หลักสูตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี (Cybersecurity for Technologist) (DGA309) รุ่นที่ 1 และ รุ่นที่ 2
หลักสูตรนี้เน้นให้เกิดความตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายในเรื่องของการรักษาความมั่นคงปลอดภัย มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเกี่ยวกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยและความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่กำลังเป็นปัญหาในการทำงานในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางของ NIST Cybersecurity Framework โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนสำคัญ คือ Identity, Protect, Detect, Response และ Recovery สำหรับช่วยให้องค์กรสามารถวางแผนป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบ เนื้อหาในหลักสูตรจะเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความตระหนักและเข้าใจในกระบวนการในการวางแผนรับมือกับภัยคุกคามและความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การเข้าใจในกระบวนการจะทำให้เกิดการวางแผนที่ดีและยั่งยืนในการรับมือกับความเสี่ยงรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรเน้นองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ได้นำความรู้และทักษะจากหลักสูตรไปประยุกต์ใช้ ในการวางแผนการรับมือกับภัยคุกคามและความเสี่ยงทางด้านดิจิทัลในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความตระหนักรู้ในการใช้งานเทคโนโลยีอย่างมั่นคงปลอดภัย
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและเข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้และความเข้าใจกรอบในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามแนวทางของ NIST Cybersecurity Framework
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถวางแผนป้องกันและรับมือกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้ตามหลักการ
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนรับมือเกี่ยวกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ในองค์กรได้
หัวข้อการอบรม
เวลา | หัวข้อ | เนื้อหา |
Day 1 | ||
9.00 – 12.00 น. | ภาพรวมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Security Overview) |
|
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ (Laws and Regulation)
|
|
|
13.00 – 16.00 น. | การระบุความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ (Identify) |
|
Day 2 | |||||
9.00 – 12.00 น. | การป้องกันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Protection) |
|
|||
13.00 – 16.00 น. | การเฝ้าระวังด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Detection) |
|
|||
Day 3 | |||||
9.00 – 16.00 น. | การรับมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Response) |
|
|||
Day 4 | |||||
9.00 – 16.00 น. | การกู้คืนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Recovery) |
|
|||
Day 5 | |||||
9.00 – 16.00 น. | การซักซ้อมแผนเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์ (Incident Drill) |
|
หมายเหตุ :
- พักรับประทานอาหารว่าง ช่วงเช้า เวลา 10.30 – 10.45 น. ช่วงบ่าย เวลา 14.30 – 14.45 น.
- พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 12.00 – 13.00 น.
- กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
อาจารย์ ผกาพร เพ็งศาสตร์
รองคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี
อาจารย์ประจำคณะ ICT ม.มหิดล
ดร. อิทธิพล รัศมีโรจน์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี
อาจารย์ประจำคณะ ICT ม.มหิดล
การชำระค่าลงทะเบียน โปรดรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ ทาง Email ที่ท่านสมัครมา
หลักเกณฑ์การคืนเงินค่าลงทะเบียนฝึกอบรม
กรณีผู้เข้ารับการฝึกอบรม ไม่สามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้ ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแจ้งความประสงค์ขอคืนเงินค่าลงทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้จัดฝึกอบรมรับทราบ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
ระยะเวลาแสดงความประสงค์ขอคืนเงิน | อัตราที่คืน |
1. ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันจัดฝึกอบรม | 100 % |
2. น้อยกว่า 7 วันก่อนวันจัดฝึกอบรม | 75 % **เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน |
หมายเหตุ :
- กรณีคณะประกาศยกเลิกโครงการหรือหลักสูตรอบรม คณะจะคืนเงินค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน
- กรณีโครงการหรือหลักสูตรอบรมที่คณะประกาศเลื่อนจัด และผู้เข้ารับการอบรมมีความประสงค์จะขอคืนเงินค่าลงทะเบียน คณะจะคืนเงินค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน