แนะนำหลักสูตร
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การดำเนินธุรกิจ และแม้กระทั่งการดูแลตัวเอง ทุกวันนี้เราสามารถเพลิดเพลินไปกับ นวัตกรรมบนโทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ และการใช้โปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในหลายแขนง
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล (ICT Mahidol) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เทคนิคคอมพิวเตอร์ขั้นสูง ซึ่งเป็นพื้นฐานของสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศและเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิทยาศาสตร์ข้อมูล การบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความมั่นคงทางไซเบอร์ และกราฟิกคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ การจัดการฐานข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ และวิทยาศาสตร์ข้อมูล โดยเป็นหลักสูตร 2 ปี ผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรฯ จะต้องมีความรู้และทักษะด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องตามที่คณะฯ กำหนด
ปัจจุบันวิทยาการคอมพิวเตอร์และทักษะด้านไอทีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับวัยทำงานในการขับเคลื่อนประเทศ ประเทศไทยได้ริเริ่มนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งต้องอาศัยความรู้และเครื่องจักรอัตโนมัติ ด้วยความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ สามารถช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายนั้นได้ หากคุณสนใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของความคิดริเริ่มนี้สำหรับอุตสาหกรรมและธุรกิจที่ทันสมัย หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับคุณ
ปรัชญาการศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะในการสร้างสรรค์ และการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และธุรกิจที่มีความซับซ้อน รวมถึงเน้นพัฒนาความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีของนักศึกษา โดยผ่านการทำวิจัยในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และผ่านการนำความรู้ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ไปผสมผสานกับด้านอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติสืบต่อไป
วิสัยทัศน์
เป็นสถาบันชั้นนำที่สามารถตอบสนองความต้องการของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทางด้านการศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม ทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลระดับสากล
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาและปรับใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ไขปัญหาทางเทคนิคและทางธุรกิจที่ซับซ้อน พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีผ่านการวิจัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ และบูรณาการความรู้ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์กับสาขาอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาประเทศ
ผู้สำเร็จการศึกษาจากแผนการศึกษาทางวิชาการ จะมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ดังนี้
2.1 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะด้านหลักการและทฤษฎีวิทยาการคอมพิวเตอร์ในการทำวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง
2.2 ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการทำวิจัย งานวิชาการ และการประกอบอาชีพด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
2.3 มีลักษณะสำคัญของนักวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เช่น ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถด้านการวิจัย การคิดเชิงคำนวณ การคิดเชิงวิพากษ์ และทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดผลการวิจัย
2.4 มีลักษณะเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ และมีความรับผิดชอบในการทำงาน รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้สำเร็จการศึกษาจากแผนการศึกษาทางวิชาชีพจะมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับแผนวิชาการ โดยมุ่งเน้นด้านการปฏิบัติวิชาชีพ ดังนี้
2.1 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะด้านหลักการและทฤษฎีวิทยาการคอมพิวเตอร์ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสถานการณ์การทำงานระดับมืออาชีพ
2.2 ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ งานวิชาการ และงานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
2.3 มีลักษณะสำคัญของผู้ประกอบวิชาชีพด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เช่น ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค ความสามารถในการแก้ปัญหา การคิดเชิงคำนวณ และทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์
2.4 มีลักษณะเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ และมีความรับผิดชอบในการทำงาน รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ชื่อหลักสูตร | หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ |
ที่อยู่ | คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
ติดต่อ | Phone: +66 02 441-0909 / Fax. +66 02 441-0808 E-mail: ict@mahidol.ac.th Website: https://www.ict.mahidol.ac.th |
ปีที่ก่อตั้ง | 2537 |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) |
ภาษาที่ใช้ | ภาษาอังกฤษ |
การรับเข้าศึกษา | รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดี |
ข้อมูลหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร | หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ – ภาคปกติและภาคพิเศษ) |
ที่อยู่ | คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
ติดต่อ | โทรศัพท์: +66 02 441-0909 / แฟ็กซ์: +66 02 441-0808 |
E-mail: ict@mahidol.ac.th | |
Website: http://www.ict.mahidol.ac.th | |
ปีที่ก่อตั้ง | 2537 |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) วท.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) |
ภาษาที่ใช้ | ภาษาอังกฤษ |
การรับเข้าศึกษา | รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดี |
สถานที่จัดการเรียนการสอน
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล
999 ถ.พุทธมณฑล สาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
ระบบการจัดการศึกษา
ระบบจัดการเรียนการสอน
ระบบหน่วยกิต 2 ภาคการศึกษา
1 ปีการศึกษา ประกอบด้วย 2 ภาคการศึกษาปกติ ภาคละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
ภาคฤดูร้อน
ไม่มีภาคฤดูร้อน
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคต้น: สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคปลาย: มกราคม – พฤษภาคม
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ปีการศึกษา | ค่าธรรมเนียมการศึกษา | ค่าใช้จ่าย (ตลอดหลักสูตร) | |||
นักศึกษาต่างชาติ | นักศึกษาไทย | ||||
บาท | ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท] | บาท | ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท] | ||
2567 – 2568 | แผน 1.2 วิชาการ (ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์) | 320,000 บาท (80,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
9,700 ดอลล่าร์สหรัฐฯ (2,425 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/ภาคการศึกษา) |
280,000 บาท (70,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
8,500 ดอลล่าร์สหรัฐฯ (2,125 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/ภาคการศึกษา) |
แผน 2 วิชาชีพ (ศึกษารายวิชา และทำการค้นคว้าอิสระ) | 320,000 บาท (80,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
9,700 ดอลล่าร์สหรัฐฯ (2,425 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/ภาคการศึกษา) |
280,000 บาท (70,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
8,500 ดอลล่าร์สหรัฐฯ (2,125 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/ภาคการศึกษา) |
*อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
ประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะ ICT พ.ศ.2567
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา: 2 ปี
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร: ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
ข้อกำหนดการสำเร็จการศึกษา:
แผน 1.2 วิชาการ (ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์)
1) นักศึกษาต้องเรียนรายวิชาให้ครบตามหลักสูตรที่กำหนด โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมขั้นต่ำ 3.00
2) เสนอวิทยานิพนธ์ต่อคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้งและต่อสาธารณชน และผ่านการสอบวิทยานิพนธ์เป็นขั้นตอนสุดท้าย
3) วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์หรือบางส่วนต้องได้รับการตีพิมพ์เป็นบทความวิจัย หรือได้รับการยอมรับว่าเป็นนวัตกรรม หรือได้รับการยอมรับว่าเป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ หรือได้รับการยอมรับว่าเป็นบทความวิชาการที่สามารถค้นหาได้
4) ข้อกำหนดอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
แผน 2 วิชาชีพ (ศึกษารายวิชา และทำการค้นคว้าอิสระ)
1) นักศึกษาต้องเรียนรายวิชาให้ครบตามหลักสูตร โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมขั้นต่ำ 3.00
2) นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
3) เสนอการค้นคว้าอิสระต่อคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้งและเสนอต่อสาธารณชน และผ่านการสอบการค้นคว้าอิสระแบบปากเปล่าเป็นขั้นตอนสุดท้าย
4) ข้อกำหนดอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา | แผน 1.2 วิชาการ (ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์) |
แผน 2 วิชาชีพ (ศึกษารายวิชา และทำการค้นคว้าอิสระ) |
1. Prerequisite Courses * | ไม่นับหน่วยกิต | ไม่นับหน่วยกิต |
2. หมวดวิชาบังคับ | 9 หน่วยกิต | 18 หน่วยกิต |
3. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 15 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
4. วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | – |
5. การค้นคว้าอิสระ | – | 6 หน่วยกิต |
รวม ไม่น้อยกว่า | 36 หน่วยกิต | 36 หน่วยกิต |
* นักศึกษาที่มีข้อจำกัดด้านความรู้พื้นฐานวิทยาการคอมพิวเตอร์ สามารถเลือกเรียนรายวิชาพื้นฐานบางวิชาที่อาจารย์ที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรแนะนำได้ โดยวิชาในรายวิชาพื้นฐานจะไม่นับรวมในหน่วยกิตรวม นักศึกษาจะได้รับการประเมิน AU (Audit)
แผนการศึกษา
แผน 1.2 วิชาการ (ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์) |
||
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 | ||
ทสคพ 509 | วิทยาระเบียบวิธีวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ | 2 (2-0-4) |
ทสคพ 503 | การออกแบบและวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี | 3 (3-0-6) |
ทสคพXXX | วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 6 หน่วยกิต |
กิจกรรมการวิจัย: การพัฒนาหัวข้อการวิจัยและการทบทวนวรรณกรรม |
||
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 |
||
ทสคพ 603 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ | 1 (1-0-2) |
ทสคพ 525 | การพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน | 3 (3-0-6) |
ทสคพXXX | วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 หน่วยกิต |
ทสคพ 698 | วิทยานิพนธ์ | 3 (0-9-0) |
กิจกรรมการวิจัย: การเตรียมการรวบรวมข้อมูล การดำเนินการทดลองเบื้องต้น การเขียนข้อเสนอ และการเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ |
||
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 |
||
ทสคพXXX | วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 6 หน่วยกิต |
ทสคพ 698 | วิทยานิพนธ์ | 3 (0-9-0) |
กิจกรรมการวิจัย: การทดลองและการเขียนต้นฉบับ คลินิกการเขียน |
||
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 |
||
ทสคพ 698 | วิทยานิพนธ์ | 6 (0-18-0) |
กิจกรรมการวิจัย: การเขียนวิทยานิพนธ์ การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ การส่งผลงานตีพิมพ์ คลินิกการเขียน |
แผน 2 วิชาชีพ (ศึกษารายวิชา และทำการค้นคว้าอิสระ) |
||
ปีการศึกษาที่ 0 * |
||
ทคสร 551 | การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์ หรือ หลักสูตรเร่งรัด (Intensive Program) หรือ หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยหรือได้รับการอนุมัติจากประธานหลักสูตร |
3 (3-0-6) |
การสอบวัดระดับ (PLACEMENT TEST) | ||
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 |
||
ทสคพ 509 | วิทยาระเบียบวิธีวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ | 2 (2-0-4) |
ทสคพ 503 | การออกแบบและวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี | 3 (3-0-6) |
ทสคพ 523 | ส่วนสำคัญของวิทยาการข้อมูล | 3 (3-0-6) |
ทสคพ 524 | ส่วนสำคัญของเครือข่ายและระบบคลาวด์ | 3 (3-0-6) |
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 | ||
ทสคพ 603 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ | 1 (1-0-2) |
ทสคพ 525 | การพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน | 3 (3-0-6) |
ทสคพ 514 | การบริหารจัดการโครงการซอฟต์แวร์ | 3 (3-0-6) |
ทสคพXXX | วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 หน่วยกิต |
กิจกรรมการค้นคว้าอิสระ: การพัฒนาหัวข้อการศึกษาอิสระ การตรวจสอบโซลูชันที่มีอยู่ หรือการเตรียมการสำหรับการรวบรวมข้อมูล |
||
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 | ||
ทสคพXXX | วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 9 หน่วยกิต |
ทสคพ 691 | การค้นคว้าอิสระ | 3 (0-9-0) |
กิจกรรมการค้นคว้าอิสระ: การออกแบบแนวทางแก้ไข การเขียนข้อเสนอ และการเสนอการค้นคว้าอิสระ คลินิกการเขียน |
||
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 | ||
ทสคพ 691 | การค้นคว้าอิสระ | 3 (0-9-0) |
การสอบประมวลความรู้ | ||
กิจกรรมการค้นคว้าอิสระ: การดำเนินการและประเมินแนวทางแก้ไข การเขียนรายงาน และการสอบป้องกันการค้นคว้าอิสระ คลินิกการเขียน |
* อาจเปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 2 หรือภาคการศึกษาฤดูร้อนก่อนปีการศึกษาที่ 1
หมวดวิชาเลือก
นักศึกษา แผน 1.2 วิชาการ (ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์) สามารถเลือกเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต ส่วนนักศึกษา แผน 2 วิชาชีพ (ศึกษารายวิชา และทำการค้นคว้าอิสระ) สามารถเลือกเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
1) ทฤษฎีวิทยาการคอมพิวเตอร์ | ||
ทสคพ 504 | สถาปัตยกรรมและการจัดระบบคอมพิวเตอร์ | |
ทสคพ 507 | พื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ | |
ทสคพ 696 | หัวข้อขั้นสูงด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ | |
2) วิศวกรรมซอฟต์แวร์ | ||
ทสคพ 521 | การจัดการผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์แบบอไจล์ | |
ทสคพ 613 | เครื่องมือและสภาพแวดล้อมสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ | |
ทสคพ 615 | วิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงประจักษ์ | |
ทสคพ 643 | วิศวกรรมซอฟต์แวร์ | |
ทสคพ 644 | การประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ | |
3) เครือข่ายและความปลอดภัย | ||
ทสคพ 524 | ส่วนสำคัญของเครือข่ายและระบบคลาวด์ | |
ทสคพ 554 | การจัดการความมั่นคงของสารสนเทศ | |
4) เทคโนโลยีฐานข้อมูล | ||
ทสคพ 523 | ส่วนสำคัญของวิทยาการข้อมูล | |
ทสคพ 544 | คลังข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล | |
ทสคพ 545 | การกำกับดูแลข้อมูลและการบริหารจัดการข้อมูลองค์กร | |
ทสคพ 668 | ฐานข้อมูลระบบคลาวด์และเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ | |
ทสคพ 682 | ระบบฐานข้อมูลขั้นสูง | |
5) ปัญญาประดิษฐ์ | ||
ทสคพ 517 | การเรียนรู้เชิงเครื่องจักร | |
ทสคพ 661 | ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง | |
ทสคพ 665 | การประมวลผลภาษาธรรมชาติ | |
ทสคพ 667 | คอมพิวเตอร์วิทัศน์ขั้นสูง | |
6) วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ |
||
ทสคพ 519 | ปัญญาประดิษฐ์ทางด้านสุขภาพ | |
ทสคพ 525 | การพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน | |
ทสคพ 546 | เทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านการเงิน | |
ทสคพ 547 | การจัดการระบสารสนเทศด้านสาธารณสุขและการแพทย์ | |
ทสคพ 548 | การคำนวณทางวิทยาศาสตร์ | |
ทสคพ 549 | การเป็นผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ | |
ทสคพ 658 | ปฏิสัมพันธ์ของคอมพิวเตอร์และมนุษย์ | |
หัวข้อวิจัย
1) ทฤษฎีวิทยาการคอมพิวเตอร์
2) การพัฒนาซอฟต์แวร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์
3) เครือข่ายและความปลอดภัย
4) การจัดการข้อมูล การกำกับดูแลข้อมูล วิทยาศาสตร์ข้อมูลและวิศวกรรมข้อมูล
5) ปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้เชิงเครื่องจักรและคอมพิวเตอร์วิทัศน์
6) ระบบฝังตัวและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล
แนวปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน | การบรรยายแบบมีปฏิสัมพันธ์ |
การอภิปราย | |
การฝึกสอน | |
กรณีศึกษาโดยใช้ประสบการณ์เป็นฐาน | |
การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน | |
แนวปฏิบัติ ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา | การประเมินผลงาน |
แบบทดสอบ | |
การสอบ | |
การสังเกตการณ์ | |
การประเมินการรายงาน | |
การประเมินการนำเสนอ | |
การประเมินการมีส่วนร่วม | |
การประเมินโครงการ | |
การประเมินวิจารณ์ | |
การทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ | |
การสอบวิทยานิพนธ์ |
ผลลัพธ์การเรียนรู้
สำหรับนักศึกษา แผน 1.2 วิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) เมื่อสิ้นสุดการศึกษาจากหลักสูตร นักศึกษาจะสามารถ
PLO1: Apply specialized knowledge of computer science principles and theories to solve computer science-related problems.
PLO2: Conduct research and produce creative computer science solutions with international and publishable quality.
PLO3: Follow the value of ethics and code of conduct in research, academic, and computer science careers.
PLO4: Possess creative, analytical and critical thinking with ability to work independently, responsibly and collaboratively in a team.
PLO5: Communicate computer science research findings to different levels of audiences effectively.
สำหรับนักศึกษา แผน 2 วิชาชีพ (ศึกษารายวิชาและทำการค้นคว้าอิสระ) เมื่อสิ้นสุดการศึกษาจากหลักสูตร
PLO1: Apply knowledge of computer science principles and theories to solve real-world problems.
PLO2: Design and implement methods and techniques in computer science domains to solve real-world problems.
PLO3: Follow the value of ethics and code of conduct in research, academic, and computer science careers.
PLO4: Possess creative, analytical and critical thinking with ability to work independently, responsibly and collaboratively in a team.
PLO5: Communicate practical computer science knowledge and solutions to different levels of audiences effectively.
อาชีพที่สามารถประกอบได้
1) นักวิชาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
2) นักพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบ นักวิเคราะห์และผู้ดูแลระบบ
3) ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
4) นักวิเคราะห์ข้อมูลและนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
ดาวน์โหลดรายละเอียดและคำอธิบายหลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
ผู้สมัครหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
แผน 1.2 วิชาการ (ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์) – แบบชั้นเรียน
1) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สาขาคณิตศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2) มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 2.50
3) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตาม เกณฑ์ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ/หรือ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
4) ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
5) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ 2–4 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรฯ และ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
แผน 1.2 วิชาการ (ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์) – แบบออนไลน์ / ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต
1) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สาขาคณิตศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2) มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 2.50
3) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตาม เกณฑ์ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ/หรือ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
4) ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
5) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ 2–4 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรฯ และ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
6) มีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ตรงตามข้อกำหนดขั้นต่ำในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ต้องมีกล้อง ลำโพง และไมโครโฟนในคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโต้ตอบ (Interactive Learning Experience)
แผน 2 วิชาชีพ (ศึกษารายวิชา และทำการค้นคว้าอิสระ) – แบบชั้นเรียน
1) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และมีประสบการณ์ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ หรือด้านการพัฒนา IT ไม่ต่ำกว่า 1 ปี วิชาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ 6 หน่วยกิตอาจเรียนนอกหลักสูตรปริญญาตรีได้
2) มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 2.50
3) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตาม เกณฑ์ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ/หรือ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
4) ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
5) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ 2–4 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรฯ และ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
แผน 2 วิชาชีพ (ศึกษารายวิชา และทำการค้นคว้าอิสระ) – แบบออนไลน์ / ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต
1) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และมีประสบการณ์ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ หรือด้านการพัฒนา IT ไม่ต่ำกว่า 1 ปี วิชาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ 6 หน่วยกิตอาจเรียนนอกหลักสูตรปริญญาตรีได้
2) มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 2.50
3) Applicants should have an English Proficiency Examination score as required by the Faculty of Information and Communication Technology and/or the Faculty of Graduate Studies.
4) ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
5) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ 2–4 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรฯ และ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
6) มีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ตรงตามข้อกำหนดขั้นต่ำในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ต้องมีกล้อง ลำโพง และไมโครโฟนในคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโต้ตอบ (Interactive Learning Experience)
ขั้นตอนการสมัคร
- สมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย: https://graduate.mahidol.ac.th/
- สมัครใช้งานและลงชื่อเข้าใช้ระบบการสมัครออนไลน์
- กรอกข้อมูลใบสมัคร และส่งเอกสารประกอบการสมัครผ่านระบบการสมัครออนไลน์ให้ครบถ้วน
กำหนดการรับสมัครปีการศึกษา 2568
กำหนดการ | รอบที่ 2 |
เปิดรับสมัคร | 6 – 31 มกราคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 14 กุมภาพันธ์ 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 21 กุมภาพันธ์ 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 13 มีนาคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 13 – 26 มีนาคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2567) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | รอบที่ 3 |
