Hack Your Tech 2018

เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 ของประเทศ และมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม ที่สามารถใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาและเพิ่มทักษะทางด้านดิจิทัล เพื่อสร้างบุคลากรในประเทศให้มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะส่งผลให้ประชากรส่วนหนึ่งมีศักยภาพทางเศรฐกิจที่สูงขึ้ง และจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลและคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเห็นว่าการพัฒนา software ไปใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการด้านธุรกิจและผู้บริโภค มีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยผู้บริโภคจะสามารถนำเทคโนโลยี software ไปใช้ในชีวิตประจำวันทำให้เกิดมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น (lifestyle quality) ซึ่งจะนำไปสู่ผลผลิต (productivity) โดยรวมที่ดีขึ้น ในการทำงานและการใช้ชีวิต ธุรกิจสามารถนำเทคโนโลยี software ไปใช้ให้เกิดผลิตภาพ (productivity) ในการดำเนินธุรกิจ การสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างระบบ software อย่างต่อเนื่องเป็นการสร้างจิตสำนึกและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน software ให้มีโอกาสสร้างผลงานที่ประสิทธิภาพเท่าเทียมกับประเทศที่ส่งออก software คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงจัดกิจกรรมนี้ขึ้น โดยมีความเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม รวมถึงผู้บริโภค โดยกิจกรรมเหล่านี้เป็นการเสริมสร้างความรู้และทักษะให้แก่นักศึกษาในสาขาต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างระบบ software เพื่อธุรกิจ

โดยกิจกรรมดังกล่าว เป็นความร่วมมือของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) INNOTECH มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล อีกทั้งบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ได้สนับสนุนการออกโจทย์เพื่อใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ และร่วมเป็นกรรมการตัดสินผล อันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาต่อยอดงานวิจัย ตลอดจนพัฒนางานวิจัยไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่เข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืนให้แก่ประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0

บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)

KBTG ผู้นำด้านเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนธนาคารกสิกรไทยสู่การเป็นธนาคารแห่งอนาคตแบบดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจเทคโนโลยี (Business-Technology) และความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศพร้อมนำพาให้ธนาคารสามารถรับมือในทุกมิติจากการเปลี่ยนแปลง (Disruption Force)

Vision: เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในการสร้างธนาคารแห่งอนาคตแบบดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการและทำกิจกรรมทางการเงินทุกประเภท ในทุกช่องทางเน้นการให้บริการที่ง่าย สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย เป็นส่วนประกอบสำคัญในชีวิตประจำวันของลูกค้า และช่วยลูกค้าตัดสินใจทางการเงิน เพื่อให้การใช้ชีวิตในรูปแบบที่เป็นดิจิทัลในทุกวันได้อย่างไร้ขีดจำกัด

Mission: เราจะมุ่งมั่นในการสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ให้บริการลูกค้าในรูปแบบอัตโนมัติและครบวงจร

  • สร้างทีมงานที่มีความแข็งแกร่ง ทั้งด้านธุรกิจ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
  • ร่วมมือกับพันธมิตรที่มีแนวคิดและรูปแบบบริการด้านดิจิทัลที่น่าสนใจ สามารถมาเสริมความแข็งแกร่งและหลากหลายให้กับธนาคารรูปแบบดิจิทัลได้
  • สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นการสร้างคุณค่า มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และกระบวนการทำงานที่รวดเร็ว มีความยืดหยุ่นสูง
  • สร้างกระบวนการให้บริการลูกค้าที่เป็นแบบอัตโนมัติ มีบริการและข้อมูลที่ครบถ้วน หลากหลายและตรงจุด สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา

วัตถุประสงค์

  1. พัฒนาทัศนคติและทักษะพื้นฐานความเป็นผู้ประกอบการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านการทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศไทยด้วยเครื่องมือในการพัฒนา Software และระบบสารสนเทศ
  2. เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายวิชา
  3. การฝึกฝนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้เรื่องการสร้างผลประโยชน์และคุณค่า แก่ผู้อื่นผ่านกระบวนการทำงานเพื่อพัฒนา Solution เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่มีความหมาย
  4. เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการสร้างทีมเพื่อผลักดันเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้จากกิจกรรม Hack Your Tech ไปสู่การสร้างธุรกิจโดยผ่านกิจกรรม Bootcamp Business incubator และ Accelerator Program ของมหาวิทยาลัยมหิดล

