หลักสูตร วท.ม. สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน

  /    /  หลักสูตร วท.ม. สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน

If You Are Looking to Improve Your Knowledge and Skills in Game Technology and Gamification

This Program is Right for You.

แนะนำหลักสูตร

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ หลาย ๆ บริษัทเริ่มนำเทคโนโลยีเกมมาใช้ในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะด้านการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากเกมจะเป็นสื่อความบันเทิงแล้ว ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเกมมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนการสอนในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาทั่ว ๆ ไป, ด้านการแพทย์, ด้านการทหาร และ ด้านศิลปะ กล่าวคือ เทคโนโลยีเกมที่เรียกว่า Virtual Reality หรือ VR คือ การใช้เทคโนโลยีเกมจำลองสถานที่ต่าง ๆ ขึ้นมาได้อย่างสมจริง สถานที่ที่ถูกจำลองขึ้นมานั้นอาจจะเป็นสถานที่ที่มีราคาสูงหรือสถานที่ที่มีความอันตรายเกินกว่าที่เราจะไปฝึกซ้อมในสถานที่จริงได้ เช่น ห้องผ่าตัด หรือ สนามรบ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งใน การพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเกม

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร ทั้งหมด 2 ปี และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม กล่าวคือผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ก่อนกำหนด หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ทั้งมีและไม่มีประสบการณ์ด้านเกม สำหรับผู้เรียนที่ไม่มีประสบการณ์ด้านเกมมาก่อน โดยปกติจะใช้เวลาสองปีในการสำเร็จการศึกษา โดยปีการศึกษาแรก จะเรียนรายวิชา (Course work) ทั้งหมด และในปีการศึกษาที่ 2 ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ และลงมือทำงานวิจัย (Thesis / Thematic Paper) ในหัวข้อที่ตนเองสนใจ สำหรับผู้เรียนที่มีประสบการณ์ด้านเกมมาแล้ว สามารถทำวิจัยควบคู่ไปกับการเรียนรายวิชาได้เลยตั้งแต่ปีการศึกษาที่ 1 โดยที่ผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในหนึ่งปี

หากคุณสนใจที่จะพัฒนาความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับคุณ!

ปรัชญาการศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน เน้นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered Approach), และเน้นการผสมผสานระหว่างทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (การเรียนที่สอนให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยทั้งผู้เรียนและผู้สอนจะเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน) และปรัชญาสารัตถนิยม (ปรัชญาที่ยึดเนื้อหาเป็นหลักสำคัญของการศึกษา) (Constructivism and Essentialism Blending) ทั้งนี้ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered Approach) และ การผสมผสานระหว่างทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และปรัชญาสารัตถนิยม ยังสอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย

วิสัยทัศน์

เป็นสถาบันชั้นนำที่สามารถตอบสนองความต้องการของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทางด้านการศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม ทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลระดับสากล

วัตถุประสงค์

1. Have knowledge in theories, practices, and research of game technology and gamification.
2. Develop solutions and innovations using game technology and gamification for the benefits of society.
3. Adhere appropriately ethics, integrity, discipline, and respect for the rights of other people and intellectual properties.
4. Effectively communicate in English, who are proficient in the use of information technology, and who possess creativity, leadership and teamwork.

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน (หลักสูตรนานาชาติ – ภาคพิเศษ)

ที่อยู่

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

ติดต่อ

Phone: +66 02 441-0909 / Fax. +66 02 441-0808

E-mail: ict@mahidol.ac.th

ปีที่ก่อตั้ง

2557

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน)
วท.ม. (เทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน)

ภาษาที่ใช้

ภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดี

สถานที่จัดการเรียนการสอน

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

ระบบการจัดการศึกษา

ระบบจัดการเรียนการสอน
2 ภาคการศึกษา/ปี

ภาคฤดูร้อน
มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
วันธรรมดา ช่วงเย็น (18.00 – 21.00 น.) และ วันหยุดสุดสัปดาห์ (09.00 – 16.00 น.)
ภาคเรียนที่ 1: สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 2: มกราคม – พฤษภาคม
ฤดูร้อน :มิถุนายน-กรกฎาคม

ระยะเวลาการสำเร็จการศึกษา

ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา: 2 ปี
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร: ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

Plan 1.2 Academic (Course work and research)
1. Students must complete their courses as stated in the curriculum with a minimum CUM-GPA of 3.00.
2. Propose thesis to the committee appointed by the Faculty of Graduate Studies and to the public and pass oral thesis examination as the final stage.
3. The complete or part of the thesis has to be published as a review article, accepted as an innovation, acknowledged as a creative product, or accepted as an academic article that can be searched.
4. Other requirements shall follow those that specified by the Faculty of Graduate Studies.

Plan 2 Profession
1. Students must complete their courses as stated in the curriculum with a minimum CUM-GPA of 3.00.
2. Students must pass the Comprehensive Examination following Regulations of Mahidol University on Graduate Studies.
3. Students must present their Independent Study and pass the defense examination by following Regulations of Mahidol University on Faculty Graduate Studies, and the examination is an open system for those interested to listen.
4. Other requirements shall follow those that specified by the Faculty of Graduate Studies.

โครงสร้างหลักสูตร

แผน Plan 1.2 Academic (Course work and research) Plan 2 Profession
1. หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต 15 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต 15 หน่วยกิต
3. วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
4. การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
จำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต 36 หน่วยกิต

แผนการศึกษา

Plan 1.2 Academic (Course work and research)
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสกท 511 ขั้นตอนวิธีและปัญญาประดิษฐ์สำหรับเกมคอมพิวเตอร์ 3(3-0-6)
ทสกท 521 กราฟฟิกส์และการสร้างภาพ 3 มิติ 3(3-0-6)
ทสกท 531 เกมมิฟิเคชัน 3(3-0-6)
ทสกท 551 หลักการตลาดและการจัดการการผลิตเกม 2(2-0-4)
ทสกท 583 วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีเกม 1(1-0-2)
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสกท 532 การออกแบบและการพัฒนาเกม 3(3-0-6)
ทสกท XXX หมวดวิชาเลือก 3 วิชา 9 หน่วยกิต
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคฤดูร้อน
ทสกท 698 วิทยานิพนธ์ (Topic Selection and Literature Review) 4(0-12-0)
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสกท 698 วิทยานิพนธ์ (Proposal, Design, and Implementation) 4(0-12-0)
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสกท 698 วิทยานิพนธ์ (Evaluation, Manuscript Writing, and Defense) 4(0-12-0)
Plan 2 Profession
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสกท 511 ขั้นตอนวิธีและปัญญาประดิษฐ์สำหรับเกมคอมพิวเตอร์ 3(3-0-6)
ทสกท 521 กราฟฟิกส์และการสร้างภาพ 3 มิติ 3(3-0-6)
ทสกท 531 เกมมิฟิเคชัน 3(3-0-6)
ทสกท 551 หลักการตลาดและการจัดการการผลิตเกม 2(2-0-4)
ทสกท 582 วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางด้านเทคโนโลยีเกม 1(1-0-2)
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสกท 532 การออกแบบและการพัฒนาเกม 3(3-0-6)
ทสกท XXX หมวดวิชาเลือก 3 วิชา 9 หน่วยกิต
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคฤดูร้อน
ทสกท 696 การค้นคว้าอิสระ 2(0-6-0)
ทสกท XXX หมวดวิชาเลือก 2 วิชา 6 หน่วยกิต
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสกท 696 การค้นคว้าอิสระ 2(0-6-0)
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสกท 696 การค้นคว้าอิสระ 2(0-6-0)

หมวดวิชาเลือก

นักศึกษาสามารถเลือกเรียนหมวดวิชาต่าง ๆ ดังนี้

หมวดวิชาเลือก

ทสกท 522 ความจริงเสมือน
ทสกท 523 คอมพิวเตอร์วิทัศน์
ทสกท 524 การทำภาพเคลื่อนไหวสำหรับเกมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง
ทสกท 533 การพัฒนาเกมเอนจิน
ทสกท 534 เครื่องมือสำหรับเกมคอมพิวเตอร์
ทสกท 541 การพัฒนาเกมออนไลน์ในระบบผู้เล่นหลายคน
ทสกท 542 การเขียนโปรแกรมและเทคโนโลยีเกมคอนโซล
ทสกท 543 การเขียนโปรแกรมเกมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
ทสกท 552 การเล่าเรื่องในระบบดิจิตอลและการสร้างหนังจากเกม
ทสกท 553 การออกแบบทัศนศิลป์สำหรับเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ
ทสกท 591 หัวข้อพิเศษทางด้านเทคโนโลยีเกม

หัวข้อวิจัย

  • Artificial Intelligence
  • Virtual Reality
  • Computer Vision
  • Gamification
  • Animation
  • Graphics
  • Online Games
  • Mobile Application

แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล

แนวปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน
  • Interaction-based Lecture
  • Lab
  • Discussion
  • Cooperative Learning
  • Experience-based Case Study (Discovery Learning)
  • Inquiry-based Learning
  • Coaching
  • Project-based Learning (Expeditionary Learning)
แนวปฏิบัติ ในการ ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
  • Quiz
  • Examination
  • Observation
  • Assignment Evaluation
  • Report Evaluation
  • Essay Evaluation
  • Project Evaluation
  • Presentation Evaluation
  • Critique Evaluation
  • Participation Assessment
  • Self-Assessment

ผลลัพธ์การเรียนรู้

  • PLO1 Produce work that adheres to appropriate ethics and professional codes of conduct.
  • PLO2 Comprehend computer science knowledge necessary for game development including artificial intelligence and interactive systems.
  • PLO3 Comprehend game design and development process from requirements gathering, design and implementation, project management, documentation, testing, to product marketing.
  • PLO4 Apply game technology and gamification to solve real-world problems such as those in medicine, military, education, and entertainment.
  • PLO5 Evaluate existing game technology and gamification to identify strengths, weaknesses, and opportunities for innovations. (Plan 1.2 only)
  • PLO6 Offer creative solutions to game technology and gamification problems. (Plan 1.2 only)
  • PLO7 Demonstrate effective English communication and proficiency in the use of information technology.
  • PLO8 Demonstrate creativity, leadership, and teamwork.

อาชีพที่สามารถประกอบได้

1. นักวิจัยด้านเทคโนโลยีเกม และเกมมิฟิเคชัน
2. นักออกแบบเกม
3. นักพัฒนาเกม
4. นักวิเคราะห์และทดสอบเกม
5. ผู้ผลิตสื่อเชิงโต้ตอบ หรือสร้างสรรค์
6. ผู้ออกแบบและพัฒนาระบบจำลองเสมือนจริง
7. นักพัฒนาด้านมัลติมีเดีย
8. นักพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์
9. นักพัฒนาด้านการทำภาพเคลื่อนไหว

Download

สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาต่อ

Eligible students must have the following qualifications:

  1. Holding a Bachelor’s degree or equivalent in Computer Science, Computer Engineering, Information Technology, Information and Communication Technology, Multimedia, Digital Media, Interactive Media, Game Design, eSports, or other related fields.
  2. Have a cumulative GPA of not less than 2.75.
  3. Have an English Proficiency Examination score as required by the Faculty of Graduate Studies.
  4. Applicants with qualifications other than 2 – 3 may be considered by the Program Director, and the Dean of the Faculty of Graduate Studies.

หากท่านต้องการสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ เว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย (http://www.grad.mahidol.ac.th/)

การติดต่อ

ผศ. ดร. โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
Tel: 66-2-441-0909
email: mores.pra@mahidol.ac.th

กำหนดการรับสมัครปีการศึกษา 2567

กำหนดการ ภาคปลาย ปีการศึกษา 2567
เปิดรับสมัคร 1 กรกฎาคม – 31 ตุลาคม 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ 9 พฤศจิกายน 2567
สอบสัมภาษณ์ 13 พฤศจิกายน 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 27 พฤศจิกายน 2567
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ 27 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2567
เปิดภาคการศึกษาที่ 2 (ปีการศึกษา 2567) 6 มกราคม 2568

 

กำหนดการรับสมัครปีการศึกษา 2568

กำหนดการ รอบที่ 1
เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ 12 ธันวาคม 2567
สอบสัมภาษณ์ 16 ธันวาคม 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 8 มกราคม 2568
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ 8 – 21 มกราคม 2568
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2568) สิงหาคม 2568
กำหนดการ รอบที่ 2
เปิดรับสมัคร 1 ธันวาคม 2567 – 31 มกราคม 2568
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ 14 กุมภาพันธ์ 2568
สอบสัมภาษณ์ 17 กุมภาพันธ์ 2568
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 13 มีนาคม 2568
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ 13 – 26 มีนาคม 2568
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2568) สิงหาคม 2568
กำหนดการ รอบที่ 3
เปิดรับสมัคร 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2568
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ 11 เมษายน 2568
สอบสัมภาษณ์ 21 เมษายน 2568
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 9 พฤษภาคม 2568
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ 9 – 22 พฤษภาคม 2568
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2568) สิงหาคม 2568
กำหนดการ รอบที่ 4
เปิดรับสมัคร 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2568
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ 12 มิถุนายน 2568
สอบสัมภาษณ์ 16 มิถุนายน 2568
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 3 กรกฎาคม 2568
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ 3 – 16 กรกฎาคม 2568
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2568) สิงหาคม 2568
กำหนดการ ภาคปลาย ปีการศึกษา 2568
เปิดรับสมัคร 1 กรกฎาคม – 31 กันยายน 2568
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ 15 ตุลาคม 2568
สอบสัมภาษณ์ 20 ตุลาคม 2568
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 14 พฤศจิกายน 2568
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ 14 – 27 พฤศจิกายน 2568
เปิดภาคการศึกษาที่ 2 (ปีการศึกษา 2568) มกราคม 2569

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ปีการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าใช้จ่าย (ตลอดหลักสูตร)

นักศึกษาต่างชาติ

นักศึกษาไทย

บาท

ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท]

บาท

ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท]

2564 – 2566

Plan A (Thesis) แผน ก (วิทยานิพนธ์)

489,000 บาท

14,900 USD

299,000 บาท

9,100 USD

Plan B (Thematic Paper) แผน ข (สารนิพนธ์)

454,500 บาท

13,800 USD

275,000 บาท

8,400 USD

2567

Plan 1.2 Academic (Course work and research)

360,000 บาท (80,000 บาท / ภาคการศึกษา และ 40,000 บาท/ภาคการศึกษาฤดูร้อน) 

10,915 USD (2,425 USD/ภาคการศึกษา และ 1,215 USD/ภาคการศึกษาฤดูร้อน)

315,000 บาท (70,000 บาท / ภาคการศึกษา และ 35,000 บาท/ภาคการศึกษาฤดูร้อน)

9,560 USD (2,125 USD/ภาคการศึกษา และ 1,060 USD/ภาคการศึกษาฤดูร้อน)

Plan 2 Profession

360,000 บาท (80,000 บาท / ภาคการศึกษา และ 40,000 บาท/ภาคการศึกษาฤดูร้อน)

10,915 USD (2,425 USD/ภาคการศึกษา และ 1,215 USD/ภาคการศึกษาฤดูร้อน)

315,000 บาท (70,000 บาท / ภาคการศึกษา และ 35,000 บาท/ภาคการศึกษาฤดูร้อน)

9,560 USD (2,125 USD/ภาคการศึกษา และ 1,060 USD/ภาคการศึกษาฤดูร้อน)

*อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

ทุนการศึกษา

มีทุนการศึกษาบางส่วนสำหรับนักศึกษาที่มีความโดดเด่น ผู้สมัครสามารถสมัครรรับทุนการศึกษาได้ โดยกรอกแบบฟอร์มใบสมัครรับทุนการศึกษา ทุนการศึกษาจะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมกาหลักสูตรฯ เป็นกรณี ๆ ไป

วิดีทัศน์แนะนำหลักสูตร วท.ม. สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน