Get A Grip On Tech, Get A Brighter Future @ICT Mahidol
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอนทุกวิชา ทำให้บัณฑิตมีความสามารถในการสื่อสารทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการทำงานและสามารถแข่งขันในระดับสากลได้ โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) มีสาขาวิชาต่างๆ รวม 8 สาขาวิชา ให้นักศึกษาเลือกเรียน แบ่งออกเป็น Core Tracks 4 สาขาวิชา และ Applied Tracks 4 สาขาวิชา
กำหนดการรับสมัครเข้าศึกษาต่อ
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) หลักสูตรนานาชาติ คณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2567
รอบ | (1) ICT – Portfolio | (2) MU –Portfolio (TCAS1) | (3) ICT – รับตรง จัดสอบ | (4) MU –โควตา (TCAS2) | (5) Admissions (TCAS3) | (6) Direct Admission (TCAS4) | (7) International |
ช่วงเวลารับสมัคร | 1 - 19 ก.ย. 66 | รอบ 1/1: 2 - 16 ต.ค. 66 | ก.พ. 67 | 20 มี.ค. - 8 เม.ย. 67 | 6 - 12 พ.ค. 67 | มิ.ย. 67 | 1 ก.ย. 66 - 31 พ.ค. 67 |
วุฒิการศึกษา |
|
|
|
|
|
|
|
GPA | ≥ 2.50 (4 เทอม) | ≥ 2.50 (4 เทอม) | GPA ≥ 2.50 (5 เทอม) |
| GPA≥ 2.50 (6 เทอม) | GPA≥ 2.50 (6 เทอม) | GPA ≥ 2.50 หรือเทียบเท่า |
ช่องทางการสมัคร | Website คณะ ICT www.ict.mahidol.ac.th | Website คณะ ICT www.ict.mahidol.ac.th | Website คณะ ICT www.ict.mahidol.ac.th | Website ม.มหิดล https://tcas.mahidol.ac.th/ | Website ทปอ. student.mytcas.com | Website ม.มหิดล https://tcas.mahidol.ac.th/ | Website คณะ ICT www.ict.mahidol.ac.th |
คะแนนที่ใช้ประกอบการสมัคร | - | - | - | ยื่นคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
- คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ≥ 20 คะแนน | ยื่นคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
- คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ≥ 20 คะแนน | ยื่นคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
- คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ≥ 20 คะแนน | มีผลการสอบภาษาอังกฤษ |
เอกสารเพิ่มเติม |
|
| - | เรียงความ 1 หน้า A4 (ภาษาอังกฤษ) ในหัวข้อ เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต | - | - | เรียงความ ไม่เกิน 2 หน้า A4 |
หมายเหตุ | มีสอบชิงทุนการศึกษา | - |
| - | - | - | - |
ทำไมต้อง ICT มหิดล?
ปรัชญาการศึกษา
ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบหลักในการศึกษา ที่เน้นกระบวนการสร้างเสริมความรู้ ผ่านการ ผสมผสานการให้ความรู้ภาคทฤษฎีร่วมกับการชี้แนะจากผู้สอน โดยผู้เรียนเป็นผู้สะสมความรู้ เชื่อมโยงกับความรู้เดิมและใหม่ เพื่อสร้างความเข้าใจจากสถานการณ์เสมือนจริง นำไปประยุกต์ กับประสบการณ์ และแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ (Student-Centered; Constructivism and Essentialism Blending)
วิสัยทัศน์
เป็นสถาบันชั้นนำที่สามารถตอบสนองความต้องการของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทางด้านการศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม ทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลระดับสากล
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะในวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เป็นอย่างดีโดยมีความรอบรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ และประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นมืออาชีพ มีจรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเคารพต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ นำเสนอและสร้างสรรค์ผลงานโดยอยู่บนหลักการและเหตุผลได้ด้วยตนเอง
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพและเรียนรู้ศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อหลักสูตร | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นานาชาติ) |
ที่อยู่ | คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
ติดต่อ | Tel: +66 02 441-0909 / Fax. +66 02 441-0808 E-mail: ict@mahidol.ac.th Website: http://www.ict.mahidol.ac.th |
ปีที่ก่อตั้ง | ปี 2552 จัดตั้งเป็น “คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” (กำเนิดจากภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้คณะวิทยาศาสตร์ และสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี 2531) |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) |
ภาษาที่ใช้ | ภาษาอังกฤษ |
การรับเข้าศึกษา | รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดี |
สถานที่จัดการเรียนการสอน
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
ระบบการจัดการศึกษา
ระบบ 2 ภาคการศึกษา/ปี
ภาคฤดูร้อน มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณา และต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
- ภาคต้น : เดือนสิงหาคม ถึง เดือนธันวาคม
- ภาคปลาย : เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม
- ภาคฤดูร้อน : เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม
ค่าเล่าเรียน
เมื่อรวมค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมการศึกษาแล้ว ประมาณ 77,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
ระยะเวลาการสำเร็จการศึกษา
ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา 4 ปีการศึกษาหรือน้อยกว่า และให้ศึกษาอย่างมากได้ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
- จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา |
|
โครงสร้างหลักสูตร
จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 ดังนี้
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | 30 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 8 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 9 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาภาษา | 12 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาสุขภาพและนันทนาการ | 1 หน่วยกิต | |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 93 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาแกน | 12 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาบังคับ | 69 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาเลือก | 12 หน่วยกิต | |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า | 6 หน่วยกิต |
แผนการศึกษา
ภาคการศึกษา 1 | ภาคการศึกษา 2 | |||||||
ปีที่ 1 | วทชว | 109 | ชีววิทยาเชิงบูรณาการ | 3 | สมสค | 103 | มนุษย์และสังคม | 2 |
สมมน | 116 | วัฒนธรรมเปรียบเทียบ | 2 | วทคม | 100 | เคมีเชิงบูรณาการ | 3 | |
ทสคพ | 320 | โครงสร้างไม่ต่อเนื่อง | 3 | ทสคพ | 211 | ระบบดิจิตอลเบื้องต้น | 3 | |
ทสคพ | 175 | คณิตศาสตร์ชั้นสูง 1 สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ | 3 | ทสคพ | 161 | วิทยาศาสตร์กายภาพกับการคำนวณ | 3 | |
ทสศท | 101 | เทคนิคการแก้ปัญหา | 2 | ทสคพ | 209 | การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ | 3 | |
ทสคพ | 201 | การเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน | 3 | ทสภษ | 201 | ทักษะการอ่าน | 2 | |
ทสภษ | 101 | ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค 1 | 2 | ทสคพ | 125 | สถิติประยุกต์สำหรับการคำนวณ | 3 | |
ทสศท | 141 | การถ่ายภาพดิจิตอล | 1 | |||||
รวม | 18 | รวม | 20 |
ภาคการศึกษา 1 | ภาคการศึกษา 2 | |||||||
ปีที่ 2 | ทสภษ | 102 | ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค 2 | 2 | ทสภษ | 202 | การพูดในที่สาธารณะและการนำเสนอ | 2 |
ทสคพ | 306 | ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข | 3 | ทสคพ | 323 | การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ | 3 | |
ทสคร | 276 | การจัดการ | 2 | ทสคพ | 381 | ระบบสื่อหลายแบบขั้นแนะนำ | 3 | |
ทสคพ | 241 | ระบบการจัดการฐานข้อมูล | 3 | ทสคพ | 343 | หลักการของระบบปฏิบัติการ | 3 | |
ทสคพ | 222 | โครงสร้างและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ | 3 | ทสคพ | 212 | การเขียนโปรแกรมเว็บ | 3 | |
ทสคพ | 231 | โครงสร้างข้อมูลและการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี | 3 | ทสศท | 301 | กลยุทธ์การสื่อสารในชีวิตมืออาชีพ | 2 | |
ทสคพ | 159 | ปฏิบัติการซอฟต์แวร์สำหรับการแก้ปัญหา พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ | 1 | ทสคพ | 335 | ระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ขั้นแนะนำ | 3 | |
รวม | 17 | รวม | 19 |
ภาคการศึกษา 1 | ภาคการศึกษา 2 | |||||||
ปีที่ 3 | ทสภษ | 301 | การเขียนเชิงธุรกิจ | 2 | ทสภษ | 282 | การเขียนเชิงวิชาการ | 2 |
ทสคพ | 371 | วิศวกรรมซอฟต์แวร์ขั้นแนะนำ | 3 | ทสคพ | 424 | การคำนวณแบบไร้สายและแบบเคลื่อนที่ | 3 | |
ทสคพ | 414 | การเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ | 3 | ทสคพ | 461 | ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร | 3 | |
ทสคพ | 420 | เครือข่ายสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ | 3 | ทสคพ | 336 | การต่อประสานคนกับเครื่อง | 3 | |
ทสคพ | 451 | ปัญญาประดิษฐ์ | 3 | ทสคพ | 391 | ปฏิบัติการระบบเครือข่าย | 1 | |
ทสคพ | 443 | ระบบเชิงกระจายและขนาน | 3 | ทสคพ | XXX | วิชาเลือกตามสาขาวิชา | 3 | |
ทสคพ | 361 | ระบบสารสนเทศการจัดการ | 3 | ทสคพ | XXX | วิชาเลือกตามสาขาวิชา | 3 | |
รวม | 20 | รวม | 18 |
ภาคการศึกษา 1 | ภาคการศึกษา 2 | |||||||
ปีที่ 4 | ทสคพ | 402 | จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์และธุรกิจ | 3 | ทสคพ | 492 | โครงงานวิจัยระดับปริญญาตรี 2 | 3 |
ทสคร | 277 | การตลาดดิจิตอล | 2 | ทสคพ | XXX | วิชาเลือกเสรี * | ||
ทสคพ | XXX | วิชาเลือกตามสาขาวิชา | 3 | |||||
ทสคพ | XXX | วิชาเลือกตามสาขาวิชา | 3 | |||||
ทสคพ | 499 | โครงงานวิจัยระดับปริญญาตรี 1 | 6 | |||||
รวม | 17 | รวม | 3 |
* วิชาจากกลุ่มเลือกเสรีโดยเน้นการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ที่สุด (Cutting-edge technology) จากคู่ความร่วมมือทั้งในและ นอกประเทศ
แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล
แนวปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน |
|
แนวปฏิบัติ ในการ ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา |
|
ผลลัพธ์การเรียนรู้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program–Level Learning Outcomes: PLOs)
- PLO1: Effectively communicate the basic knowledge of computer science, mathematics, science, social science, humanities, healthy living, economic and finance with other people.