โปสเตอร์

Hack Your Tech 2018

กรรมการ

กรรมการจัดการแข่งขัน

รศ. ดร. เจริญศรี มิตรภานนท์

ประธานกรรมการ

ผศ. ดร. ทรงศรี ตั้งศรีไพโรจน์

มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร. พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์

มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ ผกาพร เพ็งศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล

ผศ. ดร. บุญสิทธิ์ ยิ้มวาสนา

มหาวิทยาลัยมหิดล

นางอมรรัตน์ ฉายรัตน์

มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร. ศุจิกา ศรีนันทกุล

มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร. วุฒิชาติ แสวงผล

มหาวิทยาลัยมหิดล

นางสาว บังอร กรวิรัตน์

มหาวิทยาลัยมหิดล

นางสาว สุจิรา รัชตะพงศ์ธร

มหาวิทยาลัยมหิดล

กรรมการตัดสินผลงาน

ธกฤต วงศ์วิชญา

Delivery Manager, KBTG

ดร. สิริวัฒน์ เกษมวัฒนาโรจน์

Advance Visionary Architect, KBTG

ชนกานต์ ชินชัชวาล

CEO, Zwiz.AI

ดร. ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

มหาวิทยาลัยมหิดล

ผศ. ดร. บุญสิทธิ์ ยิ้มวาสนา

มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่ปรึกษา

ธกฤต วงศ์วิชญา

Delivery Manager, KBTG

สุโชติ นิมิตราษฎร์

Delivery Manager, KBTG

สัมพันธ์ ศรีรัตนประภาส

Software Engineer, KBTG

อดิศร แสงอังศุมาลี

Software Engineer, KBTG

บุญยืน สำเภาเงิน

Software Engineer, KBTG

สุรีรัตน์ ตันติคเชนกุล

Software Engineer, KBTG

การแข่งขัน

ผลการแข่งขัน

รางวัลที่ 1

Mang มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายสรายุทธ หล้าวิไลย์
นายธนกิตติ์ สาชาติ
นายบัณฑิต โหว
นายภูมิรพี ลิ้มเพียรชอบ
นายชนาธิป ศิริเเสงไพรวัลย์

รางวัลที่ 2

Kanat's Kiddo มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ
นายณัฐภัทร คูณะรังษี
นางสาวศิริภัสสร ศิริไชย
นางสาวอาทิตยา อยู่ชนะชล
นายปัณณ์ เทพรักษ์
นายศุภณัฐ ธงนำชัยมา

รางวัลที่ 3

CPE Maker! มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์
นายณลงกรณ์ บุญเจริญ
นายศิริชัย แย้มเกตุ
นางสาวชนรดา คงเมือง
นายเสฎฐวุฒิ ลีลาวัฒนพาณิชย์

รางวัลพิเศษ

พิเศษ Hanabi มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายชิติพัทธ์ ทาบสุวรรณ
นางสาวจิดาภา คงสกุลวงศ์
นายพณภณ เสรีเลิศวิวัฒน์
นายปฏิพล สุวรรณบล
นางสาวธนภรณ์ พิพัฒน์นรเศรษฐ์

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

  • แข่งเป็นทีม โดยแต่ละทีมประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 5 คน
  • เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย
  • เป็นนักวิจัยและบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าร่วม
  • ระดับการศึกษา ปริญญาตรี โท หรือ เอก

การเตรียมตัวเพื่อการแข่งขัน

ผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมอุปกรณ์ในการแก้โจทย์ปัญหา อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา และโปรแกรมต่างๆที่ผู้เข้าแข่งขันจำเป็นต้องใช้ ทางผู้จัดได้เตรียม Internet Access ให้กับผู้เข้าแข่งขันที่จำเป็นต้องใช้
เนื่องด้วยการแข่งขัน Hack Your Tech จะเป็นการแข่งขันที่ผู้เข้าแข่งจะต้องอยู่แก้ปัญหาของโจทย์ที่ได้รับข้ามคืน (3 วัน 2 คืน) ทางผู้จัดได้เตรียมที่พักผ่อน และห้องอาบน้ำไว้ภายในที่จัดการแข่งขัน จึงจะขอให้ผู้เข้าแข่งขันเตรียมตัวดังต่อไปนี้

  1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับอาบน้ำ ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีความประสงค์ที่จะอาบน้ำ
  2. เตรียมอุปกรณ์การนอน เช่น ถุงนอน หมอน ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันความประสงค์ที่จะนอน

Rules and regulations

Hack Your Tech 2018

Please read the information below carefully. By registering to participate in the Hack Your Tech 2018, you have read and accepted the following participation terms and conditions.

The Entry Period and Hackathon dates

Registration to participate in the Hack Your Tech 2018 started today and ends on either: (i) August 22, 2018 or (ii) when there is no available seat left for participation. A confirmation email will be sent after submitting registration information. Participants must respond to the email to confirm their attendance in order to secure a seat for the Hack Your Tech.

The Hack Your Tech event will be held at the Bits & Bytes Hall on the 4th floor of Faculty of Information and Communication Technology (ICT), Mahidol University, Salaya Campus, on Friday until Sunday, August 24-26, 2018. The registration desk will be open at 9:00 AM on Friday, August 24, 2018. Participants can set up their equipment and mingle with staff and the other team members before the official start of the competition.

The Hack Your Tech will officially begin on Friday, August 24, 2018 at 10:00 AM with opening ceremony, announcement of the theme and assignment, and end on Sunday, August 26, 2018 at 17:30 or at the conclusion of the judging period, whichever is later.

Programming languages to be used

Teams are required to have the prerequisite basic knowledge and skills listed below (but not limited to):
Programming: JavaScript, Java, Node.js, Go
Web application: React, Angular, CSS, HTML5, JSON, REST or other APIs
Database: MySQL, MongoDB
Infra: Docker, Kubernetes, and any related cloud
Good to have skills and knowledge: Pitching, Research, Payment, Marketing, Business
Super cool when you come with: Blockchain like Crypto, Stellar, Hyperledger Fabric, Tendermint, Ethereum, and etc.

Equally important, at least one of the team members should possess solid programming knowledge and skills in order to develop at least some part of the idea that the team will come up with. Finding a good and feasible idea and deciding how best to develop it into a tangible product is what matters the most.

Intellectual Property Rights

The intellectual property (IP) rights of the software programs produced in this Hackathon competition will belong to the teams that developed them, and not to the organizers, sponsors, or partners.

Protection of Intellectual Property

By participating in this Hackathon event, the participants represent and warrant the followings: the participants will not submit any content that is copyrighted, protected by trade secret or otherwise to third party intellectual property rights or other proprietary rights, including privacy and publicity rights, unless they are the owner of such rights or have permission from their rightful owner to submit the content; and the content submitted by the participants do not contain any malicious codes such as viruses, Trojan horses, worms or other disabling devices or harmful code.

Copyright

Participant represents and warrants that the submission is an original work of the participant, or if the submission is a work based on an existing application, that the participant has acquired sufficient rights to use; and that the submission does not infringe upon any copyright or upon any other third-party rights of which the participant is aware of, and that the submission is free of malware.

Winner Selection/Judging Criteria

Winners will be judged based on the following criteria, all being equally important:

  1. Innovative nature and the utility of the idea
  2. Compelling and quality use of programming skills, technologies and tools
  3. Completion of the project
  4. Quality of project presentation and demo