เปิดรับสมัคร | 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 11 เมษายน 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 25 เมษายน 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 9 พฤษภาคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 9 – 22 พฤษภาคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2567) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | รอบที่ 4 |
เปิดรับสมัคร | 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 12 มิถุนายน 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 20 มิถุนายน 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 3 กรกฎาคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 3 – 16 กรกฎาคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2567) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | ภาคปลาย |
เปิดรับสมัคร | 1 กรกฎาคม – 31 กันยายน 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 15 ตุลาคม 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 24 ตุลาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 14 พฤศจิกายน 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 14 – 27 พฤศจิกายน 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 2 (ปีการศึกษา 2567) | มกราคม 2569 |
การติดต่อ
ผศ. ดร. บุญสิทธิ์ ยิ้มวาสนา
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
Tel: 66-2-441-0909
email: boonsit.yim@mahidol.ac.th
กำหนดการรับสมัครปีการศึกษา 2568
กำหนดการ | รอบที่ 2 |
เปิดรับสมัคร | 6 – 31 มกราคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 14 กุมภาพันธ์ 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 21 กุมภาพันธ์ 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 13 มีนาคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 13 – 26 มีนาคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2567) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | รอบที่ 3 |
เปิดรับสมัคร | 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 11 เมษายน 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 25 เมษายน 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 9 พฤษภาคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 9 – 22 พฤษภาคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2567) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | รอบที่ 4 |
เปิดรับสมัคร | 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 12 มิถุนายน 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 20 มิถุนายน 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 3 กรกฎาคม 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 3 – 16 กรกฎาคม 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2567) | สิงหาคม 2568 |
กำหนดการ | ภาคปลาย |
เปิดรับสมัคร | 1 กรกฎาคม – 31 กันยายน 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 15 ตุลาคม 2568 |
สอบสัมภาษณ์ | 24 ตุลาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 14 พฤศจิกายน 2568 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 14 – 27 พฤศจิกายน 2568 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 2 (ปีการศึกษา 2567) | มกราคม 2569 |
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ปีการศึกษา | ค่าธรรมเนียมการศึกษา | ค่าใช้จ่าย (ตลอดหลักสูตร) | |||
นักศึกษาต่างชาติ | นักศึกษาไทย | ||||
บาท | ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท] | บาท | ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท] | ||
2567 – 2568 | แผน 1.2 วิชาการ (ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์) | 320,000 บาท (80,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
9,700 ดอลล่าร์สหรัฐฯ (2,425 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/ภาคการศึกษา) |
280,000 บาท (70,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
8,500 ดอลล่าร์สหรัฐฯ (2,125 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/ภาคการศึกษา) |
แผน 2 วิชาชีพ (ศึกษารายวิชา และทำการค้นคว้าอิสระ) | 320,000 บาท (80,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
9,700 ดอลล่าร์สหรัฐฯ (2,425 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/ภาคการศึกษา) |
280,000 บาท (70,000 บาท/ภาคการศึกษา) |
8,500 ดอลล่าร์สหรัฐฯ (2,125 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/ภาคการศึกษา) |
*อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
ประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะ ICT พ.ศ.2567
ทุนการศึกษา
- 1. ทุนการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจะพิจารณาผู้มีสิทธิ์ได้รับทุนเป็นรายกรณี โดยทุนการศึกษาดังกล่าวจะมอบให้แก่นักศึกษาที่มีผลการเรียนดี มีประสบการณ์ในการทำงาน มีประสบการณ์วิจัย มีทักษะด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ และมีสุขภาพดี ผู้รับทุนการศึกษาระดับมหาบัณฑิต จะต้องทำงานเป็นผู้ช่วยสอน/ผู้ช่วยห้องปฏิบัติการ หรือโปรแกรมเมอร์/วิศวกรระบบ ในระยะเวลาหนึ่ง โดยผู้รับทุนจะต้องสามารถทำงานในช่วงเวลาราชการทั้งระหว่างการศึกษาและหลังจบการศึกษาที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ ตามประกาศเรื่องค่าเล่าเรียน ทุนการศึกษาครอบคลุมรายการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายรายการ ดังต่อไปนี้ ค่าเทอม ค่าอุปกรณ์ เงินค่าวิจัย และเบี้ยเลี้ยงรายเดือน
- ทุนนักศึกษาแลกเปลี่ยน สนับสนุนโดยกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดลให้การสนับสนุนนักศึกษาที่ต้องการไปศึกษาต่อต่างประเทศในระยะเวลาหนึ่ง สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เช่นวิธีการสมัคร จำนวนเงินสนับสนุน และคุณสมบัติ ได้ที่เว็บไซต์กองวิเทศสัมพันธ์
- ทุนการศึกษาบางส่วน สำหรับนักศึกษาต่างชาติ สนับสนุนโดยบัณฑิตศึกษา สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย