภาคฤดูร้อน

25,000 บาท

ระยะเวลา / เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา 4 ปีการศึกษา

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

  • นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้

1) เรียนครบหน่วยกิตและรายวิชา และผ่านเกณฑ์ตามที่คณะและมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในหลักสูตร

2) ผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษที่กำหนดโดยมหาวิทยาลัยมหิดล

3) มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00

4) ใช้เวลาการศึกษาไม่เกิน 2 เท่าของระยะเวลาการศึกษาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

5) ไม่มีพันธะด้านหนี้สินใดๆ กับมหาวิทยาลัย

  • นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาเกียรตินิยมของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2552 และฉบับเพิ่มเติมที่ 1-10 ของมหาวิทยาลัย รวมถึงในกรณีที่มีการเรียนในภาคฤดูร้อน และ/หรือการโอนหน่วยกิตของรายวิชาในทุกภาคการศึกษา ของนักศึกษาที่ได้ศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่งคณะฯ หรือมหาวิทยาลัยฯ ได้ลงนามข้อตกลงร่วมมือกันไว้แล้ว
  • นักศึกษาที่มีสิทธิ์แสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้

1) เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนครบและได้เกรดในเกณฑ์ผ่านครบทุกวิชาตามหลักสูตร

2) ผ่านเกณฑ์ของรายวิชาที่บังคับและกิจกรรมภาคบังคับ ตามเกณฑ์ที่คณะและมหาวิทยาลัยกำหนด

3) ผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

4) ให้นักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อ 1) และ 2) ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษาต่อส่วนทะเบียนและประเมินผล ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด มิฉะนั้นอาจไม่ได้รับการพิจารณาเสนอชื่อต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่ออนุมัติให้ปริญญาในภาคการศึกษานั้น

รอบ 1 MU - Portfolio (TCAS 1)

รอบ 1/1: 1 ตุลาคม 2567 เวลา 9.30 น. – 16 ตุลาคม 2567 เวลา 12.00 น.

สมัครได้ที่https://tcas.mahidol.ac.th/

คุณสมบัติทางการศึกษา

  1. กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
    • มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)  หรือเทียบเท่า แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์–คอมพิวเตอร์, คณิต–คอมพิวเตอร์ หรือ
    • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่มีการเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
  2. มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 4 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50
  3. มีคะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แต่ละสาระการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่า 2.50 (เฉพาะผู้สมัครวุฒิ ม.6)

หมายเหตุสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาไทย

เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร

  1. Portfolio ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 10 หน้า (.pdf จำนวน 1 ไฟล์)
  2. เรียงความภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (.pdf) ในหัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต”
  3. Video Presentation ประวัติและผลงาน เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 3 นาที (.mp4)
  4. ใบแสดงผลการศึกษา (ปพ.1) ฉบับสมบูรณ์ หรือ 4 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 (.pdf)
  5. รูปถ่าย (.jpg)
  6. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
  7. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)

** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **

รอบ 2 Quota (TCAS 2)

รับสมัคร: 20 มีนาคม 2568 เวลา 9.30 น. – 8 เมษายน 2568 เวลา 23.59 น.

สมัครได้ที่https://tcas.mahidol.ac.th/

คุณสมบัติทางการศึกษา

  1. กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
    • มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)  หรือเทียบเท่า ทุกแผนการศึกษา หรือ กศน. หรือ
    • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่มีการเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
  2. ตรงตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    • เป็นนักเรียนในกลุ่มโรงเรียน MoU ได้แก่
      1. โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
      2. โรงเรียนอัสสัมชัญ
      3. โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
      4. โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
      5. โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
      6. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
      7. โรงเรียนนาคประสิทธิ์ มูลนิธิวัดบางช้างเหนือ
      8. โรงเรียนสตรีวิทยา2 ในพระราชูปถัมภ์
      9. โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
      10. โรงเรียนกรพิทักษ์ศึกษา
      11. โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
      12. โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
      13. โรงเรียนสุคนธีรวิทย์
      14. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

      หรือ

    • เป็นนักเรียนที่ผ่านการเข้าค่าย สอวน. / ค่ายโอลิมปิกวิชาการ หรือ
    • ได้รับรางวัลการแข่งขันด้าน IT ในระดับจังหวัดขึ้นไป
  3. มีคะแนนสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
  • TGAT, TPAT3
    • TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 25 คะแนน
    • TPAT3 ≥ 40 คะแนน

หรือ

  • A-Level
    • คณิตศาสตร์ 1 ≥ 20 คะแนน
    • ภาษาอังกฤษ ≥ 30 คะแนน
  1. มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) อย่างน้อย 5 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 3.00

เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร

  1. เรียงความภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (.pdf) ในหัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต”
  2. เอกสารแสดงการเป็นนักเรียนในโรงเรียนกลุ่ม MoU หรือใบประกาศนียบัตรผ่านเข้าค่าย สอวน. / ค่ายโอลิมปิกวิชาการ หรือ ใบประกาศนียบัตรผลการแข่งขันด้าน IT
  3. คะแนนสอบ TGAT, TPAT3 หรือ A-Level คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ
  4. ใบแสดงผลการศึกษา (ปพ.1) ฉบับสมบูรณ์ หรืออย่างน้อย 5 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 (.pdf)
  5. รูปถ่าย(.jpg)
  6. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง(.pdf)
  7. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง(.pdf)

** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **

รอบ 3 Admission (TCAS 3)

รับสมัคร: 6 – 12 พฤษภาคม 2568

สมัครได้ที่https://www.mytcas.com/

คุณสมบัติทางการศึกษา

คุณสมบัติทางการศึกษา

  1. กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
    • มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)  หรือเทียบเท่า ทุกแผนการศึกษา หรือ กศน. หรือ
    • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่มีการเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
  2. มีผลสอบ ดังนี้
  • TGAT, TPAT3
    • TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
    • TPAT3 ≥ 40 คะแนน
  • A-Level
    • คณิตศาสตร์ 1 ≥ 20 คะแนน
    • ภาษาอังกฤษ ≥ 30 คะแนน
  1. มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 6 ภาคการศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50

เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร

  • คะแนน TGAT, TPAT3 (ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์) และ A-Level (คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ)

เกณฑ์การสมัคร / การคัดเลือก

*จะประกาศให้ทราบภายหลัง*

** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **

รอบ 4 Direct Admission (TCAS 4)

*รายละเอียดจะประกาศให้ทราบภายหลัง*

กำหนดการ รอบ 1 MU - Portfolio (TCAS 1)
ลำดับ กิจกรรม รอบที่ 1/1 
1 รับสมัคร 1 ต.ค. 2567 เวลา 9.30 น. – 16 ต.ค. 2567 เวลา 12.00 น.
2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ 31 ต.ค. 2567 เวลา 9.30 น.
3 สอบสัมภาษณ์ 3 พ.ย. 2567
4 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (ตัวจริงและตัวสำรอง) 11 พ.ย. 2567 เวลา 9.30 น.
5 ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มตัวจริง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS 11 พ.ย. 2567 เวลา 9.30 น. – 12 พ.ย. 2567 เวลา 12.00 น.
6 ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มสำรอง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS 14 พ.ย. 2567 เวลา 9.30 – 15.00 น.
7 ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในระบบ MU-TCAS 22 พ.ย. 2567 เวลา 9.30 น.
8 ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) 5 – 6 ก.พ. 2568
9 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 19 ก.พ. 2568 เวลา 9.30 น.
10 Preparatory Program ก.ค. 2568
11 เปิดภาคการศึกษา TBA
กำหนดการ รอบ 2 Quota (TCAS 2)
ลำดับ กิจกรรม วันที่
1 รับสมัคร 20 มี.ค. 2568 เวลา 9.30 น. – 8 เม.ย. 2568 เวลา 23.59 น.
2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ 20 เม.ย. 2568 เวลา 9.30 น.
3 สอบสัมภาษณ์ 22 เม.ย. 2568
4 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (ตัวจริงและตัวสำรอง) 25 เม.ย. 2568
5 ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มตัวจริง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS 25 เม.ย. 2568 เวลา 9.30 น. – 26 เม.ย. 2568 เวลา 12.00 น.
6 ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มสำรอง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS 27 เม.ย. 2568 เวลา 9.30 – 12.00 น.
7 ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS 2 พ.ค. 2568 เวลา 9.30 น.
8 ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) 2 -3 พ.ค. 2568
9 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 14 พ.ค. 68 เวลา 9.30 น.
10 ICT Preparatory Program ก.ค. 2568
11 เปิดภาคการศึกษา TBA
กำหนดการ รอบ 3 Admission (TCAS 3)
ลำดับ กิจกรรม วันที่
1 รับสมัคร พ.ค. 2568
2 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก TBA
3 ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) TBA
4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา TBA
5 ICT Preparatory Program TBA
6 เปิดภาคการศึกษา TBA
กำหนดการ รอบ 4 Direct Admission (TCAS 4)

–จะประกาศให้ทราบอีกครั้ง–