การแข่งขัน MUICT & ENVI Mahidol Hackathon 2025

ภายใต้หัวข้อ :
Digital Innovation for Carbon Neutrality Society

ณ อาคารคณะ ICT ม.มหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม
ระหว่างวันที่ 29 – 30 มีนาคม 2568

วัน
ชั่วโมง
นาที
วินาที

เกี่ยวกับโครงการ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ผิดแปลกไปจากจุดสมดุลเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่สําคัญในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการดํารงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม สาเหตุหลักที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือ การดําเนินกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) สู่ชั้นบรรยากาศ

ในฐานะภาคีของ UNFCCC ประเทศไทยได้แสดงเจตจํานงต่อประชาคมโลก ในการตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NAMA) โดยเริ่มจากภาคพลังงานและภาคขนส่ง และในการประชุมระดับผู้นํา COP26 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์พร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) ด้วยนโยบาย แผนงาน และแผนปฏิบัติการต่างๆ เช่น แผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (NAP) และการพัฒนาแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ พ.ศ. 2558-2593 (ค.ศ. 2015-2050) ซึ่งเป็นแผนระยะยาวในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (MUEN) มหาวิทยาลัยมหิดล เล็งเห็นถึงความสําคัญของการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปลดปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก จึงได้ร่วมมือกันจัดโครงการ MUICT & ENVI Mahidol Hackathon 2025: Innovation for Carbon Neutrality Society ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาของทั้งสองคณะฯ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมมาผสมผสานสร้างเป็นนวัตกรรมเพื่อลดการปลดปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก รวมถึงเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างทั้งสองคณะอีกทางหนึ่ง

การจัดโครงการครั้งนี้ จะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นําเสนอแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างทักษะการทํางานร่วมกัน การแก้ไขปัญหา และการสื่อสาร ซึ่งเป็นทักษะที่สําคัญในการทํางานในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความตระหนักรู้ และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศีกษาอีกด้วย

การจัดโครงการ MUICT & ENVI Mahidol Hackathon 2025: Digital Innovation for Carbon Neutrality Society จึงเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการจัดการแข่งขันส่วนหนึ่งจากสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (INT) อีกด้วย นับเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุน และส่งเสริมการพัฒนาทักษะให้กับนักศึกษาเกี่ยวกับการนํา AI มาใช้แก้ปัญหาเชิงนวัตกรรมผ่านกิจกรรมการแข่งขัน แฮกกาธอน (Hackathon) เพื่อก้าวไปสู่การแข่งขันทางวิชาการในเวทีระดับชาติและระดับสากลต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่กําลังศึกษาในระดับปริญญาตรีของคณะสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรศาสตร์ และคณะ ICT ได้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อเรียนรู้และการพัฒนาในด้านการ แก้ปัญหา Algorithms และ เพิ่มทักษะในการเขียนโปรแกรมเพิ่มมากขึ้น
  2. เพื่อสนับสนุนและพัฒนาทักษะให้กับนักศึกษา ผ่านกิจกรรมการแข่งขันแฮกกาธอน (Hackathon)
  3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในการลดและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก โดยพัฒนานวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่สังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอน
  4. เพื่อกระตุ้นและเปิดโอกาสให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลได้แสดงศักยภาพในการแสดงความคิดสร้างสรรค์และออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคณะ
  5. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าแข่งขันระดับประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงและพัฒนาแนวคิด โครงงาน หรือโปรเจกต์ของนักศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานสูงขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในเวที ระดับชาติ

หัวข้อในแบบฟอร์มสมัครโครงการ MUICT & ENVI Mahidol Hackathon 2025

  1. บทสรุปข้อเสนอโครงการ (ไม่เกิน 250 คำ)
  2. รูปภาพ/ภาพวาดของนวัตกรรม พร้อมคำอธิบายตัวผลงานที่คาดว่าจะทำ (1/4 ของหน้า)
  3. ที่มาและแนวคิดของการสร้างนวัตกรรม
  4. วัตถุประสงค์ของการสร้างนวัตกรรม
  5. การทบทวนวรรณกรรมและผลงานที่เกี่ยวข้อง
  6. หลักการ วิธีการ ขั้นตอนการสร้างและการทดสอบการทำงานของนวัตกรรม
  7. จุดเด่นของนวัตกรรม
  8. ประโยชน์และคุณค่าของนวัตกรรมต่อสังคม

คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน

  1. เป็นนักศึกษาปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล
  2. ทีมละ 4 คน โดยในแต่ละทีมต้องประกอบด้วยนักศึกษา คณะ ICT อย่างน้อย 1 คน และ EN อย่างน้อย 1 คน
  3. ผู้สมัครในทีมอย่างน้อย 1 คน สามารถเขียนโปรแกรมได้ และมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

หลักเกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การให้คะแนนจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ด้าน โดยแบ่งออกเป็นเกณฑ์ดังนี้

      1. การตั้งโจทย์และ/หรือการกําหนดทิศทางของโครงการ
      2. การวิเคราะห์ปัญหาและ/หรือการกําหนดกลุ่มเป้าหมาย
      3. ความน่าสนใจของผลงาน / โครงการ
      4. แนวทางในการพัฒนาต่อยอดในอนาคต
      5. การจัดทําหรือการสร้างผลงานที่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้จริง

รางวัลที่ได้รับจากการแข่งขัน

  1. เงินรางวัล
    • ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 4 ทีม จะได้รับเงินรางวัล ๆ ละ 20,000 บาท
    • ผู้ที่ได้รับรางวัลคะแนนสูงสุดทั้ง 4 ทีม หากมีผลงานส่งเข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศ จะได้รับเงินรางวัลสนับสนุนเพิ่มอีกทีมละ 5,000 บาท
    • Funding สำหรับกลุ่มเข้ารอบ 15 ทีม สำหรับพัฒนาโครงงาน ทีมละ 3,000 บาท
  1. เกียรติบัตรการเข้าร่วมกิจกรรม Hackathon (ตามเกณฑ์ที่ผู้จัดกำหนด)
  2. ได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วมการแข่งขัน “Mahidol SDGs Impact Challenge 2025” เพื่อชิงทุนพัฒนาโครงการมูลค่ากว่า 2 ล้านบาท
  3. ได้รับการบันทึกคะแนน Activity Transcript ด้าน Digital Literacy/ด้านจิตอาสา/ด้าน SDG

หมายเหตุ: เงินรางวัลทุกประเภทยังไม่รวมภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เงินทุนสำหรับ 15 ทีมสุดท้าย ที่เข้ารอบเพื่อแข่งต่อในรอบชิง

คะแนนสูงสุด 4 ทีม

เงินสนับสนุนต่อยอดทีมที่ชนะ ไปแข่งต่อระดับมหาวิทยาลัย/ระดับประเทศ

ข้อมูลวันที่และสถานที่จัดแข่งขัน

  1. กิจกรรม Open Day : วันพุธที่ 8 มกราคม 2568
  2. กิจกรรม Workshop : ช่วงวีค 2–3 ของเดือนกุมภาพันธ์ 2568
  3. กิจกรรมการแข่งขัน Hackathon Day : วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2568
  4. กิจกรรมการแข่งขัน Pitching Day & Reward Ceremony : วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2568
  5. สถานที่จัดการอบรม/การแข่งขัน : อาคารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์, อาคารคณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

กำหนดการ กิจกรรมวัน Open Day

วันพุธที่ 8 มกราคม 2568 เวลา 13.00 – 17.00 น.
ณ 
ห้อง Bits & Bytes Hall อาคารคณะ ICT ม.มหิดล

เวลากิจกรรมรายละเอียด
13.00 – 14.00 น.
  • กล่าวต้อนรับ
  • กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการ /วัตถุประสงค์ของโครงการ
  • แนะนำรูปแบบของกิจกรรม/รางวัลการแข่งขัน
  • สร้าง Inspiration ให้กับนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม
  • เชิญท่านคณบดีคณะ ICT และ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกล่าวต้อนรับและวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ
  • เชิญ ผศ. ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์
    รองผู้อำนวยการ iNT ร่วมกล่าวต้อนรับและการสนับสนุนโครงการ
  • เชิญผศ. ดร. ธนพล นรเสฏฐ์ และผศ. ดร. อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน กล่าวต้อนรับและให้ข้อมูลเกี่ยวกับของกิจกรรมโดยสังเขป
14.00 – 17.00 น.
  • กิจกรรม ICT BREAKING
  • กิจกรรม TEAM SEARCHING
  • ทีมพี่เลี้ยงจาก iNT

** นักศึกษาได้ AT = 4 ชั่วโมง (โดยคณะ ICT) **
Note : โครงการที่เสนอจะต้องเป็นผลงานที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญา หรือสิทธิ์ใด ๆ ของบุคคลอื่น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการพัฒนาและเพิ่มพูนทักษะในการเขียนโปรแกรม และการแก้ปัญหา Algorithms ผ่านการทํางานจริงในโครงการ Hackathon
  2. โครงการนี้จะเป็นเวทีให้นักศึกษาได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
  3. นักศึกษาจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะ มีโอกาสได้ทํางานร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ทําให้เกิดความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีในอนาคต
  4. นักศึกษาจะได้ฝึกทักษะการทํางานร่วมกันเป็นทีม การวางแผน และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเป็นทักษะที่สําคัญในการทํางานจริง
  5. นักศึกษาจะได้รับการกระตุ้นให้เห็นความสําคัญของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการนําเทคโนโลยีมาช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
  6. นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า ซึ่งสามารถนําไปใช้ในการศึกษาต่อหรือการทํางานในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและการยอมรับในวงการวิชาชีพของตนเองอีกด้วย
  7. เพิ่มโอกาสในการแข่งขันในระดับชาติ โดยผลงานและนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงในโครงการนี้จะมีคุณภาพและมาตรฐานสูงขึ้น ทําให้นักศึกษามีความพร้อมและมีโอกาสมากขึ้นในการแข่งขันในระดับชาติต่อไป

ผู้สนับสนุนใจดี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทรศัพท์ : 02-441-0909 ต่อ 145,
085-123-2800 คุณจรัสศรี ปักกัดตัง
02-441-5000 ต่อ 2130,
062-539-8951 คุณภัทรพล แก้วสถิตย์
อีเมล์ : jarrussri.pak@mahidol.ac.th, pattarapon.kae@mahidol.ac.th