- PLO2: Use systematic approaches by critically thinking at multiple levels of abstraction and solving problems under the context in which a computer system (will) operates (ICT disciplinary skills).
- PLO3: Demonstrate abilities to study and work both independently and collaboratively.
- PLO4: Recognize the individual, social, and ethical responsibilities of a professional working in ICT-related disciplines.
- PLO5: Demonstrate effective command of the English language for professional communication.
ผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะกลุ่ม (Stream Learning Outcomes: SLOs)
- SLO6: Use knowledge and skills in one of the selective tracks related to ICT career paths to a wide range of applications in real world. The selective tracks include Computer Science, Databases and Intelligent Systems, E-Business Systems, Multimedia Systems, Software Engineering, Health Information Technology, Computer Network, and Management Information Systems.
- SLO7: Apply computer science knowledge and skills to scope, design, and implement ICT-based solutions to more open problems with the awareness of advanced technologies.
- SLO8: Carry out research practices in ICT-based topics under a supervision of experienced researchers with the awareness of cutting-edge technologies.
- SLO9: Carry out professional practices and skills to learn and work beyond classroom.
อาชีพที่สามารถประกอบได้
- นักวิชาการคอมพิวเตอร์
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
- นักเขียนโปรแกรม
- นักพัฒนาเว็บ
- นักพัฒนาซอฟต์แวร์
- นักพัฒนาระบบสื่อหลายแบบ
- ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล
- ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
- ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ผู้จัดการระบบเครือข่ายสื่อสาร
- ผู้จัดการด้านธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
- ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในองค์กรต่างๆ
- นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
- ผู้จัดการด้านระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
- ผู้ประกอบการด้าน ICT และการประยุกต์ ICT
Download
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) มีสาขาวิชาต่างๆ รวม 8 สาขาวิชา ให้นักศึกษาเลือกเรียน ดังนี้
Core Tracks
วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science: CS) |
ศึกษาการใช้ทฤษฎีทางด้านคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน เรียนรู้ระบบที่เกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ เช่น กระบวนการแก้ปัญหาที่มีลำดับหรือวิธีการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนชัดเจน (Algorithms Analysis), การออกแบบฐานข้อมูล (Database Design), การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว ที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความฉลาดและความสามารถให้กับอุปกรณ์เหล่านั้น (Embedded System), การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพและสื่อ โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ (Computer Graphics) |
ระบบฐานข้อมูลและระบบเชิงปัญญา (Database and Intelligent Systems: DB) |
ศึกษาเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถพัฒนาต่อยอด เพื่อใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น ทฤษฎีการออกแบบระบบฐานข้อมูล (Database Design) คลังข้อมูลและการสืบค้นข้อมูล (Data Warehousing and Data Mining) การประมวลผลภาพดิจิทัล (Digital Image Processing) การจำแนกและประมวลผลสัญญาณ ปัญญาประดิษฐ์และสถิติ (Intelligent Techniques for Pattern Recognition) การจัดเก็บ การนำเสนอเนื้อหาและการวิเคราะห์จำแนก ว่าข้อมูลที่ปรากฏนั้นมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่น ๆ ในแต่ละระดับอย่างไร (Semantic Web) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) รวมถึง เทคโนโลยีและแอปพลิเคชันสำหรับจัดการฐานข้อมูลขั้นสูง |
ระบบเครือข่ายสื่อสาร (Computer Networks: CN) |
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเครือข่ายสื่อสารซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ (Internet Architecture) การกำหนดฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร (Internet Protocols) การบริหารจัดการเครือข่าย (Network Management) การเขียนโปรแกรมจัดการเครือข่ายสื่อสาร (Network Programming) และการตรวจสอบพิสูจน์หลักฐานเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Forensic) |
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering: SE) |
ศึกษาวิธีการควบคุมการพัฒนาซอฟต์แวร์ เทคนิคและแนวทางการบริหารจัดการ เพื่อให้สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องของซอฟต์แวร์นั้น ๆ เพื่อวัดประสิทธิภาพ และคุณภาพของซอฟต์แวร์ |
Applied Tracks
ระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business Systems: EB) |
ศึกษาทฤษฎี และวิธีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (Computer Technology) มาใช้กับธุรกิจต่างๆ เพื่อการพัฒนาต่อยอดธุรกิจสู่โลกออนไลน์ ศึกษาเกี่ยวกับแบบจำลองทางธุรกิจ (E-Business Model) และประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management) การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) และ การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอุปกรณ์สื่อสาร (Mobile Application) การศึกษาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเชิงธุรกิจ และการคิดกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ๆ รวมไปถึง เทคโนโลยีสำหรับการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บ วิเคราะห์ และการใช้ประโยชน์ข้อมูลในหลากหลายมุมมอง (Business Intelligent Systems) |
ระบบสื่อหลายแบบ (Multimedia Systems: MM) |
ศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อใช้ในการสร้างระบบที่เกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดีย เช่น Computer Animation, Computer Graphic, Virtual Reality รวมไปถึงเรียนรู้การจัดการสื่อมัลติมีเดีย และการประยุกต์ใช้สื่อนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านศิลปะและความบันเทิง |
การจัดการระบบสารสนเทศ (Management Information Systems: MS) |
ศึกษาเกี่ยวกับการนำระบบสารสนเทศ (IT) มาใช้ในการบริหารจัดการ การแปลความหมายและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กร โดยจะใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานที่สำคัญเพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล |
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อระบบสุขภาพ (Health Information Technology: HT) |
ศึกษาเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) ไปใช้ในภาคธุรกิจสุขภาพ และสาธารณสุข เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการ โดยจะศึกษาระบบที่ใช้ในและการบริหารจัดการระบบนั้นในองค์กร รวมถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทางการแพทย์ที่สำคัญ |
หมายเหตุ: นักศึกษาจะสามารถเลือกสาขาวิชาได้ในภาคการศึกษาที่ 2 ของปีการศึกษาที่ 3
รอบ 1 ICT – Portfolio
รับสมัคร: 12 – 30 กันยายน 2565
สมัครได้ที่: https://academic.ict.mahidol.ac.th/admission/apply/
คุณสมบัติทางการศึกษา
- กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
- ม.6 แผนการเรียน วิทย์ – คณิต, ศิลป์ – คำนวณ, วิทย์ – คอม, คณิต – คอม หรือ
- GED (145 คะแนนในแต่ละรายวิชา) หรือ
- Grade 12 / Year 13 หรือ แผนการเรียนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องมีหน่วยกิต คณิต ≥ 7 หน่วยกิต, วิทย์ ≥ 9 หน่วยกิต, อังกฤษ ≥ 9 หน่วยกิต
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 2.50
เอกสารประกอบการสมัคร
- Portfolio ภาษาอังกฤษ (.pdf จำนวน 1 ไฟล์ ไม่จำกัดหน้า ขนาดไม่เกิน 3 MB เท่านั้น)
- เรียงความภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (.pdf) ในหัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต”
- Video Presentation ประวัติและผลงาน เป็นภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 3 นาที (ให้จัดทำเป็นไฟล์ .mp4 และ Upload ขึ้น YouTube หรือ Google Drive)
- ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ หรืออย่างน้อย 4 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 (.pdf)
- รูปถ่าย เป็นไฟล์นามสกุล .jpg หรือ .jpeg โดยขนาดมีความกว้าง 230 pixel ความสูง 312 pixel ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 150 KB
- สำเนาบัตรประชาชน (สำหรับนักเรียนไทย) หรือ สำเนาหน้าแรกของหนังสือเดินทาง (สำหรับนักเรียนต่างชาติ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับผู้สมัครที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
** หมายเหตุ
- ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ
- มีการสอบชิงทุนการศึกษา
รอบ 2 MU – Portfolio (TCAS 1)
รอบ 1/1: รับสมัคร 3 ตุลาคม 2565 (9.30 น.) – 17 ตุลาคม 2565 (12.00 น.) ชำระเงินค่าสมัครไม่เกินเวลา 16.00 น.
รอบ 1/2: รับสมัคร 1 ธันวาคม 2565 (9.30 น.) – 23 ธันวาคม 2565 (12.00 น.) ชำระเงินค่าสมัครไม่เกินเวลา 16.00 น.
สมัครได้ที่: https://tcas.mahidol.ac.th/
คุณสมบัติทางการศึกษา
- กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์–คอมพิวเตอร์, คณิต–คอมพิวเตอร์ หรือ
- Grade 12 / Year 13 หรือ
- มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 4 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50
- มีคะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แต่ละสาระการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่า 2.50
หมายเหตุ: สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
- Portfolio ภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 10 หน้า (.pdf จำนวน 1 ไฟล์)
- เรียงความภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (.pdf) ในหัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต”
- Video Presentation ประวัติและผลงาน เป็นภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 3 นาที (.mp4)
- ใบแสดงผลการศึกษา (ปพ.1) ฉบับสมบูรณ์ หรือ 4 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 (.pdf)
- รูปถ่าย (.jpg)
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
- สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **
รอบ 3 ICT – รับตรง จัดสอบ
รับสมัคร: 1 – 28 กุมภาพันธ์ 2566
สมัครได้ที่: https://academic.ict.mahidol.ac.th/admission/apply/
คุณสมบัติทางการศึกษา
- กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาทุกแผนการศึกษา ในระดับต่างๆ ดังนี้
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าทุกแผนการศึกษา หรือ
- Grade 12 / Year 13 หรือ
- มีผลสอบ GED ไม่ต่ำกว่า 145 คะแนนในแต่ละรายวิชา
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 5 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 2.50
การสอบ
- สอบข้อเขียนของคณะ 4 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เคมี ฟิสิกส์
- สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ
เอกสารประกอบการสมัคร
- ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ หรืออย่างน้อย 5 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 (.pdf)
- รูปถ่ายเป็นไฟล์นามสกุล.jpg หรือ .jpeg โดยมีความกว้าง 230 pixel ความสูง 312 pixel ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 150 KB
- สำเนาบัตรประชาชน (สำหรับนักเรียนไทย) หรือ สำเนาหน้าแรกของหนังสือเดินทาง (สำหรับนักเรียนต่างชาติ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับผู้สมัครที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **
รอบ 4 Quota (TCAS 2)
รับสมัคร: 20 มีนาคม – 7 เมษายน 2566
สมัครได้ที่: https://tcas.mahidol.ac.th/
คุณสมบัติทางการศึกษา
แผนการศึกษา : วิทย์ – คณิต, ศิลป์ – คำนวณ, วิทย์ – คอม, คณิต – คอม
วุฒิการศึกษา
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาอยู่ ในระดับต่างๆ ดังนี้
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ
- มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา
- มีผลสอบต่างๆ ดังนี้
- TGAT, TPAT3 (ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์)
- TGAT คะแนนรวม 3 Parts ≥ 90 คะแนน (และ Part1 ภาษาอังกฤษ ≥ 30 คะแนน)
- TPAT3 ≥ 30 คะแนนหรือ
- A-Level (คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ)
- คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ≥ 20 คะแนน
- ภาษาอังกฤษ ≥ 30 คะแนน
- TGAT, TPAT3 (ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์)
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) อย่างน้อย 5 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50
- มีคะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แต่ละสาระการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่า 2.50
หมายเหตุ: สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
- เรียงความภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (.pdf) ในหัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต”
- มีผลสอบ TGAT, TPAT3 หรือ A-Level ตามเกณฑ์ที่คณะกำหนด
- ใบแสดงผลการศึกษา (ปพ.1) ฉบับสมบูรณ์ หรืออย่างน้อย 5 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 (.pdf)
- รูปถ่าย (.jpg)
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
- สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **
รอบ 5 Admission (TCAS 3)
รับสมัคร: 7 – 13 พฤษภาคม 2566
สมัครได้ที่: https://www.mytcas.com/
คุณสมบัติทางการศึกษา
แผนการศึกษา : วิทย์ – คณิต, ศิลป์ – คำนวณ, วิทย์ – คอม, คณิต – คอม
วุฒิการศึกษา
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาอยู่ ในระดับต่างๆ ดังนี้
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ
- มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา
- มีผลสอบต่างๆ ดังนี้
- TGAT, TPAT3 (ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์) หรือ
- A-Level (คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ)
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 6 ภาคการศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
- TGAT, TPAT3 (ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์)
- TGAT คะแนนรวม 3 Parts ≥ 90 คะแนน (และ Part1 ภาษาอังกฤษ ≥ 30 คะแนน)
- TPAT3 ≥ 30 คะแนน
หรือ
- A-Level (คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ)
- คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ≥ 20 คะแนน
- ภาษาอังกฤษ ≥ 30 คะแนน
รอบ 6 Direct Admission (TCAS 4)
รับสมัคร: 1 มิถุนายน (9.30 น.) – 7 มิถุนายน 2566 (15.00 น.)