ตารางกำหนดการแข่งขัน

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2561
เวลา กิจกรรม
09.00-10.00 ลงทะเบียน
ตรวจสอบอุปกรณ์ Hardware, Software, Network สำหรับการแข่งขัน
10:00-10.30 พิธีเปิดการแข่งขัน โดย
• รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ผศ. ดร. ทรงศรี ตั้งศรีไพโรจน์
• ผู้บริหาร KBTG
คุณตุลย์ โรจน์เสรี
Director, Kasikorn Soft, Kasikorn Business Technology Group
• คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รศ. ดร. เจริญศรี มิตรภานนท์
10:30-11:30 รับฟังโจทย์ กติกาการแข่งขัน และวิธีการส่งผลงาน โดย บริษัทคู่ความร่วมมือ
• Introduction to Payment Tech
• Case Background & Assignment
11.30-12.30 เริ่มดำเนินการแก้ปัญหา
รับประทานอาหารกลางวัน
12:30-18.00 ดำเนินการแก้ปัญหา
กิจกรรม recreation/วิชาการ
18:00-19.00 รับประทานอาหารเย็น
19:00 ดำเนินการแก้ปัญหา (ข้ามคืน)
วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2561
เวลา กิจกรรม
08:00-09:00 รับประทานอาหารเช้า
09.00-12.00 เริ่มดำเนินการแก้ปัญหา
กิจกรรม recreation/วิชาการ
12:00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
13:00-18.00 เริ่มดำเนินการแก้ปัญหา
18.00-19.00 รับประทานอาหารเย็น
19:00 เริ่มดำเนินการแก้ปัญหา (ข้ามคืน)
วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2561
เวลา กิจกรรม
08:00-09:00 รับประทานอาหารเช้า
09:00-11:30 ดำเนินการแก้ปัญหา
ส่งผลงาน มีระบบส่วนกลาง ที่คณะฯจัดทำไว้
11:30-12.30 รับประทานอาหารกลางวัน
12:30-15.30 นำเสนอผลงาน กลุ่มละ 15 นาที
15:30-16.00 คณะกรรมการประชุมตัดสินผลงาน
16:00-16:30 พิธีปิดการแข่งขัน ประกาศผลการแข่งขัน และมอบรางวัล โดย
• ผู้บริหาร KBTG
คุณจรุง เกียรติสุภาพงศ์
Managing Director - KSoft, Kasikorn Business Technology Group
• คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รศ. ดร. เจริญศรี มิตรภานนท์
16:30-17:30 รับประทานอาหารเย็น
17:30 เดินทางกลับ
หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

เงินรางวัล

Prize

ข้อมูลสถานที่

สถานที่จัดการแข่งขัน

Google Maps

Venue

การเดินทางสู่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ตั้งอยู่บนถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางมาได้หลายเส้นทาง ได้แก่

การเดินทางโดยรถยนต์

  • เส้นทางถนนสายเพชรเกษม เลี้ยวเข้าแยกถนนพุทธมณฑล สาย 4 (ระยะทางอีกประมาณ 10 กิโลเมตร)
  • เส้นทางถนนปิ่นเกล้า - นครชัยศรี เข้าได้ 3 ทาง คือ
    • จากสี่แยกสะพานกรุงธนบุรี ตรงมาตามถนนสายปิ่นเกล้า – นครชัยศรี
    • จากสี่แยกสะพานพระปิ่นเกล้า ตรงมาตามถนนสายปิ่นเกล้า – นครชัยศรี
    • จากปากทางบางขุนนนท์ เข้ามาทางตลิ่งชันแล้วเลี้ยวซ้ายมาบรรจบกับถนนปิ่นเกล้า - นครชัยศรี

การเดินทางโดยรถประจำทาง รถทัวร์โดยสาร รถตู้

  • สาย 84ก (วงเวียนใหญ่ – ศาลายา)
  • สาย 124 (สนามหลวง-มหิดล)
  • สาย 125 (สะพานกรุงธน-มหิดล)
  • สาย 388 (ปากเกร็ด-ศาลายา)
  • สายปอ. 515 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ศาลายา)
  • สาย 556 (สถานีรถไฟมักกะสัน-วัดไร่ขิง)
  • สายปอ.547 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์-สถานีขนส่งจตุจักร)
  • รถทัวร์โดยสารกรุงเทพฯ-นครปฐม ขึ้นได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ซึ่งสามารถบอกให้รถจอดก่อนถึงมหาวิทยาลัยมหิดล (ตลาดพุทธมณฑล) แล้วนั่งรถรับจ้างไปเข้ามหาวิทยาลัยทางประตู 3
  • รถตู้ปรับอากาศ (เซ็นทรัลปิ่นเกล้า – มหิดลศาลายา) ขึ้นรถที่ปั๊มน้ำมันข้างเซ็นทรัลปิ่นเกล้า
  • รถตู้ปรับอากาศ (อานุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – มหิดลศาลายา) ขึ้นรถที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิตรงป้ายหน้า รพ.ราชวิถี

การเดินทางโดยรถไฟ (รถไฟสายใต้)

ขึ้นได้ที่สถานีธนบุรี (ใกล้ โรงพยาบาลศิริราช) หรือสถานีหัวลำโพง หรือสถานีนครปฐม โดยขบวนเที่ยวต่างๆ จะผ่านสถานีศาลายา ให้ลงที่สถานีศาลายาแล้ว นั่งรถรับจ้างเข้ามหาวิทยาลัยทางด้านหลัง หรือใช้บริการ รถเมล์เล็กมาทางด้านหน้ามหาวิทยาลัย

การเดินทางโดยรถโดยสารศาลายาลิงค์

ศาลายาลิงค์ (Salaya link) เป็นรถโดยสารจากศาลายา เชื่อมต่อกับจากสถานีรถไฟฟ้า (BTS) บางหว้า อัตราค่าโดยสาร 30 บาท ตลอดสาย (ให้เตรียมเงินพอดีหยอดตู้บนรถ ไม่มีทอน)

ออกจากมหาวิทยาลัยที่ชานชลาศาลายาลิงค์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เวลาออก 06.45 / 07.10 / 07.30 / 08.35 / 09.35 / 11.35 / 12.30 / 13.30 / 14.30 / 16.10 / 17.10 / 18.10 / 18.40

ออกจากสถานีรถไฟฟ้าบางหว้า ทางออกที่ 1-2 เดินไปประมาณ 20 เมตรถึงป้ายรถประจำทาง เวลาออก 06.00 / 06.30 / 07.00 / 08.00 / 09.00 / 11.00 / 12.00 / 13.00 / 14.00 / 15.30 / 16.30 / 17.30 / 18.00

การเดินทางภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้จัดรถรางให้บริการรับ-ส่งระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ จำนวน 16 คัน แบ่งเป็น 4 สาย ได้แก่ สายที่ 1 (สีเขียว) สายที่ 2 (สีน้ำเงิน) สายที่ 3 (สีแดง) สายที่ 4 (ศูนย์การเรียนรู้มหิดล-สำนักงานอธิการบดี) และมีรถรางสายพิเศษ (บริการต้อนรับแขกมหาวิทยาลัยและใช้ในโอกาสพิเศษต่างๆ)

ข้อมูลโรงแรมและที่พัก

ที่พักภายในมหาวิทยาลัยมหิดล

โรงแรม Salaya Pavillion

Salaya PavillionSalaya Pavillion โรงแรม Salaya Pavillion
999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทร: (662) 441-0568-9
แฟกซ์: (662) 441-0554
อีเมล์: rsvn@salayapavillion.com
เว็บไซด์: http://www.salayapavilion.com/websph/

ห้องพักวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Artist Residency ห้องพักวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อยู่บริเวณ ชั้น G ของอาคาร A
โทร: (662) 800-2525-34

ห้องพักสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

Molecule ห้องพักสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร: (662) 441-9003-7 ต่อ 1127,1142, 1144

หอพักอาเซียนเฮ้าส์ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

AseanAsean หอพักอาเซียนเฮ้าส์ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร: (662) 441-0162, 6693-5796538, 6681-3819484
ที่พักภายนอกมหาวิทาลัยมหิดล

รอยัล เจมส์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต คลับ

Royal Gems Golf and Sport ClubRoyal Gems Golf and Sport Club รอยัล เจมส์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต คลับ
98 ม.3 ถ.ศาลายา - บางภาษี
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
73170
โทร: (662) 429-8066
แฟกซ์: (662) 429-8070
อีเมล์: rsvn_golf@royalgemsgolf.com
เว็บไซด์: http://www.royalgemsgolf.com

สามพราน ริเวอร์ไซด์

Sampran River SideSampran River Side สามพราน ริเวอร์ไซด์
กม. 32 ถนนเพชรเกษม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110
โทร: (663) 432-2544
แฟกซ์: (663) 432-2775
อีเมล์: hotel@sampranriverside.com
เว็บไซด์: www.sampranriverside.com

เดอะ ปาล์ม รีสอร์ท ศาลายา

The Palm SalayaThe Palm Salaya เดอะ ปาล์ม รีสอร์ท ศาลายา
200/250 หมู่ 5 ซอย 1 ศาลายา ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทร: (662) 441-5367 ถึง 9
แฟกซ์: (663) 432-2775
อีเมล์: info@thepalmsalaya.com

คุณหลวงอพาร์ทเม้นท์

Kunluang Apartment คุณหลวงอพาร์ทเม้นท์
200/51 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทร: (6661) 463-6422, (662) 800-3419

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 0-2441-0909 โทรสาร 0-2441-0808 (ศาลายา)
อีเมล hackathon.muict@gmail.com

แผนที่การเดินทาง

แผนที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

MU Map