วันที่ 3 และ 6 ธันวาคม 2567 นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ นักศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT หลักสูตรนานาชาติ) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล (ICT Mahidol) เข้าร่วมนำเสนอผลงาน ด้าน Software Engineering ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 31st Asia-Pacific Software Engineering Conference (APSEC 2024)”, การประชุมนานาชาติ “The 2nd International Workshop on Exploring Employee Experience in Open Source Software (EEE-OSS 2024)” และการประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ “The 12th International Workshop on Quantitative Approaches to Software Quality (QuASoQ 2024)” ซึ่งจัดขึ้น ณ นครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
โดยนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ นักศึกษาหลักสูตร ICT นานาชาติ ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานต่างๆ ดังนี้
- Dan Muhindo Kazimoto นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “DEV-EYE: A Tool for Monitoring Bus Factor Using Commit History” ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 31st Asia-Pacific Software Engineering Conference (APSEC 2024)” และ “The 2nd International Workshop on Exploring Employee Experience in Open Source Software (EEE-OSS 2024)” โดยมี ผศ.ดร.มรกต เชิดเกียรติกุล ผศ.ดร. ชัยยงค์ รักขิตเวชสกุล และ ผศ.ดร. ธันวดี สุเนตนันท์ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และกลุ่มวิจัยวิศวกรรมซอฟต์แวร์และการวิเคราะห์ธุรกิจ (Software Engineering and Business Analytics Research Clusters (SEBA)) คณะ ICT เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
- นางสาว รมิตา ดีพร้อม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งเข้าร่วมโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้าน ICT ประจำปีการศึกษา 2566 ณ Osaka University ประเทศญี่ปุ่น นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “Challenges in Adopting LLaMA: An Empirical Study of Discussions on Stack Overflow” ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 31st Asia-Pacific Software Engineering Conference (APSEC 2024)” โดยมี ผศ.ดร.มรกต เชิดเกียรติกุล ผศ.ดร. ชัยยงค์ รักขิตเวชสกุล อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และกลุ่มวิจัยวิศวกรรมซอฟต์แวร์และการวิเคราะห์ธุรกิจ (Software Engineering and Business Analytics Research Clusters (SEBA)) คณะ ICT พร้อมด้วย Shiyu Yang นักศึกษาระดับปริญญาเอกและ Professor Higo Yoshiki, Professor จาก Graduate School of Information Science and Technology, Osaka University ประเทศญี่ปุ่น ร่วมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
- นางสาว ฉัตรวีรยา ศรีวิไลลักษณ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งเข้าร่วมโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้าน ICT ประจำปีการศึกษา 2566 ณ Osaka University ประเทศญี่ปุ่น นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “Autorepairability of ChatGPT and Gemini: A Comparative Study” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ “The 12th International Workshop on Quantitative Approaches to Software Quality (QuASoQ 2024)” โดยมี ผศ.ดร. ชัยยงค์ รักขิตเวชสกุล และ ผศ.ดร.มรกต เชิดเกียรติกุล อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และกลุ่มวิจัยวิศวกรรมซอฟต์แวร์และการวิเคราะห์ธุรกิจ (Software Engineering and Business Analytics Research Clusters (SEBA)) คณะ ICT พร้อมด้วย Professor Higo Yoshiki, Professor, Graduate School of Information Science and Technology, Osaka University ประเทศญี่ปุ่น ร่วมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 31st Asia-Pacific Software Engineering Conference (APSEC 2024)” เป็นงานประชุมนานาชาติชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรวบรวมนักวิจัย ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรม และนักศึกษา ได้ร่วมกันนำเสนอผลงานวิจัยในสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ พร้อมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในปัจจุบันและในอนาคต ทั้งนี้ ภายในงานยังประกอบไปด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติที่มุ่งเน้นการแบ่งปันประสบการณ์และพัฒนาความรู้ในด้านการวัดผล การประเมิน และการปรับปรุงคุณภาพซอฟต์แวร์ “The 12th International Workshop on Quantitative Approaches to Software Quality (QuASoQ 2024)” และ การประชุมนานาชาติด้านการศึกษาและแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานของพนักงานในบริบทของการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส (OSS) “The 2nd International Workshop on Exploring Employee Experience in Open Source Software (EEE-OSS 2024)” อีกด้วย
คณะ ICT ขอแสดงความชื่นชมนักศึกษาทั้ง 3 ท่าน มา ณ โอกาสนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของคณะฯ เป็นอย่างยิ่ง
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก Facebook: Software Engineering Research Unit at MUICT