หลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นานาชาติ)

  /    /  หลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นานาชาติ)

  Get A Grip On Tech,    Get A Brighter Future    @ICT Mahidol 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอนทุกวิชา ทำให้บัณฑิตมีความสามารถในการสื่อสารทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการทำงานและสามารถแข่งขันในระดับสากลได้ โดยมาพร้อมกับ 8 specializations ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงานด้าน IT ในปัจจุบัน

กำหนดการรับสมัครเข้าศึกษาต่อ

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) หลักสูตรนานาชาติ ปีการศึกษา 2568

รอบ

(1) ICT – Portfolio

(2) MU –Portfolio (TCAS1)

(3) ICT – รับตรง จัดสอบ

(4) MU –โควตา (TCAS2)

(5) Admissions (TCAS3)

(6) Direct Admission (TCAS4)

(7) International
Direct Admissions

ช่วงเวลารับสมัคร

2-18 ก.ย. 67

รอบ 1/1: 1 ต.ค. 67 เวลา 09.30 น. - 16 ต.ค. 67 เวลา 12.00 น.
รอบ 1/2: 2 ธ.ค. 67 เวลา 09.30 น. - 8 ม.ค. 68 เวลา 12.00 น.

ก.พ. 68

 20 มี.ค. 68 เวลา 09.30 น. - 8 เม.ย. 68 เวลา 23.59 น.

6 - 12 พ.ค. 68

มิ.ย. 68

2 ก.ย. 67 -  31 พ.ค. 68

วุฒิการศึกษา

  • ม.6 แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์ – คำนวณ, วิทย์ – คอม, คณิต – คอม หรือ

  • GED (145 คะแนนในแต่ละรายวิชา) หรือ

  • Grade 12 (US Curriculum, Cambridge AS-Level and/or A-Level in at least three different subjects with a minimum grade of C, or International Baccalaureate) หรือ แผนการเรียนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องมีหน่วยกิต คณิต ≥ 7 หน่วยกิต, วิทย์ ≥ 9 หน่วยกิต, อังกฤษ ≥ 9 หน่วยกิต

  • ม.6 แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์ – คำนวณ, วิทย์ – คอม, คณิต – คอม หรือ

  • GED (145 คะแนนในแต่ละรายวิชา)

  • Grade 12 (US Curriculum, Cambridge AS-Level and/or A-Level in at least three different subjects with a minimum grade of C, or International Baccalaureate)

  • ม.6 ทุกแผนการศึกษา หรือ

  • GED (145 คะแนนในแต่ละรายวิชา) หรือ

  • Grade 12 (US Curriculum, Cambridge AS-Level and/or A-Level in at least three different subjects with a minimum grade of C, or International Baccalaureate)

  • ม.6 แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์ – คอม, คณิต – คอม หรือ

  • GED (145 คะแนนในแต่ละรายวิชา)

  • ตรงตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    - เป็นนักเรียนในกลุ่มโรงเรียน MoU หรือ
    - เป็นนักเรียนที่ผ่านการเข้าค่าย สอวน. / ค่ายโอลิมปิกวิชาการ หรือ
    ได้รับรางวัลการแข่งขันด้าน IT ในระดับจังหวัดขึ้นไป

  • ม.6 แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์ – คอม, คณิต – คอม หรือ

  • ม.6 แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์ – คอม, คณิต – คอม หรือ

  • GED (145 คะแนนในแต่ละรายวิชา)

  • ม.6 แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์ – คอม, คณิต – คอม หรือ

  • ม.6 แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์ – คอม, คณิต – คอม หรือ

  • GED (145 คะแนนในแต่ละรายวิชา)

  • ม. 6 ทุกแผนการศึกษา หรือ

  • GED (145 คะแนนในแต่ละรายวิชา) หรือ

  • Grade 12 (US Curriculum, Cambridge AS-Level and/or A-Level in at least three different subjects with a minimum grade of C, or International Baccalaureate)

GPA

≥ 2.50 (4 เทอม)

≥ 2.50 (4 เทอม)

GPA ≥ 2.50 (5 เทอม)

  • GPA ≥ 3.00 (5 – 6 เทอม)

  • คะแนนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทย์/คณิต/อังกฤษ ≥ 3.00

GPA≥ 2.50 (6 เทอม)

GPA≥ 2.00 (6 เทอม)

GPA ≥ 2.50 หรือเทียบเท่า

ช่องทางการสมัคร

Website คณะ ICT https://tcas.mahidol.ac.th/

Website คณะ ICT www.ict.mahidol.ac.th

Website ม.มหิดล https://tcas.mahidol.ac.th/

Website ทปอ. student.mytcas.com

Website ม.มหิดล https://tcas.mahidol.ac.th/

Website คณะ ICT www.ict.mahidol.ac.th

คะแนนที่ใช้ประกอบการสมัคร

-

-

-

ยื่นคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  • TGAT, TPAT3

- TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
- TPAT3 ≥ 45 คะแนน
หรือ

  • A-Level

- คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ≥ 20 คะแนน
- ภาษาอังกฤษ ≥ 50 คะแนน

ยื่นคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  • TGAT, TPAT3

- TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
- TPAT3 ≥ 45 คะแนน
หรือ

  • A-Level

- คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ≥ 20 คะแนน
- ภาษาอังกฤษ ≥ 50 คะแนน

ยื่นคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  • TGAT, TPAT3

- TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
- TPAT3 ≥ 45 คะแนน
หรือ

  • A-Level

- คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ≥ 20 คะแนน
- ภาษาอังกฤษ ≥ 50 คะแนน

มีผลการสอบภาษาอังกฤษ
และคณิตศาสตร์ตามเกณฑ์ที่คณะกำหนด
(คลิกดูรายละเอียด)

เอกสารเพิ่มเติม

  • Portfolio (ภาษาอังกฤษ) ไม่เกิน 10 หน้า

  • Video Presentation ประวัติและผลงาน ความยาวไม่เกิน 3 นาที (ภาษาอังกฤษ)

  • เรียงความ 1 หน้า A4 (ภาษาอังกฤษ) ในหัวข้อ เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต

-

เรียงความ 1 หน้า A4 (ภาษาอังกฤษ) ในหัวข้อ เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต

-

-

เรียงความ ไม่เกิน 2 หน้า A4
เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเลือกเข้าศึกษาต่อคณะ ICT (statement of purpose)

หมายเหตุ

-

-

  • สอบข้อเขียนของคณะฯ 4 วิชา: คณิต อังกฤษ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์

  • มีสอบชิงทุนการศึกษา

-

-

-

-

ทำไมต้อง ICT มหิดล?

ผมได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านั้นช่วยบ่มเพาะทั้งทักษะเฉพาะทางด้าน IT รวมถึงทักษะในการใช้ชีวิตของผม

นายอาภากรณ์ เก่งการนา, ศิษย์เก่าคณะ ICT รุ่นที่ 14

การเรียนที่คณะ ICT ช่วยให้เราได้เตรียมตัวพร้อมรับกับการเรียนรู้ชีวิตที่ทำงานได้ดียิ่งขึ้น

คุณวราลี ธนาพันธรักษ์, ศิษย์เก่าคณะ ICT รุ่นที่ 14

คณะฯ ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงธุรกิจ ทำให้เข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการ สามารถสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ตอบโจทย์ลูกค้า

คุณสุภัสสรา รอดรัตษะ, ศิษย์เก่าคณะ ICT รุ่นที่ 14

ปรัชญาการศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) จัดการเรียนการสอนโดยใช้พื้นฐานปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาประสบความสำเร็จทางการศึกษา ผ่านการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (learning-centered education) การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์เป็นหลัก (outcome-based education) และเน้นให้นักศึกษาสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (constructivism) นอกจากนี้ หลักสูตรนี้ ยังใช้แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ (Backward Design Approach) ในการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร ให้มีความสอดคล้องกับวิธีการสอน การเรียนรู้ และการประเมินผล

ในการสร้างเสริมประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่นักศึกษา หลักสูตรนี้ เน้นจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก เช่น การเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรม และการเรียนรู้ผ่านการจัดทำโครงงาน โดยมีคณาจารย์เป็นผู้สอนวิชาพื้นฐานทางทฤษฎีเพื่อสร้างพื้นฐานความรู้ที่มั่นคง ซึ่งส่งผลให้นักศึกษาสามารถสร้างเสริมความรู้และทักษะของตนเองได้

หลักสูตรของเรามุ่งผลิตบัณฑิตด้าน ICT ให้มีความรู้เชิงลึก ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการพัฒนางานวิจัย ทักษะเชิงปฏิบัติการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ รวมถึงความสามารถในการสรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่ บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรของเราจะมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงานระดับโลก รวมทั้งมีความรับผิดชอบทางจริยธรรม และทักษะการเป็นผู้นำ

วิสัยทัศน์

มุ่งสู่การศึกษาและการวิจัยสหวิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ระดับโลก

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะในวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เป็นอย่างดีโดยมีความรอบรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ และประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นมืออาชีพ มีจรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเคารพต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
  4. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ นำเสนอและสร้างสรรค์ผลงานโดยอยู่บนหลักการและเหตุผลได้ด้วยตนเอง
  5. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพและเรียนรู้ศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นานาชาติ)
ที่อยู่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
ติดต่อ Tel: +66 02 441-0909 / Fax. +66 02 441-0808
E-mail: ict@mahidol.ac.th
Website: http://www.ict.mahidol.ac.th
ปีที่ก่อตั้ง ปี 2552 จัดตั้งเป็น “คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร”
(กำเนิดจากภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้คณะวิทยาศาสตร์ และสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี 2531)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
ภาษาที่ใช้ ภาษาอังกฤษ
การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดี
สถานที่จัดการเรียนการสอน

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

ระบบการจัดการศึกษา

ระบบ 2 ภาคการศึกษา/ปี
ภาคฤดูร้อน มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณา และต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
  • ภาคต้น : เดือนสิงหาคม ถึง เดือนธันวาคม
  • ภาคปลาย : เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม
  • ภาคฤดูร้อน : เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม
ค่าเล่าเรียน

ภาคการศึกษาที่ 1

ภาคการศึกษาที่ 2

ภาคฤดูร้อน

นักศึกษาไทย

นักศึกษาต่างชาติ

นักศึกษาไทย

นักศึกษาต่างชาติ

นักศึกษา & ไทยนักศึกษาต่างชาติ

75,000 บาท

90,000 บาท

75,000 บาท

90,000 บาท

25,000 บาท

ระยะเวลาการสำเร็จการศึกษา
  • ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา 4 ปีการศึกษาหรือน้อยกว่า และให้ศึกษาอย่างมากได้ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
  • จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
  1. นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาและได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) เมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้:
    (1) เรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตและรายวิชา และผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยจะต้องมีหน่วยกิตขั้นต่ำอย่างน้อย 120 หน่วยกิต ประกอบด้วย หมวดวิชาศึกษาทั่วไป อย่างน้อย 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ อย่างน้อย 84 หน่วยกิต และหมวดวิชาเลือกเสรี อย่างน้อย 6 หน่วยกิต
    (2) มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (CGPA) ไม่น้อยกว่า 2.00
    (3) ผ่านการสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ โดยมีระดับขั้นต่ำ ดังนี้ TOEFL PBT 525 / CBT 196 / IBT 70 / IELTS 5.5 / TOEIC 620 หรือผ่านเกณฑ์มาตรฐานอื่น ๆ ตามที่คณะและมหาวิทยาลัยกำหนด
    (4) ได้เกรดระดับ C เป็นอย่างน้อยในวิชาการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน (Fundamental of Programming) วิชาการพูดในที่สาธารณะและการนำเสนอ (Public Speaking and Presentation) และวิชาการเขียนเชิงวิชาการ (Academic Writing)
    (5) ไม่มีหนี้สินกับมหาวิทยาลัยมหิดล
    (6) ไม่อยู่ในสถานภาพลาพักการศึกษา
  2. เพื่อเป็นการเชิดชูนักศึกษาที่มีผลการเรียนโดดเด่น นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ย (GPA) สูง จะสำเร็จการศึกษาพร้อมได้รับเกียรตินิยม ดังต่อไปนี้ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (CGPA) ไม่น้อยกว่า 3.50 เกียรตินิยมอันดับสอง มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (CGPA) ไม่น้อยกว่า 3.25 แต่ไม่ถึง 3.50 ไม่เคยได้รับเกรด ‘F’, ‘W’ หรือ ‘I’ ในรายวิชาใด ๆ และไม่เคยปรับเกรดรายวิชาใด ๆ รวมถึงสำเร็จการศึกษาในระยะเวลา 4 ปีนับจากวันที่ลงทะเบียนครั้งแรก
  3. การขอสำเร็จการศึกษา นักศึกษาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่อไปนี้
    (1) เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนและสอบผ่านทุกรายวิชาตามแผนการศึกษาของหลักสูตร
    (2) ผ่านข้อกำหนดของวิชาแกนและกิจกรรมหลักตามที่คณะและมหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
    (3) ผ่านการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่คณะกำหนด
    (4) นักศึกษาที่ปฏิบัติตามข้อกำหนด (1) และ (2) สามารถยื่นคำร้องขอสำเร็จการศึกษาต่องานทะเบียนภายในเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด มิเช่นนั้นจะไม่ได้รับการพิจารณาสำเร็จการศึกษาภายในภาคการศึกษานั้น
  4. ในกรณีที่นักศึกษาไม่ผ่านเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) ตามที่ระบุในข้อ 3.1 นักศึกษาอาจมีสิทธิ์ได้รับอนุปริญญา สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) เมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้:
    (1) นักศึกษาต้องสอบผ่านการเรียนรู้ทั้งหมดที่ระบุสำหรับอนุปริญญาและสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร โดยจะต้องมีหน่วยกิตขั้นต่ำอย่างน้อย 100 หน่วยกิต ประกอบด้วย หมวดวิชาศึกษาทั่วไปอย่างน้อย 24 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะอย่างน้อย 45 หน่วยกิต และหมวดวิชาเลือกเสรีอย่างน้อย 3 หน่วยกิต
    (2) มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (CGPA) ไม่น้อยกว่า 2.00 เมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญา
โครงสร้างหลักสูตร
(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2 หน่วยกิต
ทักษะความเข้าใจและสามารถดำเนินชีวิตให้เป็นผู้มีสุขภาพดี 2 หน่วยกิต
ทักษะความเข้าใจและปฏิบัติเป็นในด้านสิ่งแวดล้อม 2 หน่วยกิต
ทักษะความเข้าใจและปฏิบัติเป็นในด้านการเงินเศรษฐกิจและธุรกิจ 2 หน่วยกิต
ทักษะความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของกลุ่มความหลากหลายทางสภาพแวดล้อม/วัฒนธรรม 2 หน่วยกิต
ทักษะความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติเป็นในฐานะสมาชิกหนึ่งในสังคม 2 หน่วยกิต
รายวิชาภาษาต่างประเทศ 12 หน่วยกิต
(2)  หมวดวิชาการศึกษาพิเศษ 84 หน่วยกิต
วิชาแกน 12 หน่วยกิต
วิชาบังคับ 48 หน่วยกิต
วิชาเลือกเฉพาะทาง (Specialization) 18 หน่วยกิต
วิชาด้านการศึกษาจากประสบการณ์จริงและโครงงานวิจัยระดับปริญญาตรี (Capstone Courses) 6 หน่วยกิต
(3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

 

แผนการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1
ปี ชื่อรายวิชา หน่วยกิต รายวิชาบังคับเรียนก่อน
บรรยาย ปฎิบัติการ

ปีที่ 1

ทสภษ 111 ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค 1 1 1  –
ทสคพ  111 พีชคณิตเชิงเส้นและแคลคูลัสสำหรับการคำนวณ 3  –  –
ทสคพ  112 โครงสร้างไม่ต่อเนื่อง 3  –  –
ทสคพ  113 การเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน 2 1  –
ทสคพ  114 จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ขั้นแนะนำ 1  –  –
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 8
ภาคการศึกษาที่ 2
ปี ชื่อรายวิชา หน่วยกิต รายวิชาบังคับเรียนก่อน
บรรยาย ปฎิบัติการ

ปีที่ 1

ทสภษ 121 ทักษะการอ่าน 1 1 ทสภษ 111 ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค 1
ทสคพ  121 ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับการคำนวณ 3  –
ทสคพ  122 ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข 3  –
ทสคพ  123 การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ 2 1 ทสคพ  113 การเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน
ทสคพ  124 ระบบดิจิทัลเบื้องต้น 3  –
ทสคพ  126 ความเป็นผู้ประกอบการขั้นแนะนำ 3  –
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 4
ภาคการศึกษาที่ 1
ปี ชื่อรายวิชา หน่วยกิต รายวิชาบังคับเรียนก่อน
บรรยาย ปฎิบัติการ

ปีที่ 2

ทสภษ 211 ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค 2 1 1

ทสคพ  213 โครงสร้างและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 3  – ทสคพ  124 ระบบดิจิทัลเบื้องต้น
ทสคพ  214 โครงสร้างข้อมูลและการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี 3  – ทสคพ  123 การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
ทสคพ  215 เทคโนโลยีสื่อหลายแบบเชิงปฏิสัมพันธ์ขั้นแนะนำ 3  –
ทสคพ  216 ระบบฐานข้อมูลขั้นพื้นฐาน 3  –
ทสคพ  217 การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ 3  –
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2
หมวดวิชาเลือกเสรี 2
ภาคการศึกษาที่ 2

ปี

ชื่อรายวิชา หน่วยกิต รายวิชาบังคับเรียนก่อน
บรรยาย ปฎิบัติการ

ปีที่ 2

ทสภษ 221 การพูดในที่สาธารณะและการนำเสนอ 1 1

 –

ทสคพ  223 การพัฒนาเว็บขั้นแนะนำ 2 1 ทสคพ  123 การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

ทสคพ  216 ระบบฐานข้อมูลขั้นพื้นฐาน

ทสคพ  224 พื้นฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบสารสนเทศ 3  –

 –

ทสคพ  225 หลักการของระบบปฏิบัติการ 3  – ทสคพ  213 โครงสร้างและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
ทสคพ  214 โครงสร้างข้อมูลและการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี
ทสคพ  226 เครือข่ายสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ขั้นแนะนำ 3  – ทสคพ  217 การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
ทสคพ  227 วิทยาการข้อมูลขั้นแนะนำ 3  –

 –

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2
หมวดวิชาเลือกเสรี 2
ภาคการศึกษาที่ 1
ปี ชื่อรายวิชา หน่วยกิต รายวิชาบังคับเรียนก่อน
บรรยาย ปฎิบัติการ

ปีที่ 3

ทสภษ 311 การสื่อสารทางธุรกิจ 1 1 ทสภษ 121 ทักษะการอ่าน
ทสภษ 211 ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค 2
ทสคพ  311 จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์และธุรกิจ 2  –

 –

ทสคพ  312 ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร 3  – ทสคพ  225 หลักการของระบบปฏิบัติการ
ทสคพ  226 เครือข่ายสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ขั้นแนะนำ
ทสคพ  XXX Elective courses (Specialization)

หมวดวิชาเลือกเฉพาะทาง (Specialization)

6
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 4
หมวดวิชาเลือกเสรี 2
ภาคการศึกษาที่ 2
ปี ชื่อรายวิชา หน่วยกิต รายวิชาบังคับเรียนก่อน
บรรยาย ปฎิบัติการ

ปีที่ 3

ทสภษ 321 การเขียนเชิงวิชาการ 1 1 ทสภษ 121 ทักษะการอ่าน

ทสภษ 211 ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค 2

ทสคพ  XXX หมวดวิชาเลือกเฉพาะทาง (Specialization) 9
หมวดวิชาเลือกเสรี 2
ภาคการศึกษาที่ 1
ปี ชื่อรายวิชา หน่วยกิต รายวิชาบังคับเรียนก่อน
บรรยาย ปฎิบัติการ

ปีที่ 4

วิชาด้านการศึกษาจากประสบการณ์จริงและโครงงานวิจัยระดับปริญญาตรี (Capstone Courses) 6
ทสคพ  XXX หมวดวิชาเลือกเฉพาะทาง (Specialization) 3
ภาคการศึกษาที่ 2
ปี ชื่อรายวิชา หน่วยกิต รายวิชาบังคับเรียนก่อน
บรรยาย ปฎิบัติการ

ปีที่ 4

วิชาด้านการศึกษาจากประสบการณ์จริงและโครงงานวิจัยระดับปริญญาตรี (Capstone Courses)

6

แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล
แนวปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน
  • การบรรยายแบบเน้นการมีปฏิสัมพันธ์
  • การปฏิบัติการ
  • การอภิปราย
  • การเรียนรู้แบบร่วมมือ
  • การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ (การเรียนรู้จากการค้นพบ)
  • การเรียนรู้แบบเน้นการสืบสอบ
  • การให้คำแนะนำปรึกษาในรูปแบบการสอนงาน (Coaching)
  • การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (การเรียนรู้เชิงสำรวจ)
แนวปฏิบัติ ในการ ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
  • แบบทดสอบ
  • การสอบ
  • การสังเกตการณ์
  • การประเมินงานที่มอบหมาย
  • การประเมินรายงาน
  • การประเมินเรียงความ
  • การประเมินโครงการ
  • การประเมินการนำเสนอ
  • การประเมินการวิจารณ์
  • การประเมินการมีส่วนร่วม
  • การประเมินตนเอง
ผลลัพธ์การเรียนรู้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร PLOs
  1. PLO1: สามารถสื่อสารความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมและมนุษยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และการเงินได้
  2. PLO2: สามารถใช้กระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
  3. PLO3: สามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำงานด้วยตนเองโดยอิสระและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  4. PLO4: เห็นถึงความสำคัญของการมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม และมีคุณธรรมจริยธรรมในการทำงานด้านที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะกลุ่ม SLOs
  1. SLO1: สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาเฉพาะด้าน (track) ที่เกี่ยวข้องกับสายอาชีพในการพัฒนาระบบที่สามารถใช้ได้จริงได้อย่างหลากหลาย
  2. SLO2: สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ และใช้ความตระหนักรู้ถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการกำหนดกรอบ ออกแบบ และพัฒนาระบบที่ช่วยแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
อาชีพที่สามารถประกอบได้
  • ด้านวิชาการ เช่น ผู้สอนวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล วิศวกรข้อมูล
  • ด้านการออกแบบและพัฒนาระบบ เช่น นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ นักออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กร นักพัฒนาระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ นักเขียนโปรแกรม นักพัฒนาเว็บไซต์ นักออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ วิศวกรซอฟต์แวร์ นักพัฒนามัลติมีเดีย นักพัฒนาเกม
  • ด้านการทดสอบระบบ เช่น นักทดสอบซอฟต์แวร์ นักวิเคราะห์ระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์
  • ด้านการบริหารและควบคุมระบบ เช่น ผู้ดูแลฐานข้อมูล ผู้ดูแลเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Download

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) เปิดสอน 8 สาขาวิชาเฉพาะทาง (Specialization) ที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานและครอบคลุมสายงานด้าน IT นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต จากสาขาวิชาเฉพาะทางทั้งหมด ตามระบุในรายละเอียดด้านล่าง นอกจากนี้ นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต จากสาขาวิชาเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง เพื่อได้รับการรับรองว่าเป็นสาขาวิชาโท

วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง นักศึกษาจะได้ศึกษาหัวข้อหลักที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น การวิเคราะห์อัลกอริทึม ระบบการทำงาน และการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาต่างๆ ทฤษฎีการคำนวณ เป็นต้น
วิชาหลัก

  • Foundations in Computer Science
  • Algorithms Design and Analysis
  • Principles of Compiler Design
  • Theory of Computation
ระบบฐานข้อมูล
ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานและแนวคิดประยุกต์ในระบบการจัดการฐานข้อมูล นักศึกษาจะได้พัฒนาทักษะทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการใช้เทคโนโลยีฐานข้อมูลกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เช่น คลังข้อมูลและระบบธุรกิจอัจฉริยะ การบริหารฐานข้อมูล เป็นต้น
วิชาหลัก

  • Database Design
  • Advanced Database System
  • Introduction to Big Data Management
  • Information Retrieval and Text Mining
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัย
นักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกฝนแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัยทางไซเบอร์ เช่น ระบบเครือข่ายแบบเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด (Local Area Networks: LAN) และการบริหารจัดการเครือข่าย (Network Management) เครือข่ายไร้สาย (Wireless) อินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) ระบบคลาวด์ (Cloud Computing Systems) การบำรุงรักษา การพัฒนาโปรแกรม และความปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง
วิชาหลัก

  • Cloud Computing Systems, Services and Applications
  • Embedded Systems and Internet of Things
  • Advanced Cybersecurity
  • Internet of Things Security and Privacy
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
มุ่งเน้นศึกษาแนวทางที่เป็นระบบในกระบวนการพัฒนา การวิเคราะห์ การออกแบบ การนำไปใช้งาน การทดสอบ การบำรุงรักษา และการประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์ นักศึกษาจะได้เรียนรู้พื้นฐานของการพัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้งาน การพัฒนาและออกแบบซอฟต์แวร์ (software implementation) การตรวจสอบซอฟต์แวร์ (Code Review) ตลอดจนการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการสร้างซอฟต์แวร์ เช่น Agile, Scrum
วิชาหลัก

  • Practical Software Engineering
  • Software Requirement Engineering
  • Software Design and Architecture
  • Software Process and Quality Assurance
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อระบบสุขภาพ
มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันด้านสุขภาพและการดูแลสุขภาพ นักศึกษาจะได้ศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการดูแลสุขภาพ ระบบข้อมูลทางคลินิก ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในองค์กรด้านการดูแลสุขภาพ ตลอดจนความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลในการดูแลสุขภาพ
วิชาหลัก

  • Introduction to Healthcare Systems
  • Information Technology for Healthcare Services
  • Information Models and Healthcare Information Standards
  • Practical Healthcare Management
เทคโนโลยีสื่อผสมเชิงโต้ตอบ
ศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ในการสร้างระบบที่เกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อสนับสนุนการทำงานในด้านต่างๆ เช่น ศิลปะ การศึกษา บันเทิง วิศวกรรม การแพทย์ และวิทยาศาสตร์ นักศึกษาจะได้ศึกษาหัวข้อที่สำคัญ เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก การเล่าเรื่องดิจิทัลและการออกแบบภาพ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) เป็นต้น
วิชาหลัก

  • Computer Graphics
  • Digital Storytelling and Visual Design
  • Virtual Reality
  • Technology for Game Development
การบริหารจัดการระบบสารสนเทศ
มุ่งเน้นวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และระบบสารสนเทศ (IS) เพื่อสนับสนุนและปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร นักศึกษาจะได้เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบสารสนเทศ สารสนเทศและการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ การออกแบบประสบการณ์เบื้องต้น ฯลฯ
วิชาหลัก

  • Information Systems Management
  • Information and Business Process Management
  • Introduction to Experience Design
  • Data Warehousing and Business Intelligence
ปัญญาประดิษฐ์
ศึกษาพื้นฐานและแนวคิดการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ นักศึกษาจะได้เรียนรู้วิชาหลักด้านปัญญาประดิษฐ์ เช่น การเรียนรู้ของเครื่องเบื้องต้น (Introduction to Machine Learning) การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) การประมวลผลภาษาธรรมชาติเบื้องต้น (Introduction to Natural Language Processing) คอมพิวเตอร์วิทัศน์เบื้องต้น (Introduction to Computer Vision) เป็นต้น
วิชาหลัก

  • Introduction to Machine Learning
  • Introduction to Natural Language Processing
  • Introduction to Computer Vision
  • Deep Learning
รอบ 1 ICT – Portfolio

รับสมัคร: 2-18 กันยายน 2567

สมัครได้ที่: https://academic.ict.mahidol.ac.th/admission/apply/

คุณสมบัติทางการศึกษา

1. กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้

  • มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)  แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์–คอมพิวเตอร์, คณิต–คอมพิวเตอร์
  • Grade 12 (US Curriculum, Cambridge AS-Level and/or A-Level in at least three different subjects with a minimum grade of C, or International Baccalaureate)
  • มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา

หมายเหตุ: สำหรับนักเรียนโรงเรียนนานาชาติ จะต้องมีหน่วยกิต คณิต ≥ 7 หน่วยกิต วิทย์ ≥ 9 หน่วยกิต อังกฤษ ≥ 9 หน่วยกิต หรือเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 4 วิชา หรือ 4 ภาคการศึกษา

2. มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 4 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50

หมายเหตุสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ

เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร

  1. Portfolio ภาษาอังกฤษ (.pdf จำนวน 1 ไฟล์ ไม่จำกัดหน้า ขนาดไม่เกิน 3 MB เท่านั้น)
  2. เรียงความภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (.pdf) ในหัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต”
  3. Video Presentation ประวัติและผลงาน เป็นภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 3 นาที (ให้จัดทำเป็นไฟล์ .mp4 และ Upload ขึ้น YouTube หรือ Google Drive)
  4. ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ หรืออย่างน้อย 4 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 (.pdf)
  5. รูปถ่าย เป็นไฟล์นามสกุล .jpg หรือ .jpeg โดยขนาดมีความกว้าง 230 pixel ความสูง 312 pixel ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 150 KB
  6. สำเนาบัตรประชาชน (สำหรับนักเรียนไทย) หรือ สำเนาหน้าแรกของหนังสือเดินทาง (สำหรับนักเรียนต่างชาติ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
  7. สำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับผู้สมัครที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)

** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **

รอบ 2 MU – Portfolio (TCAS1)

รอบ 1/1: รับสมัคร 1 ตุลาคม 2567 เวลา 09.30 น. – 16 ตุลาคม 2567 เวลา 12.00 น.

รอบ 1/2: รับสมัคร 2 ธันวาคม 2567 เวลา 09.30 น. – 8 มกราคม 2568 เวลา 12.00 น.