สมัครได้ที่: https://tcas.mahidol.ac.th/
คุณสมบัติทางการศึกษา
แผนการศึกษา : วิทย์ – คณิต, ศิลป์ – คำนวณ, วิทย์ – คอม, คณิต – คอม
วุฒิการศึกษา
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาอยู่ ในระดับต่างๆ ดังนี้
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ
- มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา
- มีผลสอบต่างๆ ดังนี้
- TGAT, TPAT3 (ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์) หรือ
- A-Level (คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ)
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 6 ภาคการศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.00
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
- ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.00 (.pdf)
- มีผลคะแนน TGAT, TPAT3 (ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์) หรือ A-Level (คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ)
- รูปถ่ายเป็นไฟล์นามสกุล.jpg หรือ .jpeg โดยมีความกว้าง 230 pixel ความสูง 312 pixel ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 150 KB
- สำเนาบัตรประชาชน (สำหรับนักเรียนไทย) หรือ สำเนาหน้าแรกของหนังสือเดินทาง (สำหรับนักเรียนต่างชาติ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับผู้สมัครที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **
รอบ International Direct Admissions
สมัครออนไลน์: https://academic.ict.mahidol.ac.th/admission/apply/
International Direct Admissions 2023 Schedule | ||||
รายละเอียด | รอบ 1 | รอบ 2 | รอบ 3 | รอบ 4 |
ช่วงเวลารับสมัคร | 24 ต.ค. – 15 พ.ย. 2565 | 9 – 31 ม.ค. 2566 | 18 เม.ย. – 2 พ.ค. 2566 | 15 – 30 พ.ค. 2566 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | 18 พ.ย. 2565 | 6 ก.พ. 2566 | 8 พ.ค. 2566 | 5 มิ.ย. 2566 |
สอบสัมภาษณ์ | 23 พ.ย. 2565 | 10 ก.พ. 2566 | 15 พ.ค. 2566 | 12 มิ.ย. 2566 |
ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 25 พ.ย. 2565 | 14 ก.พ. 2566 | 17 พ.ค. 2566 | 14 มิ.ย. 2566 |
คุณสมบัติทางการศึกษา
- สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาในระดับต่างๆ ตามระบบโรงเรียนไทย หรือ โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือ จากต่างประเทศ ทุกแผนการศึกษา ดังนี้
- มัธยมศึกษาปีที่ 6
- Grade 12 / Year 13
- GED (145 คะแนนในแต่ละวิชา)
- มีเกรดเฉลี่ยสะสมจากโรงเรียนที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.5 หรือเทียบเท่า (เช่น ระดับ C+)
- มีผลการสอบผ่านคะแนนภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบผ่านถึงวันสมัครเข้าศึกษา ดังนี้
- TOEFL Paper Based Test 500 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 49 คะแนนขึ้นไป) หรือ
- TOEFL ITP 500 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 49 คะแนนขึ้นไป) หรือ
- TOEFL Internet Based Test 60 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 15 คะแนนขึ้นไป) หรือ
- IELTS 5.0 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 5.0 คะแนนขึ้นไป) หรือ
- TOEIC 600 คะแนนขึ้นไป หรือ
- SAT (Evidence-Based Reading and Writing) 400 คะแนนขึ้นไป หรือ
- The Duolingo English Test 80 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 75 คะแนนขึ้นไป) หรือ
- AP (Advanced Placement) English Language and Composition 4 คะแนนขึ้นไป หรือ
- IB (International Baccalaureate) HL English A 4 คะแนนขึ้นไป หรือ
- GCE A-Level English Language เกรด B ขึ้นไป
ยกเว้น กรณีที่ผู้สมัครเป็นชาวต่างชาติจากกลุ่มประเทศสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ ไม่ต้องมีผลการสอบผ่านคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ดังกล่าว
- มีผลการสอบผ่านคะแนนทางด้านวิชาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบผ่านถึงวันสมัครเข้าศึกษา ดังนี้
- SAT (Math) 600 คะแนนขึ้นไป หรือ
- ACT (Math) 25 คะแนนขึ้นไป หรือ
- Gaokao (Math) 70 คะแนนขึ้นไป หรือ
- AP (Advanced Placement) Calculus AB หรือ Calculus BC 4 คะแนนขึ้นไป หรือ
- IB Diploma (International Baccalaureate) HL Math 4 คะแนนขึ้นไป หรือ
- GCE A-Level Math เกรด B ขึ้นไป
การชำระค่าสมัครสอบ 600 บาท (ไม่สามารถขอคืนเงินค่าสมัครได้)
เอกสารประกอบการสมัคร
- ประกาศนียบัตรหรือหนังสือรับรองเทียบคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ (.pdf)
- เอกสารแสดงผลการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา (Transcript) (.pdf)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับผู้สมัครชาวไทย) หรือ สำเนาหนังสือเดินทางที่ระบุ วัน เดือน ปีเกิด และวันหมดอายุของหนังสือเดินทาง (สำหรับผู้สมัครชาวต่างชาติ) (.pdf)
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน (.jpg หรือ .jpeg ขนาดไฟล์ไม่เกิน 150 KB)
- ประวัติส่วนตัว (Resume) (ถ้ามี) (.pdf)
- เรียงความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเลือกเข้าศึกษาต่อคณะ ICT (statement of purpose) ของผู้สมัคร จำนวนไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 (.pdf)
- ผลสอบวิชาคณิตศาสตร์ตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (.pdf)
- ผลสอบวิชาภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (.pdf)
- เอกสารแสดงรางวัล เกียรติยศ ต่าง ๆ (ถ้ามี) (.pdf)
*** หมายเหตุ ผู้สมัครต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ และ Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ ***
การติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
- โทรศัพท์: +66(0)2-441-0909
- อีเมล: ictadmission@mahidol.ac.th
- เฟซบุ๊ก: https://www.facebook.com/ict.mahidol.university/
- บัญชีทางการของไลน์: @ictmahidol
เกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษา
กำหนดการ รอบ 1 ICT – Portfolio
ลำดับ | กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร | 12 – 30 ก.ย. 2565 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | 12 ต.ค. 2565 |
3 | สอบสัมภาษณ์ | 26 ต.ค. 2565 (บ่าย) |
4 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก | 28 ต.ค. 2565 |
5 | ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) | 7 – 8 ก.พ. 2566 |
6 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 9 ก.พ. 2566 |
7 | ICT Preparatory Program | 3 – 31 ก.ค. 2566 |
8 | เปิดภาคการศึกษา | 7 ส.ค. 2566 |
กำหนดการ รอบ 2 MU – Portfolio (TCAS 1)
ลำดับ | กิจกรรม | รอบที่ 1/1 | รอบที่ 1/2 |
1 | รับสมัคร | 3 – 17 ต.ค. 2565 | 1 – 23 ธ.ค. 2565 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | 1 พ.ย. 2565 | 17 ม.ค. 2566 |
3 | สอบสัมภาษณ์ | 4 พ.ย. 2565 | 20 ม.ค. 2566 |
4 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (ตัวจริงและตัวสำรอง) | 10 พ.ย. 2565 | 25 ม.ค. 2566 |
5 | ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มตัวจริง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS | 10 พ.ย. 2565 เวลา 9.30 น. – 11 พ.ย. 2565 เวลา 12.00 น. |
25 ม.ค. 2566 เวลา 9.30 น. – 26 ม.ค. 2566 เวลา 12.00 น. |
6 | ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มสำรอง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS | 14 พ.ย. 2565 (ตั้งแต่เวลา 9.30 – 15.00 น.) |
28 ม.ค. 2566 (ตั้งแต่เวลา 9.30 – 15.00 น.) |
7 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก | 21 พ.ย. 2565 | 31 ม.ค. 2566 |
8 | ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) | 7 – 8 ก.พ. 2566 | 7 – 8 ก.พ. 2566 |
9 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 11 ก.พ. 2566 | 11 ก.พ. 2566 |
10 | ICT Preparatory Program | 3 – 31 ก.ค. 2566 | 3 – 31 ก.ค. 2566 |
11 | เปิดภาคการศึกษา | 7 ส.ค. 2566 | 7 ส.ค. 2566 |
กำหนดการ รอบ 3 ICT – รับตรง จัดสอบ
ลำดับ | กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร https://academic.ict.mahidol.ac.th/admission/apply/ | 1 – 28 ก.พ. 2566 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน | 15 มี.ค. 2566 |
3 | สอบข้อเขียน | 25 มี.ค. 2566 |
4 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | 18 เม.ย. 2566 |
5 | สอบสัมภาษณ์ | 26 เม.ย. 2566 (บ่าย) |
6 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก | 28 เม.ย. 2566 |
7 | ผู้ผ่านการคัดเลือกยืนยันสิทธิ์ (Website: www.mytcas.com) | 4 – 5 พ.ค. 2566 |
8 | ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา | 9 พ.ค. 2566 |
9 | ขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | พ.ค. 2566 (วันจะประกาศให้ทราบอีกครั้ง) |
10 | เรียนปรับพื้นฐาน (ICT Preparatory Program) | 3 – 31 ก.ค. 2566 |
11 | เปิดภาคการศึกษา | 7 ส.ค. 2566 |
กำหนดการ รอบ 4 Quota (TCAS 2)
ลำดับ | กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร https://tcas.mahidol.ac.th/ | 20 มี.ค. – 7 เม.ย. 2566 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | 20 เม.ย. 2566 |
3 | สอบสัมภาษณ์ | 22 เม.ย. 2566 |
4 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์ | 26 เม.ย. 2566 |
5 | ผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์ ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS | 26 – 27 เม.ย. 2566 |
6 | ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS | 4 พ.ค. 2566 |
7 | ผู้ผ่านการคัดเลือกยืนยันสิทธิ์ (Website: www.mytcas.com) | 4 – 5 พ.ค. 2566 |
8 | มหาวิทยาลัยประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษารอบ TCAS 2 | 9 พ.ค. 2566 |
9 | ขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | พ.ค. 2566 (วันจะประกาศให้ทราบอีกครั้ง) |
10 | เรียนปรับพื้นฐาน (ICT Preparatory Program) | 3 – 31 ก.ค. 2566 |
11 | เปิดภาคการศึกษา | 7 ส.ค. 2566 |
กำหนดการ รอบ 5 Admission (TCAS 3)
ลำดับ | กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร (Website: www.mytcas.com) | 7 – 13 พ.ค. 2566 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (Website: www.mytcas.com) | #1: 20 พ.ค. 2566 |
#2: 26 พ.ค. 2566 | ||
3 | ยืนยันสิทธิ์ในระบบ เฉพาะการประมวลผลครั้งที่ 1 (Website: www.mytcas.com) | 20 – 21 พ.ค. 2566 |
4 | ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา | 7 มิ.ย. 2566 |
5 | ขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | มิ.ย. 2566 (วันจะประกาศให้ทราบอีกครั้ง) |
6 | เรียนปรับพื้นฐาน (ICT Preparatory Program) | 3 – 31 ก.ค. 2566 |
7 | เปิดภาคการศึกษา | 7 ส.ค. 2566 |
กำหนดการ รอบ 6 Direct Admission (TCAS 4)
ลำดับ | กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร (https://tcas.mahidol.ac.th/) | 1 มิ.ย. (9.30 น.) – 7 มิ.ย. 2566 (15.00 น.) |
2 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (https://tcas.mahidol.ac.th/) | 19 มิ.ย. 2566 |
3 | ผู้ผ่านการคัดเลือกยืนยันสิทธิ์ (Website: www.mytcas.com) | 23 – 24 มิ.ย. 2566 |
4 | ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (https://tcas.mahidol.ac.th/) | 28 มิ.ย. 2566 |
5 | ขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ (ชำระเงินค่าเทอมและค่าเรียนปรับพื้นฐาน) | 28 – 29 มิ.ย. 2566 |
6 | เรียนปรับพื้นฐาน (ICT Preparatory Program) | 3 – 31 ก.ค. 2566 |
7 | เปิดภาคการศึกษา | 7 ส.ค. 2566 |
กำหนดการ รอบ International Direct Admissions
International Direct Admissions 2023 Schedule | ||||
รายละเอียด | รอบ 1 | รอบ 2 | รอบ 3 | รอบ 4 |
ช่วงเวลารับสมัคร | 24 ต.ค. – 15 พ.ย. 2565 | 9 – 31 ม.ค. 2566 | 18 เม.ย. – 2 พ.ค. 2566 | 15 – 30 พ.ค. 2566 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | 18 พ.ย. 2565 | 6 ก.พ. 2566 | 8 พ.ค. 2566 | 5 มิ.ย. 2566 |
สอบสัมภาษณ์ | 23 พ.ย. 2565 | 10 ก.พ. 2566 | 15 พ.ค. 2566 | 12 มิ.ย. 2566 |
ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 25 พ.ย. 2565 | 14 ก.พ. 2566 | 17 พ.ค. 2566 | 14 มิ.ย. 2566 |
อัตราค่าธรรมเนียมแบบเหมาจ่าย หลักสูตรวิทยาศาสตรบันฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นานาชาติ)
สำหรับนักศึกษารหัสประจำตัว ID66 เป็นต้นไป
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ภาคฤดูร้อน | ||
นักศึกษาไทย | นักศึกษาต่างชาติ | นักศึกษาไทย | นักศึกษาต่างชาติ | นักศึกษา & ไทยนักศึกษาต่างชาติ |
75,000 บาท | 90,000 บาท | 75,000 บาท | 90,000 บาท | 25,000 บาท |
สำหรับนักศึกษาที่เรียนเกินจำนวนภาคการศึกษาที่กำหนดในหลักสูตร หรือลงทะเบียนเรียนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 9 หน่วยกิต จัดเก็บในอัตราภาคการศึกษาละ 25,000 บาท
-
- รายละเอียดอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษาคณะ ICT
- อัตราค่าธรรมเนียมแบบเหมาจ่าย หลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาตรี สำหรับนักศึกษาตั้งแต่รหัสประจำตัว 66xxxxx เป็นต้นไป
- อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณะ ICT (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562
- อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณะ ICT (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
- อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณะ ICT พ.ศ. 2559
- ทุนการศึกษา
- การให้ทุนการศึกษา สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) ที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป
- ทุนเรียนดีตลอดหลักสูตร / ทุนเรียนดีระหว่างปี สำหรับนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป
- ทุนระหว่างปี (ทุนนักศึกษาเรียนดี / ทุนนักศึกษากิจกรรม / ทุนสนับสนุนงานบริการ) สำหรับนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) ที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป
- รายละเอียดอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษาคณะ ICT