Medical Informatics and Imaging Informatics Program

หลักสูตร “การเสริมสร้างความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการจัดการ และการใช้งานอย่างมี ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศและระบบรูปภาพทางการแพทย์” สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ช่างเทคนิค ทางการแพทย์ ผู้ชำนาญทางเทคโนโลยีเครื่องมือทางการแพทย์ ผู้บริหารและชำนาญทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ใช้เครื่องมือและซอฟท์แวรเกี่ยวกับ Hospital Information System (HIS), DICOM, RIS, PACS และการวิเคราะห์ของมูลพื้นฐาน

รับเพียง 30 ที่นั่งเท่านั้น
รับสมัครถึงวันที่ 17 มกราคม 2563

(คณะ ICT ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่เปิดอบรม กรณีจำนวนผู้เข้าอบรมน้อยกว่า 20 คน)

เกี่ยวกับหลักสูตร

ประเทศไทยมีขีดความสามารถสูงทางด้านการแพทย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นเทคโนโลยีหนึ่งใน New S-Curve ที่เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ทางคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารและคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีอาจารย์ที่มีประสบการณ์ความสามารถในการสร้างและประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์กับมาตรฐานสารสนเทศทางการแพทย์ ในการนี้หลักสูตรประกาศนียบัตร สำหรับบัณฑิตพันธ์ใหม่ จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการจัดการและการใช้งานอย่างมี ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศและระบบรูปภาพทางการแพทย์ เพื่อพัฒนากำลังคน ให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยเน้นทั้งกลุ่มคนทำงานทางการแพทย์ พยาบาล และเทคนิคการแพทย์ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีทางการแพทย์ ให้มีความรู้และทักษะในด้านการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนำความรู้ไปสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับทางการแพทย์ ทั้งนี้การพัฒนาหลักสูตรนี้จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการแพทย์อย่างรวดเร็ว เครื่องมือที่สร้างรูปภาพทางการแพทย์ (Imaging Modality) มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายสูง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจอย่างท่อแท้เพื่อที่จะใช้งาน ให้ได้มีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งระบบสารสนเทศทางการแพทย์อื่น ๆ ที่จะต้องทำงานร่วมกับเครื่องมือแพทย์ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย (Computer Network) เพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ ระบบสารสนเทศทางการแพทย์เพื่อการประมวลผลหลักสูตรนี้จะเน้นเรื่องการประยุกต์การใช้งานได้อย่างจริง โดยผู้เรียนจะได้ทำงานกับระบบเสมือนจริง โดยได้รับความรู้ทางทฤษฎีเพื่อนำไปต่อยอดและปฏิบัติ เพื่อนำกลับไปใช้ที่สถานที่ทำงาน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ของภาครัฐ ได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ HIS, RIS, DICOM และ PACS สามารถที่นำระบบที่เป็น open source ไปใช้งานตามความสามารถ และศักยภาพขององค์กร
2. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ของภาครัฐ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อพัฒนาการศึกษาและหลักสูตรที่มีคุณภาพ โดยมีความร่วมมือกับสถานประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ในการผลิตผู้เชี่ยวชาญและกำลังคน รองรับต่อการพัฒนาของ ประเทศในอนาค

กลุ่มเป้าหมาย

บุคลากรทางการแพทย์ นักรังสีเทคนิค ผู้ชำนาญทางเทคโนโลยีเครื่องมือทางการแพทย์ ผู้บริหารสารสนเทศ และผู้ชำนาญทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ใช้เครื่องมือและซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวกับ Hospital Information System (HIS), DICOM, RIS, PACS และการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน จำนวน 30 คน

โครงสร้างหลักสูตร

ภาคการศึกษา

วิชา

ระยะเวลา

ภาคการศึกษา 1

  • - Introduction to Fundamental Computing Environment (2 หน่วยกิต)

    - Introduction to Medical Informatics (2 หน่วยกิต)

    - Independent Study (2.5 หน่วยกิต)

มกราคม - มีนาคม 2563

ภาคการศึกษา 2

  • - Digital Imaging and Communication in Medicine (DICOM), Picture Archiving Communication System  (PACS) and Radiology Information System  (2 หน่วยกิต)

    - Independent Study (2.5 หน่วยกิต)

วิชาเลือก 1 วิชา

  • - Healthcare Standards (2 หน่วยกิต)

    - Introduction to Data Science (2 หน่วยกิต)

เมษายน - มิถุนายน 2563


ประกอบด้วยภาคบรรยาย ภาคปฏิบัติ การทำโครงงาน (Independent Study) และการศึกษาดูงานในประเทศ

เนื้อหารายวิชา

#

Courses

Contents

1

  • Introduction to Fundamental Computing Environment
        • - IT Infrastructure System for Healthcare
          - Internet and Network Services
          - Server and Storage Systems
          - Cloud Computing - Virtualization, and Other Advanced Technologies
          - Security System
          - Web and Mobile Applications
          - Products – HP (HPE), VMWare  (vCenter and vSphere)

2

  • Introduction to Medical Informatics
  • - HIS – JHCIS
  • - Introduction to Health Informatics & Health IT
  • - Health IT for Hospital Management
  • - Clinical Information Systems, Clinical Documentation & Electronic Health Records
  • - Clinical Decision Support Systems
  • - Personal Health Records, mHealth, Telemedicine
  • - นโยบายด้านการดูแลสุขภาพและการเงิน
  • - Introduction to Database for Healthcare
    - การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ
3 Digital Imaging and Communication in Medicine (DICOM), Picture Archiving Communication System (PACS) and Radiology Information System
  • - Introduction to DICOM, DICOM Information Model and DICOM Association and Negotiation
  • - DICOM Data Structure and Encoding
  • - DICOM Protocol and Services
  • - PACS and Other Types of Imaging Archives,
  • - Integrating PACS, Hospital Information System and Radiology Information System
  • - Monitor and Image Quality
  • - Hand-on – PACS, Imaging Workstation
4 Health Standards
  • - 43 Files
  • - HL7, and HL7 Hand-on
  • - SNOMED , Medical Lexicon, Snomed©, TMT, LOINC
  • - ICD©
  • - CPT©
  • - Clinical Document Architecture, Continuity of Care Document
    - Health Information Exchange
5 Introduction to Data Science
  • - Introduction to Data Science and Python Programming
  • - Data Collection and Data Preprocessing
  • - Data Science Process and Exploratory Data Analysis
  • - Machine Learning for Data Science
  • - Supervised and Unsupervised Learning
  • - Model Selection and Feature Selection
  • - Data Visualization
  • - Deep Learning for Medical Images

การประเมินผล

ผู้เข้าอบรมจะต้องมีชั่วโมงอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด และต้องผ่านการประเมินการทำโครงงาน (Independent Study) จึงจะได้รับใบประกาศนียบัตร
จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล

ระยะเวลาหลักสูตร

รับสมัครถึงวันที่ 17 มกราคม 2563

ด่วน รับสมัครจำนวนจำกัดเพียง 30 คน เท่านั้น (หมายเหตุ คณะ ICT ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่เปิดอบรม กรณีจำนวนผู้เข้าอบรมน้อยกว่า 20 คน)

เริ่มอบรมตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม - 4 กรกฎาคม 2563 เวลา 9.00 - 16.00 น. รวมระยะเวลา 6 เดือน โดยแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา
(อบรมทุกวันเสาร์ และทุกวันศุกร์ กรณีเลือกวิชา Healthcare Standards)

ศึกษาดูงาน หน่วยงานด้าน IT และโรงพยาบาลในประเทศ

สถานที่

อาคารคณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
และอาคารสำนักคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท


วิทยากร

 


ดร. พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์
คณบดี คณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล



ศ.นพ. ทนงชัย สิริอภิสิทธิ์
อาจารย์สาขารังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


ดร.นพ. นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์
อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


อ. ผกาพร เพ็งศาสตร์
อาจารย์คณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล


ดร. ศิริเพ็ญ พงษ์ไพเชฐ
อาจารย์คณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล


ดร. อัคร สุประทักษ์
อาจารย์คณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล


อ.สัมฤทธิ์ สุขทวี
ผู้พัฒนาระบบ JHCIS
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

   

ลงทะเบียน

 

 

 

การติดต่อ

คุณจรัสศรี ปักกัดตัง
โทร .02-441-0909
E-mail: jarrussri.pak@mahidol.ac.th