สมัครได้ที่https://tcas.mahidol.ac.th/

คุณสมบัติทางการศึกษา

  1. กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
    • มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)  แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์–คอมพิวเตอร์, คณิต–คอมพิวเตอร์
    • Grade 12 (US Curriculum, Cambridge AS-Level and/or A-Level in at least three different subjects with a minimum grade of C, or International Baccalaureate)
    • มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา
  2. มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 4 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50
  3. มีคะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แต่ละสาระการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่า 2.50

หมายเหตุสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ

เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร

  1. Portfolio ภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 10 หน้า(.pdf จำนวน 1 ไฟล์)
  2. เรียงความภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (.pdf) ในหัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต”
  3. Video Presentation ประวัติและผลงาน เป็นภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 3 นาที(.mp4)
  4. ใบแสดงผลการศึกษา (ปพ.1) ฉบับสมบูรณ์ หรือ 4 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 (.pdf)
  5. รูปถ่าย(.jpg)
  6. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง(.pdf)
  7. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง(.pdf)

** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **

รอบ 3 ICT – รับตรง จัดสอบ

รับสมัคร: กุมภาพันธ์ 2568

สมัครได้ที่: www.ict.mahidol.ac.th

คุณสมบัติทางการศึกษา

  1. กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาทุกแผนการศึกษา ในระดับต่างๆ ดังนี้
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าทุกแผนการศึกษาหรือ
  • Grade 12 (US Curriculum, Cambridge AS-Level and/or A-Level in at least three different subjects with a minimum grade of C, or International Baccalaureate) หรือ
  • มีผลสอบ GED ไม่ต่ำกว่า 145 คะแนนในแต่ละรายวิชา
  1. มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 5 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 2.50

การสอบ

  1. สอบข้อเขียนของคณะ 4 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์
  2. มีสอบชิงทุนการศึกษา

เอกสารประกอบการสมัคร

  1. ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ หรืออย่างน้อย 5 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 (.pdf)
  2. รูปถ่ายเป็นไฟล์นามสกุล.jpg หรือ .jpeg โดยมีความกว้าง 230 pixel ความสูง 312 pixel ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 150 KB
  3. สำเนาบัตรประชาชน (สำหรับนักเรียนไทย) หรือ สำเนาหน้าแรกของหนังสือเดินทาง (สำหรับนักเรียนต่างชาติ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับผู้สมัครที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)

** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **

รอบ 4 Quota (TCAS 2)

รับสมัคร: 20 มีนาคม 2568 เวลา 09.30 น. – 8 เมษายน 2568 เวลา 23.59 น.

สมัครได้ที่https://tcas.mahidol.ac.th/

คุณสมบัติทางการศึกษา

แผนการศึกษา : วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์-คอม, คณิต-คอม

วุฒิการศึกษา

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาอยู่ ในระดับต่างๆ ดังนี้
    • มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)  หรือ
    • มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา
  2. ตรงตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    • เป็นนักเรียนในกลุ่มโรงเรียน MoU ได้แก่
      1. โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
      2. โรงเรียนอัสสัมชัญ
      3. โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
      4. โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
      5. โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
      6. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
      7. โรงเรียนนาคประสิทธิ์ มูลนิธิวัดบางช้างเหนือ
      8. โรงเรียนสตรีวิทยา2 ในพระราชูปถัมภ์
      9. โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
      10. โรงเรียนกรพิทักษ์ศึกษา
      11. โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
      12. โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
      13. โรงเรียนสุคนธีรวิทย์
      14. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

      หรือ

    • เป็นนักเรียนที่ผ่านการเข้าค่าย สอวน. / ค่ายโอลิมปิกวิชาการ หรือ
    • ได้รับรางวัลการแข่งขันด้าน IT ในระดับจังหวัดขึ้นไป
  3. มีคะแนนสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
  • TGAT, TPAT3
    • TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
    • TPAT3 ≥ 45 คะแนน

หรือ

  • A-Level
    • คณิตศาสตร์ 1 ≥ 20 คะแนน
    • ภาษาอังกฤษ ≥ 50 คะแนน
  1. มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) อย่างน้อย 5 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 3.00
  2. มีคะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แต่ละสาระการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่า 3.00

หมายเหตุสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ

เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร

  1. เรียงความภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (.pdf) ในหัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต”
  2. เอกสารแสดงการเป็นนักเรียนในโรงเรียนกลุ่ม MoU หรือใบประกาศนียบัตรผ่านเข้าค่าย สอวน. / ค่ายโอลิมปิกวิชาการ หรือ ใบประกาศนียบัตรผลการแข่งขันด้าน IT
  3. คะแนนสอบ TGAT, TPAT3 หรือ A-Level คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ
  4. ใบแสดงผลการศึกษา (ปพ.1) ฉบับสมบูรณ์ หรืออย่างน้อย 5 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 (.pdf)
  5. รูปถ่าย (.jpg)
  6. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
  7. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)

** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **

รอบ 5 Admission (TCAS 3)

รับสมัคร: 6-12 พฤษภาคม 2568

สมัครได้ที่: https://student.mytcas.com/

คุณสมบัติทางการศึกษา

แผนการศึกษา : วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์-คอม, คณิต-คอม

วุฒิการศึกษา

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาอยู่ ในระดับต่างๆ ดังนี้
    • มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)  หรือ
    • มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา
  2. มีผลสอบ ดังนี้
  • TGAT, TPAT3
    • TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
    • TPAT3 ≥ 45 คะแนน
  • A-Level
    • คณิตศาสตร์ 1 ≥ 20 คะแนน
    • ภาษาอังกฤษ ≥ 50 คะแนน
  1. มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 6 ภาคการศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50

เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร

  • คะแนน TGAT, TPAT3 (ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์) และ A-Level (คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ)

เกณฑ์การสมัคร / การคัดเลือก

*จะประกาศให้ทราบภายหลัง*

รอบ 6 Direct Admission (TCAS 4)

รับสมัคร:  มิถุนายน 2568

สมัครได้ที่https://tcas.mahidol.ac.th/

คุณสมบัติทางการศึกษา

แผนการศึกษา : วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์-คอม, คณิต-คอม

วุฒิการศึกษา

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาอยู่ ในระดับต่างๆ ดังนี้
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)  หรือ
  • มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา
  1. มีคะแนนสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
  • TGAT, TPAT3
    • TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
    • TPAT3 ≥ 45 คะแนน

หรือ

  • A-Level
    • คณิตศาสตร์ 1 ≥ 20 คะแนน
    • ภาษาอังกฤษ ≥ 50 คะแนน
  1. มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 6 ภาคการศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.00

เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร

  • คะแนน TGAT, TPAT3 (ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์)  หรือ A-Level (คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ)

เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร

  1. ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.00 (.pdf)
  2. ผลคะแนนคณิตศาสตร์ตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (.pdf)
  3. ผลคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (.pdf)
  4. รูปถ่ายเป็นไฟล์นามสกุล.jpg หรือ .jpeg โดยมีความกว้าง 230 pixel ความสูง 312 pixel ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 150 KB
  5. สำเนาบัตรประชาชน (สำหรับนักเรียนไทย) หรือ สำเนาหน้าแรกของหนังสือเดินทาง (สำหรับนักเรียนต่างชาติ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
  6. สำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับผู้สมัครที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)

** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **

รอบ International Direct Admissions

สมัครออนไลน์https://academic.ict.mahidol.ac.th/admission/apply/

กำหนดการรับสมัคร รอบ International Direct Admissions 2025
รายละเอียด รอบ 1 รอบ 2 รอบ 3 รอบ 4
 ช่วงเวลารับสมัคร 2 – 30 ก.ย. 2567 1 ต.ค. – 31 ธ.ค. 2567 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 2568 1 เม.ย. – 31 พ.ค. 2568
 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ พ.ย. 2567
(สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายใน
วันที่ 30 ก.ย. 2567)
ม.ค. 2568
(สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายใน
วันที่ 31 ธ.ค. 2567)
เม.ย. 2568
(สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายใน
วันที่ 31 มี.ค. 2568)
มิ.ย. 2568
(สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายใน
วันที่ 31 พ.ค. 2568)
 สอบสัมภาษณ์ 3 พ.ย. 2567 19 ม.ค. 2568 22 เม.ย. 2568 6 มิ.ย. 2568
 ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา พ.ย. 2567 ก.พ. 2568 เม.ย. 2568 มิ.ย. 2568

คุณสมบัติทางการศึกษา

  1. สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ตามระบบโรงเรียนไทย หรือ โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือ จากต่างประเทศ ทุกแผนการศึกษา ดังนี้
  • มัธยมศึกษาปีที่ 6
  • Grade 12 (US Curriculum, Cambridge AS-Level and/or A-Level in at least three different subjects with a minimum grade of C, or International Baccalaureate)
  • GED (145 คะแนนในแต่ละวิชา)
  1. มีเกรดเฉลี่ยสะสมจากโรงเรียนที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเทียบเท่า (เช่น ระดับ C+)
  2. มีผลการสอบผ่านคะแนนภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบผ่านถึงวันสมัครเข้าศึกษา ดังนี้
  • TOEFL Paper Based Test 500 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 49 คะแนนขึ้นไป) หรือ
  • TOEFL ITP 500 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 49 คะแนนขึ้นไป) หรือ
  • TOEFL Internet Based Test 60 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 15 คะแนนขึ้นไป) หรือ
  • IELTS 5.0 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 5.0 คะแนนขึ้นไป) หรือ
  • TOEIC 600 คะแนนขึ้นไป หรือ
  • SAT (Evidence-Based Reading and Writing) 400 คะแนนขึ้นไป หรือ
  • The Duolingo English Test 80 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 75 คะแนนขึ้นไป) หรือ
  • AP (Advanced Placement) English Language and Composition 4 คะแนนขึ้นไป หรือ
  • IB (International Baccalaureate) HL English A หรือ B 4 คะแนนขึ้นไป หรือ
  • IB (International Baccalaureate) SL English A  หรือ B 5 คะแนนขึ้นไป หรือ
  • Cambridge IGCSE First Language English at Grade C and above/minimum Grade C
  • Cambridge IGCSE English as a Second Language at Grade B and above/minimum Grade B

ยกเว้น กรณีที่ผู้สมัครเป็นชาวต่างชาติจากกลุ่มประเทศสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ ไม่ต้องมีผลการสอบผ่านคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ดังกล่าว

  1. มีผลการสอบผ่านคะแนนทางด้านวิชาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบผ่านถึงวันสมัครเข้าศึกษา ดังนี้
  • SAT (Math) 600 คะแนนขึ้นไป หรือ
  • ACT (Math) 25 คะแนนขึ้นไป หรือ
  • Gaokao (Math) 70 คะแนนขึ้นไป หรือ
  • AP (Advanced Placement) Calculus AB หรือ Calculus BC 4 คะแนนขึ้นไป หรือ
  • IB Diploma (International Baccalaureate) HL Math หรือ Computer Science 4 คะแนนขึ้นไป หรือ
  • IB Diploma (International Baccalaureate) SL Math หรือ Computer Science 5 คะแนนขึ้นไป หรือ
  • Cambridge IGCSE Mathematics (0580) Extended at Grade B and above/minimum Grade B

การชำระค่าสมัครสอบ 600 บาท (ไม่สามารถขอคืนเงินค่าสมัครได้)

เอกสารประกอบการสมัคร

  1. ประกาศนียบัตรหรือหนังสือรับรองเทียบคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ (.pdf)
  2. เอกสารแสดงผลการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา (Transcript) (.pdf)
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับผู้สมัครชาวไทย) หรือ สำเนาหนังสือเดินทางที่ระบุ วัน เดือน ปีเกิด และวันหมดอายุของหนังสือเดินทาง (สำหรับผู้สมัครชาวต่างชาติ) (.pdf)
  4. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน (.jpg หรือ .jpeg ขนาดไฟล์ไม่เกิน 150 KB)
  5. ประวัติส่วนตัว (Resume) (ถ้ามี) (.pdf)
  6. เรียงความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเลือกเข้าศึกษาต่อคณะ ICT (statement of purpose) ของผู้สมัคร จำนวนไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 (.pdf)
  7. ผลสอบวิชาคณิตศาสตร์ตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (.pdf)
  8. ผลสอบวิชาภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (.pdf)
  9. เอกสารแสดงรางวัล เกียรติยศ ต่าง ๆ (ถ้ามี) (.pdf)

*** หมายเหตุ ผู้สมัครต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ และ Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ ***

การติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

กำหนดการ รอบ 1 ICT – Portfolio
ลำดับ กิจกรรม วันที่
1 รับสมัคร 2-18 ก.ย. 2567
2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ 25 ก.ย. 2567
3 สอบสัมภาษณ์ 28 ก.ย. 2567
4 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก 30 ก.ย. 2567
5 ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) 5 – 6 ก.พ. 2568
6 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 19 ก.พ. 2568
7 ICT Preparatory Program ก.ค. 2568
8 เปิดภาคการศึกษา TBA
กำหนดการ รอบ 2 MU – Portfolio (TCAS1)
ลำดับ กิจกรรม รอบที่ 1/1  รอบที่ 1/2 
1 รับสมัคร 1 ต.ค. 2567 เวลา 9.30 น. – 16 ต.ค. 2567 เวลา 12.00 น. 2 ธ.ค. 2567 เวลา 9.30 น. – 8 ม.ค. 2568 เวลา 12.00 น.
2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ 31 ต.ค. 2567 เวลา 9.30 น. 17 ม.ค. 2568 เวลา 9.30 น.
3 สอบสัมภาษณ์ 3 พ.ย. 2567 19 ม.ค. 2568
4 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (ตัวจริงและตัวสำรอง) 11 พ.ย. 2567 เวลา 9.30 น. 23 ม.ค. 2568 เวลา 9.30 น
5 ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มตัวจริง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS 11 พ.ย. 2567 เวลา 9.30 น. – 12 พ.ย. 2567 เวลา 12.00 น. 23 ม.ค. 2568 เวลา 9.30 น. – 24 ม.ค. 2568 เวลา 12.00 น.
6 ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มสำรอง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS 14 พ.ย. 2567 เวลา 9.30 – 15.00 น. 28 ม.ค. 2568 เวลา 9.30 – 15.00 น.
7 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก 22 พ.ย. 2567 เวลา 9.30 น. 31 ม.ค. 2568 เวลา 9.30 น.
8 ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) 5 – 6 ก.พ. 2568  5 – 6 ก.พ. 2568
9 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 19 ก.พ. 2568 เวลา 9.30 น. 19 ก.พ. 2568 เวลา 9.30 น.
10 ICT Preparatory Program ก.ค. 2568 ก.ค. 2568
11 เปิดภาคการศึกษา TBA TBA
กำหนดการ รอบ 3 ICT รับตรงจัดสอบ
ลำดับ กิจกรรม วันที่ 
1 รับสมัคร ก.พ. 2568
2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบข้อเขียน TBA
3 สอบข้อเขียน TBA
4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ TBA
5 สอบสัมภาษณ์ TBA
6 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก TBA
7 ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) TBA
8 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา TBA
9 ICT Preparatory Program ก.ค. 2568
10 เปิดภาคการศึกษา TBA
กำหนดการ รอบ 4 MU – Quota (TCAS 2)
ลำดับ กิจกรรม วันที่
1 รับสมัคร 20 มี.ค. 2568 เวลา 9.30 น. – 8 เม.ย. 2568 เวลา 23.59 น.
2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ 20 เม.ย. 2568 เวลา 9.30 น.
3 สอบสัมภาษณ์ 22 เม.ย. 2568
4 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (ตัวจริงและตัวสำรอง) 25 เม.ย. 2568
5 ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มตัวจริง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS 25 เม.ย. 2568 เวลา 9.30 น. – 26 เม.ย. 2568 เวลา 12.00 น.
6 ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มสำรอง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS 27 เม.ย. 2568 เวลา 9.30 – 12.00 น.
7 ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS 2 พ.ค. 2568 เวลา 9.30 น.
8 ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) 2 -3 พ.ค. 2568
9 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 14 พ.ค. 68 เวลา 9.30 น.
10 ICT Preparatory Program ก.ค. 2568
11 เปิดภาคการศึกษา TBA
กำหนดการ รอบ 5 Admission (TCAS 3)
ลำดับ กิจกรรม วันที่
1 รับสมัคร 6 – 12 พ.ค. 2568
2 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก TBA
3 ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) TBA
4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 6 มิ.ย. 68 เวลา 9.30 น.
5 ICT Preparatory Program ก.ค. 2568
6 เปิดภาคการศึกษา TBA
กำหนดการ รอบ 6 Direct Admission (TCAS 4)
ลำดับ กิจกรรม วันที่
1 รับสมัคร มิ.ย. 2568
2 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก TBA
3 ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) TBA
4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา TBA
5 ICT Preparatory Program ก.ค. 2568
6 เปิดภาคการศึกษา TBA
กำหนดการ รอบ International Direct Admissions
กำหนดการรับสมัคร รอบ International Direct Admissions 2025
รายละเอียด รอบ 1 รอบ 2 รอบ 3 รอบ 4
 ช่วงเวลารับสมัคร 2 – 30 ก.ย. 2567 1 ต.ค. – 31 ธ.ค. 2567 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 2568 1 เม.ย. – 31 พ.ค. 2568
 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ พ.ย. 2567
(สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายใน
วันที่ 30 ก.ย. 2567)
ก.พ. 2568
(สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายใน
วันที่ 31 ธ.ค. 2567)
เม.ย. 2568
(สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายใน
วันที่ 31 มี.ค. 2568)
มิ.ย. 2568
(สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายใน
วันที่ 31 พ.ค. 2568)
 สอบสัมภาษณ์ 3 พ.ย. 2567 19 ม.ค. 2568 22 เม.ย. 2568 6 มิ.ย. 2568
 ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา พ.ย. 2567 ก.พ. 2568 เม.ย. 2568 มิ.ย. 2568

อัตราค่าธรรมเนียมแบบเหมาจ่าย หลักสูตรวิทยาศาสตรบันฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นานาชาติ)
สำหรับนักศึกษารหัสประจำตัว ID66 เป็นต้นไป

ภาคการศึกษาที่ 1

ภาคการศึกษาที่ 2

ภาคฤดูร้อน

นักศึกษาไทย

นักศึกษาต่างชาติ

นักศึกษาไทย

นักศึกษาต่างชาติ

นักศึกษา & ไทยนักศึกษาต่างชาติ

75,000 บาท

90,000 บาท

75,000 บาท

90,000 บาท

25,000 บาท

สำหรับนักศึกษาที่เรียนเกินจำนวนภาคการศึกษาที่กำหนดในหลักสูตร หรือลงทะเบียนเรียนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 9 หน่วยกิต จัดเก็บในอัตราภาคการศึกษาละ 25,000 บาท